วัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์   ยื่นคำร้องปปช.เอาผิดอัยการสูงสุด คณะทำงานคดี โอ๊ค พานทองแท้ ฟอกเงินกรุงไทย


กลายเป็นคดีอาญาสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ  แต่สุดท้าย  นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์  อัยการสูงสุด   โดยการใช้อำนาจรักษาราชการแทนของรองอัยการสูงสุด ของ  นายเนตร นาคสุข  กลับเลือกยุติกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด  ด้วยการไม่อุทธรณ์คำพิพากษากรณี นายพานทองแท้ ชินวัตร  หรือ โอ๊ค  ลูกชาย นายทักษิณ ชินวัตร  ถูกกล่าวหากระทำความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน   และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ,91  จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน   ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร   หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง ทั้ง ๆ ที่กรณีดังกล่าวมีประเด็นพิจารณาในขั้นตอนการอ่านคำพิพากษา   เนื่องจากองค์คณะผู้พิพากษา 2 ท่าน และมีความเห็นแย้งกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสมควรยกฟ้อง อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสมควรจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา   

 

วัชระ ยื่นร้องปปช.เอาผิดอสส. ทีมอัยการ ข้องใจหนักทำไมไม่อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน


(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ทีมกม.พลังธรรมใหม่ ยื่นร้องศาลปค.เพิกถอนคำสั่งอสส. อ้างติดภารกิจ ปล่อยรองฯเซ็นไม่อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน


ล่าสุด  นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์   ซึ่งเคยเข้ายื่นหนังสือถึง  นายวงศ์สกุล   อัยการสูงสุด  เพื่อขอส่งความเห็นแย้งของผู้พิพากษา   เจ้าของสํานวนคดีที่ตัดสินลงโทษจําคุก 4 ปี  นายพานทองแท้ในคดีฟอกเงินดังกล่าว   และขอทราบเหตุผลรายละเอียดการไม่อุทธรณ์คดี  รวมทั้งขอให้มีการเปิดเผยรายชื่ออัยการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในคดี   แยกเป็น  6 ประเด็นสำคัญ  

 

เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  หรือ ป.ป.ช.   ให้ดำเนินคดีกับพนักงานอัยการ  คณะทำงาน รองอัยการสูงสุด  รวมถึงอัยการสูงสุดกับพวก  ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามกฎหมายอาญา ม. 157 และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี กระทำการอย่างใดๆ ในตำแหน่งอันมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลงตามกฎหมายอาญา ม. 200 จากกรณีที่มีความเห็นไม่อุทธรณ์ต่อศาลสูงคดีนายพานทองแท้ ชินวัตร ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน 

 

วัชระ ยื่นร้องปปช.เอาผิดอสส. ทีมอัยการ ข้องใจหนักทำไมไม่อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  จับตา 2 แรงบวก ดีเอสไอร้องอสส.อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน วัชระ ซ้ำอีกดาบ ศาลเคยสั่งลงโทษ

ทั้งนี้   นายวัชระ  ระบุว่า กรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตัดสินยกฟ้องในคดีความผิดของ นายโอ๊ค พานทองแท้   แต่ด้วยข้อเท็จจริงมีผู้พิพากษาที่เป็นหัวหน้าคณะได้ทำความเห็นแย้งไว้  โดยพิพากษาให้ลงโทษจำคุกนายพานทองแท้ 4 ปี  และคณะทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ  หรือ ดีเอสไอ  มีมติว่าให้อุทธรณ์คดีต่อ   จึงสมควรที่ทางอัยการสูงสุดจะต้องอุทธรณ์คดีต่อศาลสูง   เพื่อวินิจฉัยให้คดีดังกล่าวสิ้นกระแสความสงสัยต่อสาธารณชน  แต่คดีนี้อัยการสูงสุดกลับมีความเห็นว่าไม่อุทธรณ์คดีต่อ   จึงถือเป็นการใช้ดุลพินิจที่ขัดกับดุลพินิจที่สั่งฟ้องในตอนเริ่มคดี 

 

วัชระ ยื่นร้องปปช.เอาผิดอสส. ทีมอัยการ ข้องใจหนักทำไมไม่อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน

 

เพราะตอนเริ่มคดีพนักงานอัยการต้องเห็นว่าจำเลยมีความผิดจริง จึงฟ้องคดี การที่มีความเห็นไม่อุทธรณ์ต่อ และให้ความเห็นว่าเห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาล แสดงให้เห็นว่าอัยการรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด แต่ใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องกลั่นแกล้งจำเลยเพื่อให้ได้รับโทษทางอาญาหรือไม่ การใช้ดุลพินิจที่ขัดกันในการสั่งคดีเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและประชาชน ไม่ได้ตั้งอยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล และไม่เป็นไปตามหลักปฏิบัติของอัยการ 

 


ขณะเดียวกัน  นายวัชระ  ยังได้แนบฎีกาคดีต่างๆในการใช้ดุลพินิจของอัยการที่ไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกา   สำหรับการดำเนินคดีกับตระกูลชินวัตร ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการดำเนินคดีกับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีหลายคดีที่ควรจะจบและถึงที่สุดไปตั้งแต่ในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์แล้ว แต่อัยการกลับยื่นฎีกา ทั้งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ส่วนการดำเนินคดีกับบุคคลในตระกูลชินวัตรซึ่งเป็นความผิดต่อแผ่นดิน โดยมีราชการเป็นผู้เสียหายและการฎีกาคดีตระกูลชินวัตรจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่พนักงานอัยการจะทำให้คดีถึงที่สุดเพียงแค่ชั้นอุทธรณ์เท่านั้น 

 

วัชระ ยื่นร้องปปช.เอาผิดอสส. ทีมอัยการ ข้องใจหนักทำไมไม่อุทธรณ์คดีโอ๊คฟอกเงิน

 

ขณะที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.สามารถไต่สวนตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของอัยการในคดีทั่วไปของประชาชน เพื่อใช้เปรียบเทียบกับการใช้ดุลพินิจ  ในการสั่งคดีของอัยการในคดีของตระกูลชินวัตร ก็จะเห็นถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายในการสั่งคดีของอัยการได้ การกระทำของอัยการเปรียบเสมือนกับการตัดตอนความยุติธรรมมิให้นำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูง ซึ่งมิอาจยอมรับได้ จึงต้องยื่นเรื่องให้ป.ป.ช.วินิจฉัยเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป