แกะคำพูด ธนาธร 18 มี.ค. ชวนเชื่อทำ Blind trust  ที่สุด(เลือก)ไม่ทำ..แถมยังผ่องถ่ายหุ้นวิธีอื่น ชัดพอมั้ยให้สงสัยเจตนาทำผิด?

@ อย่านึกว่าชี้แจงแล้วก็จบ ๆ กันไปง่าย ๆ สำหรับการที่ ธนาธร โบ้ยให้ดูเหมือนเป็นความผิดของ ศาลรัฐธรรมนูญ ในการมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส. เลยผสมโรงเป็นเหตุผลในการเลือก ไม่โอนทรัพย์สินมูลค่ากว่า 5 พันล้านเข้าสู่โครงการ Blind trust ตามที่ตกลงกันไว้กับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562 หรือ ก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพียง 6 วัน

@ อย่านึกว่าชี้แจงแล้วก็จบ ๆ กันไปง่าย ๆ สำหรับการที่ ธนาธร  โบ้ยให้ดูเหมือนเป็นความผิดของ  ศาลรัฐธรรมนูญ ในการมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส.  เลยผสมโรงเป็นเหตุผลในการเลือก ไม่โอนทรัพย์สินมูลค่ากว่า 5 พันล้านเข้าสู่โครงการ Blind trust  ตามที่ตกลงกันไว้กับ  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด    เมื่อวันที่  18 มีนาคม 2562  หรือ ก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24  มีนาคม 2562   เพียง 6 วัน

ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของข้อคำถามว่า  การกระทำของ ธนาธร  เข้าข่ายความผิดตามที่  ศรีสุวรรณ จรรยา  เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  ตามของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561   มาตรา 73   (5)   ในเรื่องการจูงใจ หลอกลวง  ให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง  หรือไม่  

 

แกะคำพูด ธนาธร 18 มี.ค. ชวนเชื่อทำ Blind trust  ที่สุด(เลือก)ไม่ทำ..แถมยังผ่องถ่ายหุ้นวิธีอื่น ชัดพอมั้ยให้สงสัยเจตนาทำผิด?

 

เนื่องจากในการแถลงข่าวเรื่อง   Blind trust  ธนาธร  พูดเองว่าในหลายบทหลายตอน  ไม่ต่างกับการหาเสียงให้สาธารณชนมีความโน้มเอียง  เรื่องวิธีคิดใหม่ ๆ ของผู้สมัคร ส.ส. ที่น่าจะเป็นผลดีต่อทิศทางการเมืองในอนาคต  อาทิเช่น


1. "สิ่งที่ผมแถลงวันนี้ก็คือ รูปแบบของการจัดการทรัพย์สินของตัวผมเอง....ประชาชนหลายคนเข็ดหลาบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ที่นักการเมืองไม่ได้มีการบริหารจัดการหุ้นและธุรกิจตัวเองอย่างโปร่งใส  เมื่อครั้งมีอำนาจก็ออกสัมปทาน เอาบริษัทของตัวเองไปเป็นคู่สัญญา ไม่ว่าจะในระดับท้องถิ่น สัญญาก่อสร้างถนน สัญญาก่อสร้างอาคาร หรือว่าระดับประเทศ สัญญาสำคัญต่างๆ

 

 


ดังนั้นเพื่อที่จะลบข้อครหาต่างๆ เหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้สังคมไม่เคลือบแคลงสงสัย  ในแรงจูงใจที่ทำให้ธนาธรมาทำงานการเมือง ผมก็อยากจะสร้างมาตรฐานการเมืองใหม่ ว่านักธุรกิจที่มาทำงานการเมืองไม่ใช่เรื่องแปลก และเป็นไปได้ในสังคมไทย ...  แม้จะมีขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดให้เราทำ แต่สิ่งที่เราจะทำให้มากกว่านั้นคือสร้างมาตรฐานใหม่ ยกระดับความโปร่งใส มาตรฐานการดูแลผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ไปไกลกว่ากฎหมาย”
 

แกะคำพูด ธนาธร 18 มี.ค. ชวนเชื่อทำ Blind trust  ที่สุด(เลือก)ไม่ทำ..แถมยังผ่องถ่ายหุ้นวิธีอื่น ชัดพอมั้ยให้สงสัยเจตนาทำผิด?

 

2."ผมคิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤษภาคม 2562 น่าจะจัดสรรเรื่องตรงนี้เสร็จ ถ้าทำเสร็จ เราเชื่อว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ ต้องบอกว่าในประเทศไทยไม่มีกฎหมายรองรับ blind trust ดังนั้นเราทำให้มันเป็น blind trust อย่างต่างประเทศไม่ได้ แต่สิ่งที่เราพยายามทำร่วมกับภัทร (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด) ต้องเรียกว่าเป็น innovation ของการบริหารทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นี่เป็น innovation แบบใหม่ คือใช้กฎหมายที่เป็น private fund แต่ทำให้มัน blind ด้วยความสมัครใจ"

 

 


และ 3. " ที่ผ่านมาไม่เคยมีใคร ไม่เคยมีนักการเมืองคนไหนใช้ private fund แล้วทำให้มัน blind คือทำให้มองไม่เห็น สั่งการไม่ได้ ด้วยความสมัครใจมาก่อน นี่จะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สิ่งที่ทำอย่างนี้ ผมอยากจะเรียนให้ชัดอีกครั้งว่าเป็นความตั้งใจที่จะยกมาตรฐานการทำงานการเมืองของคนที่ทำธุรกิจมาก่อน ของคนที่มีทรัพย์สินเยอะ เพื่อแสดงความตั้งใจ แสดงความจริงใจให้กับสาธารณะได้เห็น"

 

แกะคำพูด ธนาธร 18 มี.ค. ชวนเชื่อทำ Blind trust  ที่สุด(เลือก)ไม่ทำ..แถมยังผ่องถ่ายหุ้นวิธีอื่น ชัดพอมั้ยให้สงสัยเจตนาทำผิด?


@ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างคำพูดของ ธนาธร  ที่ผู้รับผิดชอบอย่าง กกต.ต้องพิจารณาว่าเข้าข่ายการจูงใจ หรือ สร้างคะแนนนิยมให้กับผู้สมัคร ส.ส.หรือไม่   เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนตรวจสอบตามคำร้อง เรื่องการทำให้เกิดกระบวนการเข้าใจผิดในคะแนนนิยมหรือไม่

 


ข้อสำคัญนอกเหนือจากข้อสังเกตุที่นำเสนอไปก่อนหน้า  ในแง่มุมของ สนข.อิศรา ก็ให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า  การดำเนินการของ ธนาธร  ในการโอนทรัพย์สินสู่กองทุน  Blind Trust มีหลายจุดให้ชวนสงสัย   เนื่องจากในช่วงจังหวะที่ ธนาธร   เลือกจะทำ   Blind  Trust  เพื่อแสดงความโปร่งใสก่อนการเลือกตั้้ง  พบว่าธนาธร มีการโอนส่วนตัวไปยังนิติบุคคล และ บุคคลอื่น ๆ 
 

 

 

ยกตัวอย่าง เช่น  การโอนหุ้น บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (มหาชน) จำนวน 44,945,000 หุ้น ( 80.25%) มูลค่าหุ้นละ 5 บาท (มูลค่าตามทุนจดทะเบียน) มูลค่ารวม 224,725,000 บาท ให้ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 

 

 

ต่อมาในวันที่ 30  เมษายน 2562 ธนาธร  โอนหุ้น บริษัท ที เอส ฮอโต้ เซลส์ จำกัด จำนวน 7,800 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมมูลค่า 780,000 บาท (มูลค่าตามทุนจดทะเบียน) มอบให้นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ  ตามเอกสารเลขหมายใบหุ้นลงวันที่  8 มกราคม 2562  และวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น  ในวันเดียวกัน  

 

 


ไม่เท่านั้น สนข.อิศรา ยังระบุด้วยว่า  ถึงแม้จะมีการเซ็น MOU  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด  เพื่อโอนทรัพย์สินให้บริหารจัดการในรูป  Blind trust  แต่  ธนาธร  ก็ยังโอนหุ้นออกมาตลอดเวลา   โดยในวันที่ 30 เมษายน  2562 โอนหุ้น บริษัท พรีเมียม สตีล โพรเชสซื่ง จำกัด 2,100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 21 ล้านบาท  ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด เลขหมายใบหุ้นลงวันที่ 05/04/2562 ( 5 เม.ย.2562) วันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น 05/04/2562

 

 


วันที่ 8  พฤษภาคม 2562  มีการโอนหุ้น  บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 76,000 หุ้น   มูลค่าหุ้นละ 100 บาท  รวมมูลค่า 7,600,000 บาท ไปให้นายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ  และในวันเดียวกันยังมีการโอนหุ้น    บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด จำนวน 20,000 หุ้น  รวมมูลค่า 20 ล้านบาท ไปให้ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  ,  โอนหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด จำนวน 1,500,000 หุ้น   มูลค่า 150 ล้านบาท   ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  

 

 


รวมถึงยังมีการ โอนหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท บ้านโพธิ์ จำกัด จำนวน 1,000,000 หุ้น   รวมมูลค่า  100 ล้านบาท   ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  ,   โอนหุ้น บริษัท ไทยซัมมิท พลาสเทค จำกัด จำนวน 40,000 หุ้น   รวมมูลค่า 40 ล้านบาท ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  ,   โอนหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟ จำกัด  รวมมูลค่า 56 ล้านบาท ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด 

 

 


และ วันเดียวกัน คือ  วันที่ 8 พฤษภาคม  2562  ยังมีการโอนหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 21,000 หุ้น  รวมมูลค่า 21 ล้านบาท ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด   ,  โอนหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด จำนวน 9,000 หุ้น   รวมมูลค่า 9 ล้านบาท ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด   และ  โอนหุ้น บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จำกัด จำนวน 1,500 หุ้น   รวมมูลค่า 1,500,000 บาท ไปให้บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด  เป็นต้น

 

 


@สรุปรวมจากการตรวจค้นของ สนข.อิศรา พบว่า  ในช่วงที่ ธนาธร ประกาศเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่  พร้อมจัดการความโปร่งใสของตัวเอง  โดยการลงนาม MOU จะโอนทรัพย์สินไปอยู่ในรูปของ  Blind  trust  ธนาธร  ได้โอนหุ้นที่ถือครองไว้ไปให้บุคคลอื่น ๆ ถึง 14 บริษัท รวมทั้งสิ้น   50,677,470 หุ้น  และคิดเป็น  มูลค่า 661,775,000 บาท

 

 


เน้นย้ำว่าการโอนหุ้นดังกล่าว  เป็นเหตุกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการแถลงข่าวเรื่อง  Blind trust   ถ้า   ธนาธร   มีเจตนาจะโอนทรัพย์สินให้กองทุน  Blind Trust อยู่แล้ว  ทำไมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม  2562   ยังรับโอนหุ้น บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด จากนางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้เป็นมารดา  จำนวน 72,000 หุ้น มูลค่า 2.3 พันล้านบาท มาไว้กับตัวเองอีก

 

 

ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของข้อคำถามว่า  ทำไมไม่จัดการเรื่องหุ้นหรือทรัพย์สิมูลค่ากว่า  5 พันล้านไปให้  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด  ดูแลให้เรียบร้อย ตามที่ตกลงไว้ในบันทึก MOU ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เมื่อวันที่ 23  พฤษภาคม 2562  ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นกรณีการเพิกถอนสิทธิการเป็นส.ส. แถมยังใช้เวลานานหลายเดือน ถึงจะออกมาชี้แจงต่อสาธารณชน ว่า สิ่งที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562  หรือ ในช่วงหาเสียงก่อนเลือกตั้ง  ยังไม่ได้เริ่มต้นดำเนินการเลย  

 

แกะคำพูด ธนาธร 18 มี.ค. ชวนเชื่อทำ Blind trust  ที่สุด(เลือก)ไม่ทำ..แถมยังผ่องถ่ายหุ้นวิธีอื่น ชัดพอมั้ยให้สงสัยเจตนาทำผิด?