เจาะลึกข้อกม.อนาคตใหม่ กู้เงิน 191 ล้าน หัวหน้า ธนาธร  ผิดตรงไหน อย่างไร มองข้ามเจตนารธน. ป้องพรรคการเมือง เป็นบริษัทธุรกิจ!?

ถึงเวลานี้จะโทษใครไม่ได้เด็ดขาด สำหรับข้อกล่าวหาการกระทำผิดของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โดยเฉพาะกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากจำนวนเก้าอี้ส.ส. ตามสูตรคิดคำนวณคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่ยึดโยงให้ทุกคะแนน ทุกความเห็นประชาชนมีความหมาย ไม่นับรวมความเป็นเสรีประชาธิปไตย ที่เปิดให้โอกาสให้พรรคฝ่ายค้านเดินสายปลุกระดมความเห็น และหาประเด็นซักฟอกรัฐบาลทุกวันชนิดไม่ต้องสนใจองค์ประกอบอื่น ๆ

ถึงเวลานี้จะโทษใครไม่ได้เด็ดขาด  สำหรับข้อกล่าวหาการกระทำผิดของ นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  โดยเฉพาะกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  ที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ  จากจำนวนเก้าอี้ส.ส. ตามสูตรคิดคำนวณคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่ยึดโยงให้ทุกคะแนน ทุกความเห็นประชาชนมีความหมาย  ไม่นับรวมความเป็นเสรีประชาธิปไตย  ที่เปิดให้โอกาสให้พรรคฝ่ายค้านเดินสายปลุกระดมความเห็น  และหาประเด็นซักฟอกรัฐบาลทุกวันชนิดไม่ต้องสนใจองค์ประกอบอื่น ๆ 

ย้ำประเด็นก่อนหน้า เหตุที่เป็นปัญหานี้สืบเนื่องมาจากการที่ นายธนาธร ไปพูดที่   สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ เอฟซีซีที (FCCT) ในหัวข้อ อะไรคืออนาคตของพรรคอนาคตใหม่ (What is the future of Future Forward?)  และตอนหนึ่งนายธนาธรได้กล่าวถึง การบริหารการเงินของพรรคอนาคตใหม่ว่า   เพื่อให้พรรคสามารถเดินหน้าในช่วงการเลือกตั้งได้   จึงตัดสินใจให้เงินทางพรรคยืมไปแล้วราว 110 ล้านบาท

 

เจาะลึกข้อกม.อนาคตใหม่ กู้เงิน 191 ล้าน หัวหน้า ธนาธร  ผิดตรงไหน อย่างไร มองข้ามเจตนารธน. ป้องพรรคการเมือง เป็นบริษัทธุรกิจ!?

 

และต่อมาในการแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ของนายธนาธร ก็ยอมรับว่ามีการปล่อยกู้ให้กับพรรคอนาคตใหม่จริง    ประกอบด้วย  

1. สัญญากู้เงิน  ลงวันที่ 2 มกราคม 2562 ระหว่างนายธนาธร  กับพรรคอนาคตใหม่  โดยนายนิติพัฒน์ แต้มไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค  ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพรรค หรือก็คึอ ตัวนายธนาธร   เป็นผู้ทำสัญญากู้   และมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายพุฒิพงศ์ พงศ์อเนกกุล ลงชื่อเป็นพยานในการทำสัญญากู้เงิน 

ส่วนยอดเงินกู้งวดแรกมีจำนวนทั้งสิ้น  161,200,000 บาท โดยเงื่อนไขสัญญากำหนดว่าพรรคอนาคตใหม่ จะชำระเงินกู้ ทั้งหมดภายใน 3 ปี โดยแบ่งเป็นปีที่ 1 ชำระ เงินต้น จำนวน 80 ล้านบาท ปีที่ 2 ชำระ หนี้ 40 ล้านบาท และปีที่ 3 ชำระหนี้เงินต้นอีก  41,200,000 บาท โดยมีการคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

