ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19

ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังชาติไทย ฐานะ ประธานคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ใน คณะกรรมาธิการขุดคลองไทยฯ สภาผู้แทนราษฎร พร้อม นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคไทยศรีวิไลย์ ฐานะ โฆษกคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม ความมั่นคงและการเมือง ใน คณะกรรมาธิการขุดคลองไทยฯ สภาผู้แทนราษฏร,นางสาวภคอร จันทรคณา รองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และคณะฯ ได้เดินทางลงพื้นที่พบปะประชาชน กว่า 6 จุด 5 จังหวัด อาทิ ณ สมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา สาขา จ.ตรัง ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยมี นายทัศชัย อินทรวิเศษ นายกสมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา สาขา จ.ตรัง และกรรมการคลองไทยฯ ตรัง ผู้นำชุมชนในพื้นที่ร่วมต้อนรับ เพื่อศึกษาพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามแนวพื้นที่คลองไทย 9 A พาดผ่าน (กระบี่ , ตรัง , นครศรีฯ , พัทลุง และสงขลา) เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำรายงานในทุกด้าน ก่อนนำเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และส่งความเห็นไปที่คณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการศึกษาเชิงลึกอย่างจริงจัง
 

ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19

โดย พล.ต.ทรงกลด กล่าวว่า การลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้เพื่อให้ได้คำตอบและแนวทางในการดำเนินการขุดคลองไทย และการพัฒนาพื้นที่รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พึงได้รับอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ มีการแจกแบบสอบถาม การเตรียมการเดินหน้าผลักดันโครงการขุดคลองไทย ให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ จะนำข้อมูลเสนอไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎร ต่อไป และในห้วงวันที่ 11 – 12 ก.ค.63 ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทน จะเดินทางลงพื้นที่ 5 จังหวัดแนวคลองไทย เพื่อศึกษาข้อมูลตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ จากการถามความคิดเห็นของประชาชนที่มาร่วมรับฟังต่างยกมือสนับสนุน โดยเห็นว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาพรวมทั้งในระดับพื้นที่ ภาคใต้และของประเทศ

ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19

พล.ต.ทรงกลด กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบว่าส่วนใหญ่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ประชาชนเห็นด้วยที่จะให้ขุดคลองไทย แต่ก็มีคนที่สงสัยอยู่บ้าง ก็เปิดให้มีการซักถาม ทั้งนี้ ทุกคนอยากให้เกิดโดยเร็วที่สุดภายใน 3 ปี หลังจากนี้คณะอนุกรรมาธิการฯจะเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน และคณะกรรมาธิการวิสามัญฯจะเดินทางลงพื้นที่ภาคใต้อีกครั้งในวันที่ 11 – 12 กรกฎาคมนี้

“ทั้งนี้ ตั้งเป้าจะเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเชื่อว่าหากประกาศเป็นวาระแห่งชาตินักลงทุนจะหลั่งไหลเข้ามา เศรษฐกิจก็หมุนเวียนและดีขึ้นทั่วประเทศ เชื่อมั่นว่าจะสามารถประกาศได้ในรัฐบาลนี้ แม้จะมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้พรรคพลังประชารัฐเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรค และการทำงานแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด รัฐบาลอาจจะได้รับความนิยมในการแก้ปัญหา แต่ตนเองซึ่งร่วมรัฐบาลด้วย ก็เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะอยู่ครบ 4 ปี จะไม่ยุบสภาเลือกตั้งใหม่แน่นอน ดังนั้น จะเร่งผลักดันให้รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติให้ได้ และส่วนตัวจะร่วมทีมเป็นคณะทำงานชุดใหญ่เกี่ยวกับคลองไทยในอนาคต จึงจะผลักดันอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่พบว่าผลตอบรับดีมากประชาชนเห็นด้วย ส่วนที่มีคนบอกว่าไม่เอา ไม่เป็นความจริง และเชื่อว่าหากมีความมุ่งมั่น และที่สำคัญประชาชนคนในพื้นที่เอาด้วย เชื่อว่าการขุดคลองไทยจะสำเร็จอย่างแน่นอน” พล.ต.ทรงกลด กล่าว

ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19

ด้านนายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า การผลักดันการขุดคลองไทยมีแนวคิดตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 27 ของกรุงศรีอยุธยา มีมากว่า 300 กว่าปีแล้ว ช่วง หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2488 ไทยได้ทำสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักรไว้ว่า ในข้อ 7. รัฐบาลไทยรับว่า จะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตไทย เชื่อมมหาสมุทรอินเดีย กับอ่าวไทย โดยที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรมิได้เห็นพ้องด้วยก่อน ต่อมา วุฒิสภา ชุดที่ 8(พ.ศ.2543-2548) ได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ วุฒิสภา ได้ข้อสรุปว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยถ้าจะขุดก็ต้องเส้นทาง 9A เหมาะสมสุด จวบจนปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฏร ชุดที่ 25 ได้ร่วมกันผลักดันอีกรอบ จึงได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ สภาผู้แทนราษฏร เพื่อทำข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้รอบด้าน อย่างรวดเร็ว

“ปัจจุบัน ประเทศไทยช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการผลักดันเรื่องการขุดคลองไทยมาอย่างเป็นรูปธรรม มีข้อขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ระหว่างตัวแทนประเทศมหาอำนาจ เพราะจะเสียผลประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศไทย แต่แฟคเตอร์ทางการปรับตัวทางเศรษฐกิจหลังที่ทุกประเทศประสบวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ถึงปัจจุบัน แม้ประชาชนในประเทศไทยจะไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วแต่ต่างประเทศยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ทะลุ 10 ล้านคนไปแล้ว ธุรกิจภายในประเทศเป็นอัมพาตกว่า 5 เดือน ธุรกิจการท่องเที่ยวพับไปกว่า 6 เดือนแล้ว นักท่องเที่ยวหายไปกว่า 20 ล้านคน เงินรายรับหายไปจากระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ไม่นับรวมการส่งออกรถยนต์ในประเทศและต่างประเทศทรุดไปกว่า 70% ทำให้รายรับประมาณการปี 63 จะหายไปจากระบบกว่า 7 แสนล้านบาท แน่นอนภาษีเข้ารัฐบาลไทยจะต้องหดหายไปกว่า 2 แสนล้านบาท เป็นแน่ในงบประมาณรายรับปี63 ทำหนี้สาธารณะเพิ่มจาก 7.0 ล้านล้านบาท เดิม กู้อีก 1.0 ล้านล้านบาท NPL เงินกู้จาก soft loan สัก 1.5 แสนล้านบาท NPL จากหุ้นกู้ 2 แสนล้านบาท กู้เพิ่มขาดดุลงบประมาณปี63 อีกกว่า 2 แสนล้านบาท กู้ขาดดุลงบประมาณปี64 อีกกว่า 6.5 แสนล้านบาท รวมประมาณการหนี้สาธารณะ 9.2 ล้านล้านบาท ถ้าเทียบ GDP62 ก็มีหนี้กว่า 58% เกือบชนเพดาน 60% ของการกู้เงิน อีกทั้งการกู้เงินมาชดเชยเยียวยาประชาชนทุกสาขาอาชีพ จะครบ 3 เดือนๆนี้แล้ว หลักจากนี้จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจปากท้องอย่างรุนแรง เราไม่มีทางเลือกมากนัก การขุดคลองไทย จะเป็นเมกะโปรเจคการลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท เป็นแบบ PPP(Public-Private Partnership) แบบให้สัมปทานแบ่งรายได้ 20-30 ปี เก็บค่าผ่านทางเดินเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ยังมีธุรกิจต่อเนื่องไม่ว่า ธุรกิจการขนส่งสินค้าข้ามทวีป 2 ฝั่งทะเล เมืองท่า โรงแรม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ เส้นทางสายใหม่แห่งอารธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น 2 ฝั่งทะเล ยาวกว่า 129 กิโลเมตร ถ้าเราตั้งใจทำการศึกษารอบด้านให้เสร็จในปี 63 และลงมือก่อสร้างปี 64 ให้เสร็จในปี 67 ในช่วง 3 ปี ก็จะมีการจ้างงาน เวนคืนที่ดิน ลงทุนก่อสร้าง มูลค่าเพิ่มของที่ดิน 2 ฝั่งคลองไทยระยะทางกว่า 258 กิโลเมตร อย่างน้อยระยะเวลารอมีวัคซีนแก้โควิด-19 ก็น่าจะสินปี64 เรายังมีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในประเทศขนาดใหญ่ เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากการท่องเที่ยธุรกิจอื่นๆได้พอสมควรประมาณปีละ 7 แสนล้านบาท ถ้าสร้างเสร็จเมื่อใด จะมีเงินหมุนเวียนเข้าประเทศไทยไม่น้อยกว่าปีละ 4 ล้านล้านบาท ภาษีไม่น้อยกว่าปีละ 8 แสนล้านบาท ก็จะทำให้ประเทศไทยอยู่ได้ ประชาชนไทยมีรายได้สูง ลูกหลานไทยมีงานทำ ” นายมงคลกิตติ์ กล่าว

ทรงกลด จับมือ พี่เต้ พระราม 7 ลงพื้นที่ภาคใต้ ฟังความคิดเห็น ปชช. ผลักดัน ขุดคลองไทย หลังวิกฤตโควิด-19