ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ

ถือเป็นยุคการเมืองที่ต้องเฝ้าจับตาทุกจังหวะ   ด้วยสภาพการณ์ที่มีหลายองค์ประกอบ  ต่างไปจากในอดีตที่ผ่านมา   ทั้งเสถียรภาพของพรรคร่วมรัฐบาล และสารพัดปัญหารุมเร้า   ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเองก็มีสภาพไม่ต่างกัน ด้วยคดีความและพฤติการณ์   ซึ่งนับวันจะยิ่งเป็นที่ค้างคาใจ ทั้งวิธีคิดและแนวทางปฏิบัติที่สุ่มเสี่ยงด้วยเจตนาเคลือบแฝง  ด้วยเป้าประสงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศในทางใดทางหนึ่ง

ถือเป็นยุคการเมืองที่ต้องเฝ้าจับตาทุกจังหวะ   ด้วยสภาพการณ์ที่มีหลายองค์ประกอบ  ต่างไปจากในอดีตที่ผ่านมา   ทั้งเสถียรภาพของพรรคร่วมรัฐบาล และสารพัดปัญหารุมเร้า   ขณะที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเองก็มีสภาพไม่ต่างกัน ด้วยคดีความและพฤติการณ์   ซึ่งนับวันจะยิ่งเป็นที่ค้างคาใจ ทั้งวิธีคิดและแนวทางปฏิบัติที่สุ่มเสี่ยงด้วยเจตนาเคลือบแฝง  ด้วยเป้าประสงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศในทางใดทางหนึ่ง

ล่าสุดในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร  นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย   ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน    ได้ใช้สิทธิ์ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรข้อที่ 54 (2)  ขอเลื่อนญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่ฝ่ายค้านเสนอ ขึ้นมาพิจารณาก่อน 

 

ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ

 


แต่ทางด้านนายชวน หลีกภัย   ประธานสภาผู้แทนราษฎร     ชี้แจงอธิบายว่า    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษ   เพื่อต้องการ0สะสางญัตติด่วนอยู่  23  วาระ   ที่ค้างอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา    จากระเบียบวาระทั้งหมด 117 ระเบียบวาระ  โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆ  อาทิเช่น  ญัตติด่วนเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา   ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน  (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)   และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก   หรือ  EEC  และการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม   ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างเป็นอันตรายแก่เกษตรกรและผู้บริโภค 

 

 


ทำให้นายสมพงษ์ ต้องชี้แจงว่า  การขอให้เลื่อนญัตติของฝ่ายค้าน   ไม่ใช่การขอเลื่อนขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับแรก   แต่ขอให้อยู่ต่อจากญัตติด่วนที่ 6  ต่อจากเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศ และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามมาตรา 44   หรือเป็นวาระแรกในการประชุมสภาฯสมัยหน้า 

 

 

 


จากนั้นที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบ   ให้เลื่อนญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี  2560  ขึ้นมา  ตามข้อเสนอด้วยคะแนน  436  ต่อ 0   ส่วนญัตติเกี่ยวกับการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ   ที่พรรคการเมืองอื่นๆเสนอมาทั้งพรรคประชาธิปัตย์  ,  พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ  เสนอเป็นญัตติให้นำมาพิจารณารวมเป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อเปิดสมัยประชุมสภาฯอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้

 

 

 


@จากระเบียบขั้นตอนตามระบอบสภาฯ   ว่าด้วยการเสนอเลื่อนญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา วิธีการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ  ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรผิดปกติ  เพราะเป็นความเห็นชอบของส.ส.ส่วนใหญ่    แต่ที่ผิดปกติก็คือความพยายามปลุกปั่นให้เกิดกระแสเข้าใจผิด ๆ จากบุคคลบางกลุ่มการเมือง ที่ชูธงรบเรื่องการรื้อ แก้ไขรัฐธรรรมนูญ  โดยอ้างว่าเป็นผลิตผลของรัฐบาลคสช.  

 

 

ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ

ตัวอย่างสำคัญ ๆ เลย   ก็คือ กรณีของ น.ส. พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่  ที่เลือกโพสต์ข้อความลงในทวีตเตอร์ @Pannika_FWP ระบุข้อความที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง   ว่า   "#ประชุมสภา วันนี้เข้มข้น มีโหวตสำคัญคือการเลื่อนวาระการพิจารณา   การตั้งกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ   สภาลงมติ 425-0   เห็นด้วยให้เลื่อนวาระนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน   วันนี้เราปักธงแรกในสภาสำเร็จ  มติเอกฉันท์เป็นสัญญาณว่าทุกพรรคเห็นความสำคัญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ"

 

 

ถัดมาวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา “ช่อ พรรณิการ์” ไปพูดที่วิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 อย่างหนัก  โดยระบุว่า  รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา 20 ฉบับ  มีเพียงฉบับเดียวเขียนโดยประชาชนคือ  ฉบับปี 2540 การจะทำใหม่จะต้องเป็นฉบับที่ดีกว่าปี 2540 เรารอมา 78 ปี ยังไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย

 

“มีคนพูดเยอะจะแก้รัฐธรรมนูญหรือร่างใหม่ทั้งฉบับ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่สมควรทำ เพราะรัฐธรรมนูญนี้เฮงซวยทุกมาตรา กระบวนการไม่ชอบธรรม  ไม่มีประชาชนไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชอบธรรมต้องร่างใหม่ทั้งฉบับ ด้วยการให้ประชาชนเข้าไปร่วม” 

 

“ช่อ พรรณิการ์”  พูดไปถึงด้วยว่าถ้ามีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ทำแก้ไขทีละมาตรา และต้องทำทันที  เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

 

ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ

 

@คงไม่ต้องแจกแจงว่า ข้อความที่ "ช่อ พรรณิการ์"  นำเสนอต่อสาธารณะ    เพราะโดยนัยก็ชัดอยู่แล้วว่า   สื่อเจตนาอะไร  ทีนี้เราจะไปดูกันต่อว่า  ทำไม "ช่อ  พรรณิการ์" ถึงต้องออกอาการขนาดนั้น

 

 

ย้อนกลับไปดูนโยบาย   12   ข้อของพรรคอนาคตใหม่   ที่ใช้ประกาศตัวในยุคแรก ๆ  แม้จะไม่ได้พูดถึงการแก้รัฐธรรมนูญไว้ชัด ๆ   แต่การย้ำหลักคิดเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เป็นมาในอดีต  ทั้งโครงสร้างกองทัพ  และ สิ่้งที่รัฐบาลคสช.สร้างไว้  

 

 

โดยเฉพาะนโยบายเสาหลัก  ว่าด้วย  การปฏิรูปกองทัพ ลดนายพล ละอาวุธ เลิกเกณฑ์ทหาร  และ นโยบายปักธงประชาธิปไตย  ว่าด้วยวาทกรรม   การล้างมรดกรัฐประหาร  สร้างการเมืองแบบใหม่ เจ้านายคือประชาชน ก็พอจะบอกได้ว่าเป้าหมายของอนาคตใหม่  จะทำหลังการเลือกตั้งคืออะไรบ้าง  

 

 


แต่สำคัญเลย น่าสนใจว่า บริบทการแก้รัฐธรรมนูญ  ในหลักคิดของพรรคอนาคตใหม่ ไปไกลแค่ไหน   เพราะ  วันที่ 23  กรกฎาคม   2562  พรรคอนาคตใหม่  โพสต์ข้อความผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก  แสดงรายละเอียดบางส่วน   ในการเดินหน้ารื้อ แก้ไข  และสร้าง  “ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่… พ.ศ. …” 

 

 


มีการระบุจุดประสงค์ว่า   เพื่อยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 269   ถึง มาตรา 272  เรื่องวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล 5 ปีแรก  และยกเลิกมาตรา 279  เรื่องการรับรองให้บรรดาประกาศ คำสั่ง คสช. และคำสั่งของหัวหน้า คสช. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 

 

 


ไม่เท่านั้นในโพสต์ดังกล่าว  ระบุด้วยว่า  พรรคอนาคตใหม่ ยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ 2560   มีปัญหาทางประชาธิปไตย  ทั้งในเรื่องที่มา  ,  กระบวนการจัดทำ และเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ  จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งฉบับ  โดยพรรคยังคงยืนยันความตั้งใจเดิมว่าจะเดินหน้า เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทาง  ให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน

 

 


@ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดบางส่วน ของการเคลื่อนไหวผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคอนาคตใหม่  ที่ชัดเจนว่าเป็นการประกาศแนวรบกับรัฐบาล และกองทัพ แต่สิ่งที่มากกว่านั้นและถูกตั้งคำถามมาตลอด ก็คือ  เป้าหมายของการจัดรื้อรัฐธรรมนูญของพรรคอนาคตใหม่  โดยเฉพาะกับนายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ กับ นายปิยบุตร แสงกนกกุล  มีเท่านั้นจริงหรือไม่

 

 


กรณีที่มีการตรวจพบ ก็คือการอภิปรายความคิดของ นายธนาธร   ผ่านเวทีเสวนา เรื่อง "จินตนาการใหม่ ข้อตกลงใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ : ประเทศไทยแบบไหนที่เราอยากอยู่ร่วมกัน" เมื่อวันที่ 13  สิงหาคม  2562  ข้อความตอนหนึ่งระบุถึง รัฐธรรรมนูญ  2560  ว่า  พรรคอนาคตใหม่ เชื่อว่ารัฐธรรมนูญ 2560  

 

ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ

 

คือ   ระเบิดเวลา  ที่จะระเบิดปะทุออกมาเป็นความรุนแรง และเพื่อหยุดระเบิดเวลานี้   ต้องช่วยกันหยุดรัฐธรรมนูญฉบับ  ที่ทำให้รัฐประหารถูกกฎหมาย และให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อยู่เหนืออำนาจประชาชน   โดยก้าวแรกที่พรรคอนาคตใหม่อยากเสนอ  4 กรอบ คือ 

 

 


1.ประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดคือประชาชน

2.มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายในรัฐธรรมนูญ มีพระราชฐานะอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง

3.มีระบบรัฐสภาที่แสดงออกซึ่งเจจำนงของประชาชนที่แท้จริง มีรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพมีเสถียรภาพ

4.มีนิติรัฐ สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองมีระบบการตรวจสอบและการใช้อำนาจ

 

 


และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  ปี 2560  ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกับข้อเสนอของนายธนาธร  ปรากฎอยู่ในหมวด  1  หรือ บททั่วไป  พบว่ามีรายละเอียดสำคัญ ๆ ดังนี้


มาตรา  1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 3 อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข   ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

 

 


ส่วนในหมวด 2   หรือ  หมวดพระมหากษัตริย์    ตามรายละเอียดมาตรา  6    ระบุข้อความว่า  "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้"

 

 


@ เป็นความต่างในรายละเอียดของแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ตามข้อเสนอของนายธนาธร  กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   ที่นำมาซึ่งคำถามว่าหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  เจตนาจะสื่ออะไร

 

 

 
โดยเฉพาะกับข้อความตามแนวคิดเรื่อง  พระมหากษัตริย์    ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ผ่าน ๆ มา ไม่ได้ไปไกลถึงขนาดกำหนดพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์   ว่าต้องอยู่ในสถานะใดทางการเมือง   ด้วยถือว่าเป็นพระราชอำนาจ  และพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์  และทุกครั้งตามประวัติศาสตร์ชาติไทย   ไม่เคยปรากฎว่าสถาบันเบื้องสูงเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทางการเมือง  ยกเว้นในกรณีเกิดวิกฤตแผ่นดิน  พระองค์ถึงทรงเข้ามาช่วยคลี่คลายดับไฟความขัดแย้งที่คนไทยมีต่อกันเท่านั้น  

 

 


และมีเพียงธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวปี 2475  เท่านั้นมีการใช้ถ้อยคำในลักษณะดังกล่าว  คือ   หมวดที่ 1 หมวดพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 11 ในธรรมนูญฉบับดังกล่าว  บัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าโดยกำเนิด หรือโดยแต่งตั้ง ย่อมดำรงตำแหน่งฐานะเหนือการเมือง

 

 

 ตามพระประสงค์ของพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ฉบับที่ 1/60 ปี 2475 ถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญปี 2475 ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เห็นชอบด้วยทุกประการ
 

 

 

ในทางกลับกันมีข้อเท็จจริงบางประการ  ที่สื่อให้เห็นว่าสมาชิกพรรคอนาคตใหม่บางคนต่างหาก  ที่พยายามนำสถาบันฯไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง  เช่นกรณี  นายนายปิยบุตร แสงกนกกุล ในสมัยเป็นนักวิชาการ  ได้เคยพูดเอาไว้ เกี่ยวกับ บทเรียนรอบโลก การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2555 เสวนาในงานแขวนเสรีภาพฯ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา  มีรายละเอียดบางช่วง  เกี่ยวโยงไปถึงการวิพากษ์การดำรงสถานะของสถาบันเบื้องสูง  ในเชิงเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

 

 


อาทิ  ข้อความว่า    วิธีแรก    นำกษัตริย์ลงไปอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีตั้งแต่การกำหนดไว้ชัดเจนว่า อำนาจของกษัตริย์มีได้เท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น รัฐธรรมนูญจะเป็นตัวกำหนดว่าสถาบันกษัตริย์มีอำนาจอะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง 

 

 


วิธีที่สอง ที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญคือ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สถาบันกษัตริย์มีหน้าที่ในการเคารพและพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องสาบานตนต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ 

 

 


และด้วยเหตุผลที่คลุมเครือเช่นนี้   แม้ว่าพรรคอนาคตใหม่จะยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญตามแนวทางดังกล่าว   จึงเป็นที่มาของการให้สัมภาษณ์ของ รศ.ดร. โภคิน พลกุล   ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ด้านนโยบายและเเผนงาน พรรคเพื่อไทย  ว่า   แม้พรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นร่วมกันถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยกระบวนการสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร.  แต่มีความเห็นตรงกันว่า หมวด 1 รูปแบบของรัฐและอำนาจอธิปไตย กับหมวด 2 พระมหากษัตริย์ มีการบัญญัติไว้เหมาะสมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข

 

ช่อ พรรณิการ์ เจตนาถึงขั้นด่า รธน.เฮงซวย จะรื้อรายมาตรา ต้องเคลียร์ให้ชัดก่อน  อนค. เอาไงหมวดสถาบันฯ