2.สัญญากู้เงิน ลงวันที่ 11 เมษายน  2562 ระหว่างนายธนาธร  กับ  นายนิติพัฒน์  เหรัญญิกพรรค  ทำหน้าที่แทนหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  อีกครั้ง   โดยมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายพุฒิพงศ์ พงศ์อเนกกุล ลงชื่อเป็นพยานการทำสัญญากู้เงินเพิ่มอีก จำนวน 30 ล้านบาท  แต่ครั้งนี้รายละเอียดที่มีการจดแจ้งระบุว่าพรรคอนาคตใหม่ ตกลงจะชำระเงินกู้ภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา  โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี


@จากรายละเอียดนำเสนอก่อนหน้า เราจะไปไล่ดูประเด็นรายละเอียดที่กำลังถูกวิจารณ์เชิงลึก ว่ากระทำผิดกฎหมาย หรือ กระทำการนอกเหนือจากบทบัญญัติกฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นความผิดหรือไม่ อย่างไร 

เริ่มจากข้อกำหนดว่าด้วยรายรับ หรือ ช่องทางเงินเข้าพรรคการเมือง ซึ่งมีรายละเอียดกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ตามหมวด 5  เรื่องรายได้ของพรรคการเมือง  เขียนไว้ว่า  มาตรา  62   พรรคการเมืองอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(1) เงินทุนประเดิมตามมาตรา 9 วรรคสอง  ( สมาชิกรวมระดมทุน  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของพรรคการเมือง  พรรคการเมืองต้องมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท  โดยผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองทุกคนต้องร่วมกันจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาทแต่ไม่เกินคนละห้าหมื่นบาท)

(2) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กำหนดในข้อบังคับ

(3) เงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง

(4) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง

(5) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค

(6) เงินอุดหนุนจากกองทุน

(7) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมือง

การได้มาซึ่งรายได้ตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการได้มาซึ่งรายได้นั้นเป็นหนังสือ  ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด

การจำหน่ายสินค้าหรือบริการตาม (3) และการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมืองตาม (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

รายได้ของพรรคการเมืองจะนำไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากการดำเนินงานของพรรคการเมืองมิได้

 

เจาะลึกข้อกม.อนาคตใหม่ กู้เงิน 191 ล้าน หัวหน้า ธนาธร  ผิดตรงไหน อย่างไร มองข้ามเจตนารธน. ป้องพรรคการเมือง เป็นบริษัทธุรกิจ!?

@ด้วยเหตุผลสำคัญ ๆ  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยเงินรายได้พรรคการเมือง  สะท้อนเจตนาชัดว่าต้องการให้ทุกอย่างโปร่งใส  เงินแต่ละบาทสตางค์มีข้อกำหนดชัดเจนว่าจะได้มาจากแหล่งใดบ้าง และไม่มีเขียนเลยว่าสามารถไปกู้เงินมาทำพรรค   มาจัดตั้งพรรคการเมืองได้   เพราะพรรคการเมืองไม่ใช่องค์กรธุรกิจ  ที่จัดตั้งมาเพื่อแสวงหาผลกำไร  ขาดทุน  

 

 


ในทางตรงข้ามกม.ว่าด้วยพรรคการเมือง   ต้องการให้พรรคการเมืองมีความเป็นอิสระสูงสุด  จึงกำหนดแต่แรกว่าเกิดขึ้นจากเงินระดมทุนของสมาชิก  ตามมาตรา 9  วรรคสอง  และยังเขียนไว้ใน  มาตรา  63 ด้วยว่า   รายได้และทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้  ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

เจาะลึกข้อกม.อนาคตใหม่ กู้เงิน 191 ล้าน หัวหน้า ธนาธร  ผิดตรงไหน อย่างไร มองข้ามเจตนารธน. ป้องพรรคการเมือง เป็นบริษัทธุรกิจ!?


