จากที่ไวรัสโควิด-19เล่นงานผู้คนทั่วจนกลายเป็นอีกหนึ่งดรคระบาดที่น่ากลัวสุดๆ เนื่องจากการระบาดของมันทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 90,000 ทั้งยังทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,000 คนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งในขณะการณ์เช่นนี้สิ่งที่ประชาชนระวังมากที่สุดก็คือ ความสะอาดและการป้องกันที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบตัวเอง ซึ่งหลายๆ คนต่างเฟ้นหน้าทั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ทั้งหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันละอองน้ำลายจากคนอื่น และของตัวเองที่จะแพร่ออกไป

จากที่ไวรัสโควิด-19เล่นงานผู้คนทั่วจนกลายเป็นอีกหนึ่งดรคระบาดที่น่ากลัวสุดๆ เนื่องจากการระบาดของมันทำให้มีผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 90,000 ทั้งยังทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,000 คนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก ซึ่งในขณะการณ์เช่นนี้สิ่งที่ประชาชนระวังมากที่สุดก็คือ ความสะอาดและการป้องกันที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบตัวเอง ซึ่งหลายๆ คนต่างเฟ้นหน้าทั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ทั้งหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันละอองน้ำลายจากคนอื่น และของตัวเองที่จะแพร่ออกไป

ล่าสุด   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.)  กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เรื่องโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการจัดประชุมสัมมนาต่างๆ  ว่า  ตนได้มีข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี พร้อมเสนอในที่ประชุมครม. และเป็นมติครม.แล้วเป็นข้อสั่งการและมาตรการระยะเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) โดยขอแจกเป็นเอกสารให้ผู้สื่อข่าว เพื่อจะได้ลงข้อมูลให้ครบ พร้อมกันนี้ยังมีประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มาตรการในการควบคุมโรคเพิ่มเติม รวมถึงมาตรการในปฏิบัติตัวของผู้ที่จะต้องสังเกตอาการอยู่ที่บ้าน เพราะหลายคนได้ไปร่วมในกิจกรรมต่างๆ ประจำวัน โอกาสมีความเสี่ยงพอสมควร ตรงนี้ต้องแก้ปัญหาให้ได้ 
             

“การชุมนุมกัน เอ้ยไม่ใช่การชุมนุม การไปร่วมกิจกรรมคนเยอะๆ อะไรเลื่อนได้ก็เลื่อนเถอะ ขอความร่วมมือด้วยหากมีการจัดอยู่ สถานที่จัดงานต้องมีมาตรการของตัวเองในการดูแลสถานที่ดังกล่าว เว้นแต่สิ่งที่เราห้ามตอนนี้ ซึ่งประกาศที่ออกมาจะเห็นว่าใครบ้างอะไรอย่างไร ปัญหาคือเรามีคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย หลายกิจกรรม ฉะนั้น ต้องดูว่าจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร แต่สิ่งสำคัญสุดคือสุขภาพประชาชนคนไทยเป็นหลักนะจ๊ะ” 

 

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์  ยังกล่าวถึงแผนรับมือผู้ใช้แรงงานไทยที่ขอกลับจากเกาหลีใต้ (ผีน้อย) ว่า ผู้ที่จะกลับมาจากเกาหลีใต้นั้น ในวันที่ 4 มี.ค.นี้ ตนจะประชุมในรายละเอียดว่าจะทำอย่างไรและจะมีมาตรการอย่างไร  หากจะต้องกักตัวทั้งหมด ปัญหาใหญ่คือจะควบคุมคนจำนวนมากได้อย่างไร  เพราะไม่ใช่แค่ร้อยกว่าคน แต่มีจำนวนหลายพันอาจถึงหมื่นคน ฉะนั้น ต้องดูว่าจากต้นทางจะปล่อยออกมาเท่าไร อย่างไร เขามีมาตรการควบคุมอยู่แล้วส่วนหนึ่งด้วยการกักตัว 14 วัน เมื่อมาถึงเราก็ต้องกักตัวไว้อีก 14 วัน หรือจะเฉพาะบางส่วนที่ตรวจพบ ต้องหาวิธีการที่เหมาะสม 

 

ตนรู้ว่าประชาชนยังไม่ค่อยมั่นใจ และกลัว สังคมต้องเข้าใจด้วยว่าจะติดต่อกันได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นจะแก้ไม่ได้ แม้แต่วันหน้าก็แก้ไม่ได้ ไม่มีอะไรที่เราจะหวังผลได้ 100% มากนัก เพราะโรคนี้ถือเป็นภัยอุบัติใหม่ โรคไวรัสใหม่ที่เกิดขึ้นมา วันนี้ความพร้อมของสาธารณสุขไม่ว่าจะหมอแพทย์ พยาบาลหรือยาที่ผลิตเอง ตอนนี้มีพร้อมแล้ว และยาที่ว่าต้องมีการทดลองใช้ต่อไป เหมือนกับประเทศจีน ที่ผลิตยามา เราก็ได้สั่งซื้อมาเช่นกัน เป็นลักษณะใกล้เคียงของเราที่ผลิตอยู่ในขณะนี้

 

ทางด้าน ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มาตรการระยะเร่งด่วน สําหรับการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ระบุว่า  มาตรการระยะเร่งด่วน ๑. ด้านการป้องกันโรค/สุขภาพ

 

นายกฯตู่สั่งการตรง ยกระดับมาตรการเร่งด่วน คุมไวรัสโควิด-19 นัดถกรับมือผีน้อยเรือนหมื่น หนีเกาหลีเผ่นกลับ


๑.๑ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ ดําเนินการตามมาตรการของกระทรวง สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และหากมีความจําเป็นให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ดําเนินการ กําหนดมาตรการเป็นการภายในต่อไป


๑.๒ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ ระงับหรือเลื่อนการเดินทางไปศึกษาดูงาน อบรม หลักสูตร หรือประชุม ในประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ ประเทศเฝ้าระวัง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด โดยในส่วนของการดูงานหรืออบรมหลักสูตร ขอให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงงบประมาณเป็นการดูงาน หรือจัดอบรมหลักสูตรภายในประเทศแทน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เว้นแต่กรณีมีความจําเป็นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องได้รับอนุญาต ให้เดินทางออก นอกราชอาณาจักรจากหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ให้ กระทรวงการคลัง พิจารณามาตรการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีผลกระทบต่อเอกชนคู่สัญญาน้อยที่สุด


๑.๓ ให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เดินทางกลับมาจาก หรือ เดินทางผ่าน หรือมีเส้นทางแวะผ่าน (Transit/Transfer) ประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และจําเป็นต้องสังเกตอาการ ปฏิบัติงานภายในที่พัก ๑๔ วัน โดยไม่ถือ เป็นวันลา ทั้งนี้ให้ สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จัดทําหลักเกณฑ์สําหรับให้ข้าราชการ ปฏิบัติงานภายในที่พัก โดยให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง


ในส่วนของประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับมาจาก หรือ เดินทางผ่าน หรือมีเส้นทาง แวะผ่าน (Transit/Transfer) ประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ดําเนินการคัดกรองประชาชนกลุ่มดังกล่าวอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวง สาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกําหนด ในกรณีที่มีความจําเป็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการ ขนส่งประชาชนกลุ่มดังกล่าวกลับภูมิลําเนาหรือไปยังสถานพยาบาลอย่างเหมาะสม รวมถึงการกํากับ ดูแล การกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัย โดยให้มีการบูรณาการการดําเนินงานระหว่างชุมชน จิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) และสถานพยาบาลในพื้นที่ ในการติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบ และป้องกันอย่างใกล้ชิด


๑.๔ จัดให้มีศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น ณ ทําเนียบรัฐบาล เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทุกส่วนราชการ รับเรื่องร้องเรียนจาก ประชาชน และสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องให้กับสาธารณชน โดยเฉพาะในส่วนของมาตรการแก้ไขปัญหา จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในทุกมิติ รวมถึงจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึง ทุกกลุ่ม เพื่อสร้างการรับรู้ ตระหนัก และขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวง สาธารณสุขกําหนด โดยเฉพาะขั้นตอนการเฝ้าระวังและการป้องกัน


๑.๕ มอบหมายให้ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกันพิจารณาปริมาณความต้องการของสินค้าที่จําเป็นต่อการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น หน้ากากอนามัย และน้ํายาฆ่าเชื้อหรือเจลฆ่าเชื้อ และจัดหาให้
เพียงพอกับความต้องการดังกล่าวในแต่ละช่วงเวลา โดยควรจัดลําดับความสําคัญในการกระจาย สินค้าที่จําเป็นดังกล่าวตามระดับความเสี่ยงของบุคคล หน่วยงาน และสถานที่ เช่น สถานพยาบาล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มที่มีความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประชาชนทั่วไป


๑.๖ มอบหมายให้ กระทรวงพาณิชย์ ดําเนินการป้องกันการกักตุน และควบคุมราคาสินค้าที่ จําเป็นต่อการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น หน้ากาก อนามัย และน้ํายาฆ่าเชื้อหรือเจลฆ่าเชื้อ อย่างเคร่งครัด โดยครอบคลุมถึงช่องทางการขายสินค้า ออนไลน์
๑.๗ มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนิน มาตรการคัดกรองผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่งผู้โดยสาร และท่ารถ อย่างเคร่งครัด


๑.๘ ให้ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงาน ติดตามและดูแลคนไทยที่พํานัก อยู่ในประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ ประเทศเฝ้าระวัง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด อย่างใกล้ชิด


๑.๙ มอบหมายให้ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม จัดเตรียมสถานที่/พื้นที่สําหรับ สังเกตอาการในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย โรคระบาด หรือพาหะนําโรคตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด


๑.๑๐ ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องจัดหาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จําเป็นเพิ่มเติม ให้ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานสํานักงบประมาณ เพื่อขอรับจัดสรร งบประมาณเพิ่มเติม เพื่อให้มีเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ สําหรับดําเนินการอย่างเพียงพอ

 

นายกฯตู่สั่งการตรง ยกระดับมาตรการเร่งด่วน คุมไวรัสโควิด-19 นัดถกรับมือผีน้อยเรือนหมื่น หนีเกาหลีเผ่นกลับ

๑.๑๑ ให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหา โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ อย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์และ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงร่วมพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา


๑.๑๒ ให้ กระทรวงสาธารณสุข ดูแลบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม และจัดให้มีสวัสดิการพิเศษเพื่อสร้างขวัญและกําลังใจให้กับ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และครอบครัว


๑.๑๓ ให้ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อรองรับ การดําเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ หากมีความจําเป็น


๑.๑๔ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคเอกชนให้ หลีกเลี่ยง หรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจํานวนมาก และอาจมีความเสี่ยงต่อ การแพร่ระบาดของโรคโดยไม่จําเป็น เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดคอนเสิร์ต และการจัดมหรสพ เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่เป็นการดําเนินการของสถานประกอบการค้าตามปกติ ให้ดําเนินการตาม มาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่เป็น กิจกรรมที่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ ให้ผู้มีอํานาจอนุญาตพิจารณาความเหมาะสมของ กิจกรรมอย่างรอบคอบ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงต่อสาธารณชนโดยรวมต่อการแพร่ระบาดของโรคเป็น สําคัญ

๒. ด้านการบรรเทาผลกระทบที่เกี่ยวข้อง
มอบหมาย รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จัดทํามาตรการบรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเสนอคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาโดยเร็ว ก่อนนําเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งให้ข้อมูลและสื่อสารกับสาธารณชน เพื่อให้เกิด เอกภาพและสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชน ผ่านศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จะได้มีการจัดตั้งขึ้น ณ ทําเนียบรัฐบาล ในการดําเนินมาตรการ บรรเทาผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยครอบคลุมด้านต่างๆ ดังนี้ มาตรการทางภาษี มาตรการด้านสินเชื่อและพักชําระหนี้ มาตรการด้านงบประมาณ มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน มาตรการการจ้างงานและพัฒนา ทักษะ และมาตรการด้านสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นในชุมชน

 

นายกฯตู่สั่งการตรง ยกระดับมาตรการเร่งด่วน คุมไวรัสโควิด-19 นัดถกรับมือผีน้อยเรือนหมื่น หนีเกาหลีเผ่นกลับ

 

นายกฯตู่สั่งการตรง ยกระดับมาตรการเร่งด่วน คุมไวรัสโควิด-19 นัดถกรับมือผีน้อยเรือนหมื่น หนีเกาหลีเผ่นกลับ

 

นายกฯตู่สั่งการตรง ยกระดับมาตรการเร่งด่วน คุมไวรัสโควิด-19 นัดถกรับมือผีน้อยเรือนหมื่น หนีเกาหลีเผ่นกลับ