จากที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ศาลฎีกา อม.) ได้กำหนดนัดพิจารณาคดีประจำเดือนตุลาคม 2562 โดยพบหนึ่งคดีที่น่าสนใจ คือการนัดฟังคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต รมว.การต่างประเทศ ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจำเลย ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

จากที่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ศาลฎีกา อม.) ได้กำหนดนัดพิจารณาคดีประจำเดือนตุลาคม 2562 โดยพบหนึ่งคดีที่น่าสนใจ คือการนัดฟังคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต รมว.การต่างประเทศ ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจำเลย ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
 

ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติต้นเดือน ก.พ.2560 ชี้มูลความผิดทางอาญาต่อนายสุรพงษ์ กรณีออกหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ให้กับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกออกหมายจับในคดีร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก่อการร้าย และคดีอื่นๆ ขัดต่อระเบียบข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 21 (2) (3) (4) โดยกำหนดนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 10 ต.ค.นี้ เวลา 11.00 น.

 

ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ สุรพงษ์ อดีตรมว.ต่างประเทศ ออกพาสปอร์ตให้ นช.ทักษิณ เหตุเจ้าตัวป่วยหนัก


ก่อนหน้านี้ ศาลฎีกา อม. ได้อ่านคำพิพากษาคดีนี้ไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 ซึ่งศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยในฐานะรัฐมนตรี กระทำการสนับสนุนช่วยเหลือนายทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และหลบหนีหมายจับในคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ สามารถเดินทางในต่างประเทศได้โดยสะดวก อยู่ในต่างประเทศโดยไม่ผิดกฎหมาย และรัฐบาลไทยไม่อาจขอให้รัฐบาลประเทศนั้นขับออกจากประเทศหรือส่งผู้ร้ายข้ามแดน อันเนื่องจากเหตุที่ไม่มีหนังสือเดินทางได้

 


ส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมและคำพิพากษาของศาลยุติธรรมไทยอ่อนแอและไม่มีสภาพบังคับตามลำดับ นอกจากนี้ยังส่อให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของไทยในสายตาประชาคมโลก ซึ่งกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับนายทักษิณ อันเป็นการกระทำโดยมิชอบและโดยทุจริต

 


องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) และ  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นว่าการกระทำความผิดของจำเลยมีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลซึ่งหลบหนีให้สามารถเดินทางในต่างประเทศได้สะดวก และเป็นผลบั่นทอนความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ หากพิพากษายืนหมายความว่าต้องเข้าเรือนจำทันที

 

 

และในวันนี้ (10 ตุลาคม 2562) ศาลนัดอ่านคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต รมว.ต่างประเทศ เป็นจำเลย ฐานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีออกพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) ให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมิชอบ ณ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง โดยนายสุรพงษ์ได้นั่งวีลแชร์เข้าฟังคำพิพากษาศาลฎีกานักการเมืองชั้นอุทธรณ์วินิจฉัย พร้อมทั้งเผยอีกว่าเป็นโรครุมเร้ามะเร็งระยะลุกลาม

 

 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

ล่าสุด ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษา ยืนโทษจำคุก "สุรพงษ์" คดีเร่งรัดออกหนังสือเดินทางให้ทักษิณมิชอบ 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี พร้อมสั่งปรับ 1แสนบาท หลังจำเลยป่วยหนัก และไม่เคยปรากฏความผิดมาก่อน

 

ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ สุรพงษ์ อดีตรมว.ต่างประเทศ ออกพาสปอร์ตให้ นช.ทักษิณ เหตุเจ้าตัวป่วยหนัก


โดยผลอุทธรณ์ที่ประชุมใหญ่ขององค์คณะในศาลฎีกา พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกนายสุรพงษ์ 2 ปี ปรับ 1 แสนบาท แต่โทษให้รอลงอาญา 2 ปี เนื่องจากจำเลยป่วยเป็นมะเร็ง ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2561 ศาลฎีกาฯ พิพากษาลงโทษจำคุกนายสุรพงษ์ 2 ปี ไม่รอลงอาญา เนื่องจากนายสุรพงษ์ได้ออกหนังสือเดินทางให้กับนายทักษิณด้วยพฤติการณ์ปกปิดซ่อนเร้น ตั้งแต่ชั้นรับคำร้องจนไปถึงขั้นตอนการปลดรายชื่อนายทักษิณออกจากบัญชีรายชื่อที่ต้องตรวจสอบก่อนออกหนังสือเดินทาง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 ข้อ 21 โดยอ้างนโยบายของรัฐบาลที่ไม่มีอยู่จริง 

 


และคณะรัฐมนตรีไม่ได้เข้ามารู้เห็นเรื่องนี้ ทั้งยังอ้างระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง ข้อ 23/7 เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และหลบหนีหมายจับให้ในคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศสามารถเดินทางในต่างประเทศได้โดยสะดวก และรัฐบาลไทยไม่อาจขอให้รัฐบาลประเทศนั้นส่งผู้ร้ายข้ามแดนอันเนื่องมาจากไม่มีหนังสือเดินทางได้

 

ส่วนกรณีที่จำเลยยื่นคำร้อง โดยการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ได้แก่ กฎหมาย ป.ป.ช. , พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส, และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ในการไต่สวนคดี และสถานะของกรรมการ ป.ป.ช. คณะผู้พิพากษาลงความเห็นให้ยกคำร้อง เนื่องจากไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่จำเลยกล่าวอ้าง

 

ทั้งนี้ นายปรีชา ศรีเจริญ ทนายความของนายสุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า นายสุรพงษ์ได้ขอยื่นประกันตัวด้วยหลักทรัพย์มูลค่า 5 ล้านบาท และศาลก็อนุญาตให้ประกันตัวได้โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามนายสุรพงษ์ออกนอกประเทศ

 

 

 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ส.ส.เพื่อไทย ต่อยกันยับ ในห้องหัวหน้าพรรค
-เปิดทุกปมความจริง คดียุบพรรค “อนาคตใหม่” หลัง “ธนาธร-ปิยบุตร-ช่อ พรรณิการ์” ผนึกกำลัง...บลั๊ฟศาลรธน.??
-“ยิ่งลักษณ์” โพสต์ส่งกำลังใจ คนไทยเผชิญน้ำท่วมปี 62 ภาพ “เอาอยู่” ผุดขึ้นมาทันที 8 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทุบสถิติทำเสียหาย??
-มาดามเดียร์ ลั่น เอาจริงเรื่องแก้ปัญหาน้ำ ไม่ใช่ดีแต่พูด กรีดฝ่ายค้านมัวแต่ยุ่งปมถวายสัตย์ ไม่ช่วยเหลือ ปชช.เดือดร้อน