ขณะที่ มาตรา  64   (วรรคแรก)  เขียนว่า การหารายได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมืองต้องกระทำโดยเปิดเผย และแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการระดมทุนของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน

 


ไม่เท่านั้น  ตามมาตรา  78    ถึงมาตรา  86   ยังระบุถึงกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง    ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน และใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมือง    การให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  , การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  , การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน และสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างแท้จริง และการดำเนินการอื่นใดที่มีกฎหมายกำหนด

 


โดยบางส่วนของรายละเอียดเนื้่อความข้อกฎหมาย   ระบุถึง  ที่มาของเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง   มาจากการจัดสรรเงินโดยกรมสรรพากร  , เงินจากงบประมาณรายจ่าย  และ เงินในส่วนอื่น ๆ แต่ไม่มีปรากฎข้อความใดให้พรรคการเมืองสามารถ  เลือกช่องทางกู้เงิน  หริอ วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจาก มาตรา 62  ซึ่งกำหนด  7 วิธีการได้มาซึ่งรายได้ของพรรคการเมือง   มาใช้ในกิจการของพรรคการเมืองได้    เนื่องจากตามหลักการเป็นไปเพื่อทำให้พรรคการเมืองมีความเป็นอิสระ และเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนโดยแท้จริง     

 


@ ย้ำชัด ๆ เฉพาะประเด็นที่มาของเงินใช้จ่ายภายในพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่นายธนาธรกับพรรคอนาคตใหม่กระทำร่วมกันนั้น  ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

 

เนื่องด้วยกรณีนี้   เมื่อวันที่  22 พฤษภาคม  2560    พรรคอนาคตใหม่  ได้โพสต์อ้างข้อความตอนหนึ่งระบุว่า    “เงินกู้” ไม่ถือเป็น “รายได้” แต่เป็น “หนี้สิน” ที่ต้องชำระคืน  และตามกฎหมายพรรคการเมืองในประเทศไทย   ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้พรรคการเมืองกู้ยืมเงิน
 

 

การที่พรรคการเมืองกู้เงินเพื่อมาบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมของพรรคถือเป็นเรื่องปกติที่ปฏิบัติกันทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีหลายพรรคที่เคยกู้ยืมเงิน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทย ชาติพัฒนา และประชาธิปไตยใหม่ ฯลฯ ดังที่แสดงให้เห็นในรายงานงบการเงินของพรรคที่ยื่นให้ กกต.รับรอง เงินกู้ยืมเหล่านี้ก็ถูกจัดอยู่ในรายการ “หนี้สิน” ไม่ใช่ “รายได้” ของพรรคการเมือง

 


โดยเนื้อหาสาระก็เป็นไปตามความเห็นของ  นายปิยบุตร แสงกนกกุล    เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่  ซึ่งแถลงระบุว่า  กฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง  ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการกู้เงินเลยแม้แต่น้อย  ไม่ใช่แค่นั้นกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายเอกชน  เท่ากับว่า   ถ้าไม่มีข้อห้ามแปลว่าทำได้  ทั้งยังอ้างว่าเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ไม่ได้  เพราะถ้าไม่อยากให้พรรคการเมืองกู้เงิน ก็ควรเขียนเอาไว้ให้ชัดเจนเลยตั้งแต่แรก

 

 

แต่ข้ออ้างดังกล่าว   มีคำอธิบายอย่างแตกต่างในแง่มุมกฎหมาย   โดยเมื่อวันที่  23   พฤษภาคม  2562  อ.ชูชาติ ศรีแสง  อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  แสดงความเห็นประเด็นดังกล่าวว่า  การพูดของเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่  เป็นการพูดเพื่อเป็นข้ออ้างเข้าข้างตัวเองโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และบทบัญญัติของกฎหมาย

 


ทั้งนี้เพราะหากพรรคการเมืองที่เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่อ้างถึงนั้น   ถ้ามีการกู้ยืมเงินกันจริง  ก็เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่มีการบังคับใช้ พรป.พรรคการเมือง พ.ศ.2550  ซึ่งตามมาตรา 53 ใน (7)  ได้บัญญัติข้อความ “รายได้อื่น”อยู่ด้วย   พรรคการเมืองจึงสามารถกู้ยืมเงินมาใช้   ในการดำเนินงานของพรรคการเมืองได้  แต่ข้อความว่า “รายได้อื่น”  ไม่มีบัญญัติไว้ใน  พรป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560  มาตรา 62 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันแต่อย่างไร

 


“การที่นายปิยะบุตรนำการกระทำต้องปฏิบัติตามกฎหมายพรรคการเมืองปี 2550  และปี  2560  ที่กำหนดให้พรรคการเมืองต้องปฏิบัติต่างกันมาเปรียบเทียบกัน จึงเป็นเรื่องที่ผิดฝาผิดตัว จับแพะชนแกะ ทำให้ประชาชนที่ไม่รู้กฎหมายเข้าใจผิด” 

 


@ ประเด็นนี้น่าสนใจ  เพราะเมื่อไปตรวจสอบกับ  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ว่าด้วยพรรคการเมือง  ไม่ได้แค่้มีรายละเอียดแตกต่างจาก กับปี  2560  ตามที่อ.ชูชาติ ตั้งข้อสังเกตุไว้ แต่ยังมีรายละเอียดเปิดกว้างในเรื่องการได้มาซึ่งเงินบริหารจัดการพรรคการเมือง ที่ถูกแก้ไขอย่างสิ้นเชิงกับ พระราชบัญญัติปี  2560 อย่างมาก

 


อาทิเช่น  มาตรา  4   วรรคสี่   มีการระบุถึงเงินใช้จ่ายภายในพรรคการเมือง  ว่าด้วย  “การบริจาค” หมายความว่า  การให้เงิน  ทรัพย์สิน  หรือ  ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่พรรคการเมือง  เพื่อการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง  หรือ  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง  หรือ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามข้อบังคับพรรคการเมือง

 

 

ขณะที่  วรรคห้า ว่าด้วย   “ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้”  หมายความรวมถึงรายละเอียด 11 ข้อ   ซึ่งมีส่วนประกอบด้วยถ้อยคำบางส่วน  ที่เปิดกว้างมากเกี่ยวกับที่มาของเงิน  อาทิ  เรื่องการผูกพันหนี้   , การยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย  หรือ   แม้แต่การเข้าค้ำประกัน  โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมของบุคคล  เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง หรือของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีใน  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  

 

 


ส่วนมาตรา 53   แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ของพรรคการเมือง  ว่า  อาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(1) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

(2) เงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง

(3) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการจัดกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมือง

(4) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการบริจาคแก่พรรคการเมือง

(5) เงินอุดหนุนจากกองทุน

(6) ดอกผลของเงินและรายได้จากทรัพย์สินของพรรคการเมือง

(7) รายได้อื่น

และการหารายได้ตาม (2) และ (7) ให้เป็นไปตามที่นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

 

 


@ท้ายสุดนี้เป็นเพียงรายละเอียดข้อกฎหมายว่าด้วยช่องทางการเข้าของเงินสู่พรรคการเมือง   ที่กำลังเป็นปัญหาสำหรับพรรคอนาคตใหม่  แต่ยังไม่จบเพราะยังมีประเด็น ว่าด้วยการเอาเงินพรรคการเมืองไปใช้รายจ่ายอีกด้วย ซึ่้งกรณีเงินกู้ที่พรรคอนาคตใหม่อ้างว่าไม่ได้เป็นรายได้ แต่เป็นการกู้ยืม ที่ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง  ซึ่งก็มีการวิพากษ์วิจารณ์อยู่ไม่น้อย ว่าก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาว่า  นายธนาธรและพรรคอนาคตใหม่  กระทำผิดกฎหมายหรือไม่ ??

 


ธนาธร

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ส.ส.เพื่อไทย ต่อยกันยับ ในห้องหัวหน้าพรรค
-เปิดทุกปมความจริง คดียุบพรรค “อนาคตใหม่” หลัง “ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ พรรณิการ์” ผนึกกำลัง...บลั๊ฟศาลรธน.??
-“ยิ่งลักษณ์” โพสต์ส่งกำลังใจ คนไทยเผชิญน้ำท่วมปี 62 ภาพ “เอาอยู่” ผุดขึ้นมาทันที 8 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทุบสถิติทำเสียหาย??
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน