เมื่อ ธนาธร เลือกเบี้ยวโอนทรัพย์สิน  Blind Trust  หน้าที่กกต.ต้องเร่งสอบเข้าเงื่อนไข คำร้องทำผิด พรป.เลือกตั้งหรือไม่?

@ดูท่าจะไม่จบง่ายอีกหนึ่งประเด็น เหมือนกรณีการถือหุ้นสื่อวี-ลัค มีเดีย หลังจาก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ออกมายอมรับเองว่า เป็นฝ่ายเขียนจดหมายไปหา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด ขอโทษขอโพยว่าไม่อาจโอนทรัพย์สิน ไปสู่กระบวนการ Blind Trust ได้ตามที่ประกาศไว้กับสาธารณชน เพราะถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.

@ดูท่าจะไม่จบง่ายอีกหนึ่งประเด็น เหมือนกรณีการถือหุ้นสื่อวี-ลัค มีเดีย   หลังจาก ธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  ในฐานะหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ออกมายอมรับเองว่า  เป็นฝ่ายเขียนจดหมายไปหา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด   ขอโทษขอโพยว่าไม่อาจโอนทรัพย์สิน ไปสู่กระบวนการ  Blind Trust ได้ตามที่ประกาศไว้กับสาธารณชน  เพราะถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.

กรณีต้องย้ำอีกครั้งว่าสถานะทางการเมืองของ ธนาธร  วันนี้ก็ยังคงเป็นผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. โดยสมบูรณ์  เพียงแต่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว  เพื่อรอผลการพิจารณาคำร้องเรื่องการถือหุ้นสื่อ ซึ่งเป็นการะทำที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 

 

เมื่อ ธนาธร เลือกเบี้ยวโอนทรัพย์สิน  Blind Trust  หน้าที่กกต.ต้องเร่งสอบเข้าเงื่อนไข คำร้องทำผิด พรป.เลือกตั้งหรือไม่?


ในขณะที่เมื่อวันที่ 18 มีนาคม  2562 ธนาธร  ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน  เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน   ว่าต้องการทำ  Blind Trust ด้วยประสงค์ต้องการทำหน้าที่ ส.ส. อย่างโปร่งใสที่สุด ไม่ให้เกิดข้อครหาเรื่องการแสวงผลประโยชน์ที่มิควรได้

 

 

ดังนั้นการที่  ธนาธร  จะอยู่ในฐานะใดก็ตาม  ระหว่างนักการเมือง หรือ  ส.ส.   จึงไม่มีความจำเป็นเลยทื่จะต้องออกมาประชาสัมพันธ์ตัวเอง   โดยวิธีการดังกล่าว   และทอดเวลาไม่เร่งดำเนินการ  ตามที่เคยพูดไว้ก่อนหน้า  ว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม  2562  หรือ ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง  โดนศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่  ในวันที่  23   พฤษภาคม  2562  ในเมื่อมีการเซ็น MOU  ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2562  ตามที่สังคมไทยรับรู้จากกระแสข่าวในช่วงนั้น

 

 


จนอดไม่ได้ที่จะต้องย้อนกลับไปที่ข้อสังเกตุของ   กรณ์  จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เคยตั้งประเด็นไว้แต่แรก ว่า   ทำไม ธนาธร  เลือกจะทำเรื่อง   Blind Trust  เพราะ 1.   “Blind Trust” ยังไม่มีจริงในประเทศไทย เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ เพราะฉะนั้นที่  ธนาธรลงนามไปนั้น  ไม่ใช่  Blind trust และไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน   

 

 


และ 2.จริงๆแล้ววิธีที่ชัดเจนที่สุด  ที่จะปลดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนคือการขายขาด  แต่หากไม่ขาย ผมว่าที่ดีที่สุดคือเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะว่าเรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ และที่ไม่ควรคือการโอนเข้าไปในที่ๆ "มองไม่เห็น"  

 

 

ถือหุ้นสื่อ

@อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ  ธนาธร   ต้องไม่ลืมว่า กรณีการลงนาม   MOU  กับ  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด    ทำให้ทุกคนเข้าใจได้ว่า  ขั้นตอนการทำ  Blind Trust ทรัพย์สินมูลค่า  5 พันล้านบาท ควรจะมีความคืบหน้า จนเสร็จสิ้่นกระบวนความไปตั้งนานแล้ว   ไม่ใช่รอให้เกิดข้อกังขา   หรือเลยเถิดมาจนเดือนตุลาคม  2562  ธนาธร  ถึงต้องออกมาโพสต์แก้ตัว

 


โดยเฉพาะเหตุกรณีจากข้อความโพสต์ของ   บรรยง พงษ์พานิช   ในฐานะประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร   เมื่อวันที่  18 มีนาคม  2562   ดังใจความปรากฎว่า    ในนามของประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร   ผมขอขอบคุณความไว้วางใจที่มอบให้ครับ….

 

 


เราจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกันทุกประการ    เพื่อให้แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากการทำงานด้านการเมือง   ซึ่งสำหรับเราเป็นการทำหน้าที่ตามวิชาชีพการจัดการการลงทุนตามปกติ  ไม่ได้เป็นการเลือกข้าง เลือกพรรค เราสนับสนุนการสร้างบรรทัดฐานที่ดีเช่นนี้ในการเมืองไทย  และยินดีที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวให้กับทุกคน ทุกพรรค ที่มีเจตนาและความตั้งใจจะดำเนินการในลักษณะเดียวกันนะครับ"

 

คดีถือหุ้นสือ

 

ไม่เท่านั้นยังมีการระบุด้วยซ้ำว่า  บรรยง  มีการติดแฮชแท็ก #เราจะทำหน้าที่อย่างซื่อตรงครับ  พร้อมระบุในคอมเมนต์ว่า  "ผมประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะเปิดเผยจุดยืนการเลือกตั้ง  เพิ่งได้รับรายงานว่าคุณเอก (ธนาธร) จะใช้ภัทรเมื่อวันพฤหัส แล้วผมก็ทำไปตามความตั้งใจเดิม และกำหนดเดิม"  อันเป็นการย้่ำให้ทุกคนเชื่อได้ว่า  ขั้นตอนทั้งหมดจะเป็นไปตามข้อตกลงที่เขียนไว้ใน  MOU

 

 


@โฟกัสจุดนี้ค่อนข้างละเอียด เพราะว่าการแถลงข่าวเรื่อง   Blind Trust ของ ธนาธร    มีขึ้นในวันที่ 18 มีนาคม 2562  หรือ ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นเพียง 6  วัน คือ  ในวันที่ 24 มีนาคม 2562  ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการที่ ธนาธร เลือกทำไม่ต่างกับรูปแบบการหาเสียงวิธีการหนึ่ง    

 

 


ทั้งนี้กรณีดังกล่าว เมื่อ 19 มีนาคม 2562  นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยกรณีนายธนาธร  แถลงข่าว เรื่องโอนทรัพย์สินไปให้กองทุน หรือ  ทรัสต์  เป็นผู้ดูแล  โดยอ้างว่าเป็นนักการเมืองคนแรกที่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ด้วยความสมัครใจ  ไม่มีใครมาบังคับ  

 

 

 

ขณะที่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นอย่างที่นายธนาธรนำเสนอ  แต่การที่กฎหมายกำหนดว่าต้องโอนหุ้นให้กองทุนดูแล  เริ่มมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 และมีนักการเมือง 14-15 คนแล้วที่โอนหุ้นให้กองทุนดูแล  ไม่ใช่นายธนาธรเป็นคนแรก  อีกทั้งตามรัฐธรรมนูญปี  2560  หมวด  9 มาตรา 187  ได้กำหนดว่ารัฐมนตรีจะต้องไม่มีหุ้นส่วน หรือ  ถือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนของบริษัท และต้องไม่เป็นลูกจ้างของผู้ใด และหากประสงค์จะได้รับประโยชน์ก็ให้แจ้งต่อ ป.ป.ช.ทราบ และโอนหุ้นให้แก่นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น

 

 

ดังนั้นการที่ธนาธรออกมาแถลงอวดอ้างเรื่องดังกล่าว  จึงเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 73   (5)   ในเรื่องการจูงใจ หลอกลวง  ให้เข้าใจในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง  เป็นการสร้างประเด็นเพื่อให้เกิดความนิยมในตัวธนาธร  ซึ่งมีสถานะเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ด้วยเจตนาสร้างภาพลักษณ์ของตนเอง  ให้ดูดีกว่านักการเมืองคนอื่นๆ เพื่อหวังผลทางการเมือง  ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ล่วงรู้ความจริงอาจหลงผิดไปเชื่อถ้อยแถลงดังกล่าวง โดยถือเป็นมูลฐานความผิดตามมาตรา 73   ต้องจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี  ปรับ 20,000-200,000 บาท  และให้ศาลเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี  

 

 

นอกจากนี้พบว่า เมื่อต้นเดือนเมษายน  2562   ที่ผ่านมา  ทางสำนักงานกกต.ได้มีการสั่งรับเรื่องที่นายศรีสุวรรณ  ยื่นขอให้ตรวจสอบ  นายธนาธร กระทำการเข้าข่ายเป็นการหลอกลวง ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมผิดตามมาตรา 73 (5) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.   รวมถึงยังได้มีการเรียกนายศรีสุวรรณ  เข้าให้ถ้อยคำเพิ่มเติมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน  2562 แล้วด้วย  

 

 


ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงน่าพิจารณายิ่งกว่าปรากฎการณ์สรุป ว่า  เมื่อท้ายที่สุดนายธนาธรตัดสินใจไม่ดำเนินการโอนทรัพย์สินให้  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด  ดูแล ตามที่แถลงต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562  จริง ๆ เพียงเพราะอ้างว่าโดนคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จะทำให้สำนวนคำร้องของนายศรีสุวรรณ  เข้าข่ายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน ตามที่มีการยื่นคำร้องไว้หรือไม่???   

 

 

 

เนื่องจากมาตรา  73 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561  ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร  หรือ การชักชวนให้ไปลงคะแนน  ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการ  ตามวงเล็บ (5)    คือ เงื่อนไขประกอบการกระทำผิดไว้ว่า   "หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง"
 

ธนาธร

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ส.ส.เพื่อไทย ต่อยกันยับ ในห้องหัวหน้าพรรค
-เปิดทุกปมความจริง คดียุบพรรค “อนาคตใหม่” หลัง “ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ พรรณิการ์” ผนึกกำลัง...บลั๊ฟศาลรธน.??
-“ยิ่งลักษณ์” โพสต์ส่งกำลังใจ คนไทยเผชิญน้ำท่วมปี 62 ภาพ “เอาอยู่” ผุดขึ้นมาทันที 8 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทุบสถิติทำเสียหาย??
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน