จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย

ครม.แต่งตั้ง พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร เป็นอธิบดี DSI คนใหม่ ประวัติผลงานปราบคดีใหญ่ยาวเหยียด แต่ต้องไม่ลืมว่าเป็นคีย์แมนสางคดีธรรมกาย

ถือเป็นข้อยุติในระดับสำคัญ  ภายหลังจากที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบ    ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอรับโอน พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผู้ตรวจราชการกระทรวง  สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม    ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)  โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย
 


โดยกรณีของการแต่งตั้งดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจาก ก่อนหน้านั้น   พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ ได้มีหนังสือเลขที่ ยธ 0822/พิเศษ ลงวันที่ 2 มี.ค.2563  แจ้งมีความประสงค์ขอลาออกจากราชการตั้งวันที่ 2 เม.ย 2563 เพื่อดูแลสุขภาพ    และกระทรวงยุติธรรมโดย  นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวง   ได้มีคำสั่งอนุญาต ให้พ.ต.อ.ไพสิฐ ลาออกจากราชการตามที่ยื่นคำขอ   ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินการ  ขอให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราขการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 113


ต่อจากนั้นกระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง  พ.ต.ท.กรวัชร์  ปานประภากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงให้ไปรักษาการในตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอ และเป็นที่คาดหมายว่า พ.ต.ท.กรวัชร์ เป็นตัวเต็งที่อยู่ในข่าย อาจให้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นอธิบดีดีเอสไอคนใหม่

 

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2563  ที่ผ่านมา  นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม   ได้ลงนามในหนังสือคำสั่งที่ 109/2563 ลงวันที่ 26 มี.ค.63   ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม  รักษาราชการแทนอธิบดี ดีเอสไอ   โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. 2563 และมีคำสั่งให้รองอธิบดีดีเอสไอ 4 คน สลับกันปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน ประกอบด้วย นพ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์  ,  พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล  ,  พ.ต.ท.สุภัทร์ ธรรมธนารักษ์ และ พ.ต.อ.อัครพล บุณโยปัษฏัมภ์


ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามว่าการยกเลิกคำสั่ง  พ.ต.ท.กรวัชร์  รักษาราชการแทนอธิบดี ดีเอสไอ   เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการอุทธรณ์มติของคณะอัยการ  ในคดีฟอกเงินธนาคารกรุงไทยของ นายพานทองแท้ ชินวัตร  หรือไม่  เนื่องจากเป็นช่วงคาบเกี่ยวเวลากัน  

 

ก่อนที่  นพ.ไตรยฤทธิ์   เตมหิวงศ์  รองอธิบดีดีเอสไอ  ในฐานะรักษาราชการอธิบดีดีเอสไอ  จะมีข้อสรุปให้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด ตามตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษฯ มาตรา 34  ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145   ให้วินิจฉัยข้อมูลทางคดีดังกล่าว  เพื่อร้องอุทธรณ์ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย


(คลิกอ่านข่าวประกอบ : เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย

 

สำหรับข้อมูลผลการทำงานของ  พ.ต.ท.กรวัชร์   เริ่มต้นปฏิบัติหน้าที่ในดีเอสไอ  ตั้งแต่ปี 2548   กับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 8  จากนั้นใน   ปี 2551 เลื่อนขึ้นเป็น ผอ.ส่วนคดีอาญาพิเศษ 1 สำนักคดีอาญาพิเศษ, ปี 2555  ก่อนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค  ,   ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ , ผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค , รองอธิบดีดีเอสไอ ,  ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม  และก้าวขึ้นเป็นอธิบดีดีเอสไอในปี 2563  

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย


ขณะที่ผลการปฏิบัติงานสำคัญ ๆ   ในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ  ประกอบด้วย

1) เป็นคณะพนักงานสอบสวนกรณี ขบวนการบุกรุกพื้นที่ อ.กะปง จ.พังงา (นายวัฒนา อัศวเหม)

2) เป็นคณะพนักงานสอบสวนกรณี นายทุนต่างชาติบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อ.เกาะยาว จ.พังงา

3) เป็นคณะพนักงานสอบสวนกรณี กลุ่มมาเฟียต่างชาติกรรโชกทรัพย์นักท่องเที่ยว อ.เกาะสมุย

4) เป็นคณะพนักงานสอบสวนกรณี นายทุนต่างชาติประกอบธุรกิจค้าที่ดินใน อ.เกาะสมุย

5) ร่วมคลี่คลาย กรณีการฆาตกรรมภรรยาอัยการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เหตุเกิด จ.ราชบุรี)

6) เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณี กลุ่มผู้มีอิทธิพลบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สามารถติดตามทรัพย์และที่ดินคืนให้รัฐสำเร็จ ขยายผลดำเนินคดีกับนักการเมืองท้องถิ่น

7) เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณี ขบวนการนำรถยนต์ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจดประกอบเป็นรถยนต์จากอุปกรณ์ชิ้นส่วนเก่า (ขบวนการรถจดประกอบ)

8) เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณี การหายตัวไปของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย (นายบิลลี่)


อย่างไรก็ตามลืมไม่ได้ว่า  พ.ต.ท.กรวัชร์  คือหนึ่งคีย์แมนสำคัญ ในการรับผิดชอบคดีที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพระธรรมกาย  ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่ง  ผบ.สำนักปฎิบัติการคดีพิเศษภาค  โดยเฉพาะการติดตาม ค้นหา  พระธัมมชโย  อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  ผู้ต้องหาหลบหนีคดีสมคบฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงิน   ทั้งในพื้นที่วัดพระธรรมกาย  และอีกหลายจุดต้องสงสัย  โดยเฉพาะบ้านพักหรู  บนยอดเขาในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าควนโต๊ะหลา และ แหลมซำ  อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย


นอกจากนี้ยังเป็นคณะทำงานด้านการสอบสวนคดี  ฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน  ที่ได้มาจากการยักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด  เช่นกรณีที่  นายอนันต์ อัศวโภคิน อดีตผู้บริหารบริษัทในเครือแลนด์แอนด์เฮาส์ พร้อมทนายความ เดินทางมาเข้าพบกับ  พ.ต.ท.กรวัชร์  ขณะดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีดีเอสไอ  เพื่อรับทราบข้อหาร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน ตามมาตรา 5 , มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542    จากการรับซื้อที่ดินจาก นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย


ตามข้อมูลของ "สำนักข่าวอิศรา"   ที่ปรากฎในคำสั่งอายัดทรัพย์ของปปง.  ว่า    ภายหลังจากบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด ได้รับเงินลงทุนของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร กับพวกแล้ว บริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน โฉนดเลขที่ 31344 ให้กับนายอนันต์ อัศวโภคิน ที่ดินเนื้อที่ 46-3-56.2 ไร่ ราคาไร่ละ 2,000,000 บาท เป็นเงิน 93,781,000 บาท


จากนั้น ได้ปรากฎว่ามีการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาถวายที่ดินของนายศุภชัย ให้กับ  พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เป็นการส่วนตัว  โดยมี  นายอนันต์ อัศวโภคิน ลงลายมือชื่อ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนพระเทพญาณมหามุนี และมีพยานลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าว เว้นแต่นายศุภชัย ไม่ได้ลงลายมือชื่อ


ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2558  นายอนันต์ ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บริษัทไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด ในราคา 492,350,250 บาท และได้รับเงินที่เหลือจากการขายที่ดิน จำนวน 468,731,250 บาท นำไปชำระหนี้ให้บริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด และหนี้อื่นบางส่วน โดยนำเงินส่วนใหญ่จำนวน 303,000,000 บาท ไปบริจาคให้มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เพื่อนำไปก่อสร้างอาคาร บุญรักษา


และแม้ว่าพนักงานอัยการจะได้มีหนังสือ  ลงวันที่ 30 กันยายน 2562   ส่งสำนวนการสอบสวนกลับไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 34 ว่าจะมีความเห็นแย้งในคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการหรือไม่  หลังจากพนักงานอัยการคดีพิเศษสรุปความเห็นว่า เห็นสมควรสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้ 


ปรากฎว่าทางด้าน  พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง  อธิบดีดีเอสไอ   ได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนคดีพิเศษที่ 10/2560 และความเห็นของพนักงานอัยการแล้ว มีความเห็นแตกต่างจากพนักงานอัยการ โดยเห็นว่าข้อเท็จจริงยังฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องไปแล้ว จึงได้มีความเห็นแย้งความเห็นของพนักงานอัยการให้ฟ้องนายอนันต์ฯ ตามข้อกล่าวหาส่งพนักงานอัยการแล้ว ทั้งนี้อยู่ที่อัยการสูงสุดจะพิจารณาว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง อันเป็นความเห็นชี้ขาดตามกฎหมาย


โดย เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2562   คณะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์กรณีทำความเห็นแย้งขอให้อัยการสูงสุด (อสส.) สั่งฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง คดียักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินจากการขายที่ดินดังกล่าว 

 

ระบุเนื้อหาว่า  สืบเนื่องจากกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ทำการสอบสวน กรณีกล่าวหาว่า นายอนันต์ อัศวโภคิน กระทำความผิดอาญาฐานร่วมกันสมคบฟอกเงินและฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีพิเศษที่ 10/2560 โดยคดีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการที่นายอนันต์ฯ รับซื้อที่ดินจากบริษัทเอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด

 

ทั้งนี้ทางการสอบสวนพบว่า นายศุภชัย ศรีศุภอักษร  อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ได้นำเงิน ที่ได้จากการทุจริตจากสหกรณ์ ฯ เข้ามาซื้อหุ้นของบริษัทและครอบงำการดำเนินธุรกิจของบริษัทดังกล่าว ภายหลังนายอนันต์ฯ มีการขายที่ดินและนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินส่วนหนึ่งบริจาคให้กับ  มูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และเก็บไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว โดยได้ดอกเบี้ย อีกส่วนหนึ่ง และต่อมาได้โอนเงินจำนวนดังกล่าวกลับไปยังบริษัทเอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด


โดยทางคดีมีความเห็นควรสั่งฟ้อง และส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ต่อมาพนักงานอัยการ ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 30 กันยายน 2562 ส่งสำนวนการสอบสวนกลับมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อให้พิจารณาตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 34 ว่าจะมีความเห็นแย้งในคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการหรือไม่


ล่าสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนคดีพิเศษที่ 10/2560 และความเห็นของพนักงานอัยการแล้ว มีความเห็นแตกต่างจากพนักงานอัยการ  โดยเห็นว่าข้อเท็จจริงยังฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำความผิดตามที่ได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องไปแล้ว  จึงได้มีความเห็นแย้งความเห็นของพนักงานอัยการให้ฟ้องนายอนันต์ฯ ตามข้อกล่าวหาส่งพนักงานอัยการแล้ว   ทั้งนี้ อยู่ที่อัยการสูงสุดจะพิจารณาว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง อันเป็นความเห็นชี้ขาดตามกฎหมาย    

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย


ประเด็นสำคัญ เป็นอีกหนึ่งคดีใหญ่ที่สังคมไทย กำลังจับตามองว่า  นายวงศ์สกุล  กิตติพรหมวงศ์   อัยการสูงสุด   จะตัดสินใจอย่างไร  

 

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย

นายวงศ์สกุล  กิตติพรหมวงศ์   อัยการสูงสุด

 

หลังจากดีเอสไอ  ในยุคที่มีผู้บังคับบัญชาสูงสุด ชื่อ   พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร     เพิ่งส่งความเห็นแย้ง  ในคดีโอ๊ค พานทองแท้   มีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน    ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60  และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ,   จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน   ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร ??  

จับตา พ.ต.ท.กรวัชร์  อธิบดี DSI คนใหม่  มือปราบฟอกเงิน ทำไงต่อคดีค้างเก่าโยงธรรมกาย

(คลิกอ่านข่าวประกอบ  :  ดีเอสไอทำไง ?? เมื่อ"สมศักดิ์" รมว.ยุติธรรมเป็นลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ที่มีคดีค้างอยู่กว่าร้อย )