อ่านให้กระจ่าง ทำไม ดร.สามารถ ค้านวิธีคิดแบบ ทอท.  ดันเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ?

หลังจากออกมายืนยันความถูกต้องตามหลักวิชาการ โดย นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ระบุว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ บริเวณ Concourse A Annex มีการศึกษาความเหมาะสมเป็นอย่างดี และฝ่ายบริหาร ทอท.จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ในวันที่ 20 พ.ย.นี้

หลังจากออกมายืนยันความถูกต้องตามหลักวิชาการ  โดย  นายนิตินัย  ศิริสมรรถการ   กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ระบุว่า   การดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ  บริเวณ Concourse A Annex  มีการศึกษาความเหมาะสมเป็นอย่างดี   และฝ่ายบริหาร ทอท.จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ 

ล่าสุด  ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  และ  อดีตรองผู้ว่าฯกทม.  ในฐานะ  วิศวกรผู้ร่วมจัดทำแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิ  ได้โพสต์แสดงความเห็นเพิ่มเติม  ถึงแนวทางการผลักดันโครงการก่อสร้างเทอร์มินัล  2  สุวรรณภูมิ  ว่า    เหตุผลหนึ่งที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.อ้างว่าสาเหตุที่ ทอท.ไม่ต้องการสร้างเทอร์มินัล  2  ทางด้านใต้ ใกล้ถนนบางนา-ตราด ตามแผนแม่บท เป็นเพราะระบบคมนาคมทางด้านใต้ไม่พร้อม สู้ทางด้านเหนือไม่ได้ที่มีทั้งแอร์พอร์ตลิงก์และมอเตอร์เวย์  ทำให้ ทอท.ต้องการสร้างเทอร์มินัล 2 ใกล้มอเตอร์เวย์ หรือที่เรียกกันว่าเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ

 

อ่านให้กระจ่าง ทำไม ดร.สามารถ ค้านวิธีคิดแบบ ทอท.  ดันเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ?


ผมขอแย้งว่าไม่จริง เพราะ ทอท.ได้มีการออกแบบเบื้องต้นอุโมงค์รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่เวลานี้ให้บริการถึงเทอร์มินัล 1 ให้เชื่อมต่อจากเทอร์มินัล 1 ถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้เอาไว้แล้ว นั่นหมายความว่าอีกไม่นานก็จะมีแอร์พอร์ตลิงก์ให้บริการไปจนถึงเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท โดยวิ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ารถไฟฟ้าไร้คนขับ หรือ APM ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ทำให้การเดินทางเข้าออกเทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ มีความสะดวกสบาย และรวดเร็ว

 


อนึ่ง อุโมงค์รถไฟฟ้าแอร์พอรต์ลิงก์จากเทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ สามารถเชื่อมต่อไปถึงถนนบางนา-ตราด ได้ ซึ่งบนถนนบางนา-ตราด จะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล ไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง อีกทั้ง จะมีการต่อเชื่อมทางด่วนบูรพาวิถี (ทางด่วนบางนา-ชลบุรี) เข้าสู่เทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ด้วย โดยไม่ต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ทำให้การเดินทางเข้า-ออก เทอร์มินัล 2 ตามแผนแม่บท ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และรวดเร็ว

หาก ทอท.มุ่งมั่นที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ จะเป็นการเพิ่มปัญหารถติดบนมอเตอร์เวย์ ทำให้กรมทางหลวงต้องเตรียมที่จะก่อสร้างมอเตอร์เวย์ชั้นที่ 2 ระยะทาง 18 กิโลเมตร จากถนนศรีนครินทร์-ทับยาว ใช้เงินถึง 37,500 ล้านบาท และเมื่อถึงวันหนึ่งมอเตอร์เวย์ 2 ชั้น ก็ช่วยไม่ได้ เนื่องจากปริมาณรถจะเกินความจุของมอเตอร์เวย์นั่นเอง

 


การสร้างเทอร์มินัล 2 ทางด้านใต้ตามแผนแม่บท จะช่วยกระจายปริมาณรถให้มาใช้ถนนบางนา-ตราด แทนที่จะกระจุกแน่นอยู่บนมอเตอร์เวย์   จึงขอฝากถึงคณะกรรมการหรือบอร์ด ทอท.ที่จะประชุมในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ให้พิจารณาปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาจากการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ ให้รอบคอบ 

 

 

และขอฝากความหวังไว้ที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเคยคัดค้านการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะไว้แล้วเมื่อต้นปี พ.ศ.2562 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาพัฒน์จะไม่เปลี่ยนใจ

 

 

รวมถึงความหวังด่านสุดท้ายอยู่ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ซึ่งเคยสั่งการให้ ทอท.ไปจัดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ว่าจะสั่งการอย่างไร

 

อ่านให้กระจ่าง ทำไม ดร.สามารถ ค้านวิธีคิดแบบ ทอท.  ดันเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ?