กิตติธัช ซัดหนัก อานนท์  หยุดมั่วกล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์

ดร.กิตติธัช แจงละเอียด โต้กลับอานนท์ เดินสายปราศรัยกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ หวังผลการเมือง


ถึงแม้จะได้รับการประกันตัว เพราะตัดสินใจพลิกคำพูดก่อนหน้า  ว่าพร้อมจะติดคุก    และประกาศจะยังคงร่วมชุมนุมทางการเมือง เฉพาะที่ไม่ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  รวมถึงมีลักษณะยุยง  ปลุกระดม   แต่ปรากฎว่า นายอานนท์  นำภา  แกนนำพลเมืองโต้กลับ  แสดงทีท่าจะนำประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์  มาเป็นประเด็นปราศรัยต่อไป   ขณะที่ นายปิยบุตร  แสงกนกกุล  แกนนำคณะก้าวหน้า และ อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่  ก็วิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรม  ว่าพยายามจะจำกัดสิทธิเสรีภาพ การแสดงออกในประเด็นดังกล่าว 

 

กิตติธัช ซัดหนัก อานนท์  หยุดมั่วกล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  อานนท์เปิดใจหลังรอดคุก ปิยบุตรแขวะศาล โดนใช้เป็นเครื่องมือปิดปาก วิจารณ์สถาบันฯ

ล่าสุดในเพจฟซบุ๊กของ  ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์   นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง  ได้นำเสนอชุดความคิดอีกด้าน  เพื่อประกอบการพิจารณาในพฤติกรรมของนายอานนท์ และ พวกที่พยายามเชื่อมโยงการชุมนุมทางการเมือง  โดยการหยิบยกประเด็นเรื่องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์  มาเป็นหัวข้อการปลุกระดมมวลชน  แฝงเร้นอยู่ในข้อเรียกร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

" เลิกอ้าง/เลิกโทษสถาบันกษัตริย์
เพื่อประโยชน์ทางการเมืองเสียที
----------------------
ข้อกล่าวหาของอานนท์ต่อสถาบันกษัตริย์
----------------------
ก่อนที่นาย อานนท์ นำภาจะโดนจับนั้น 
เขาได้กล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า
- กำลังขยายอำนาจจนเกินขอบเขต
- เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย
โดยการอ้าง 4 เรื่องสำคัญคือ 
1. การแก้ไข รธน.ในรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
2. การแก้ไข กฎหมายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปี 2560 ในเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
3. พ.ร.ก.ย้ายบางส่วนกองทัพเป็นของพระมหากษัตริย์
4. พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563

อานนท์และพวก   ยกประเด็นทั้ง 4 ข้อขึ้นมากล่าวหาว่า พระมหากษัตริย์กำลังเป็นภัยคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย และไทยจะกลายเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช หากปล่อยไว้แบบนี้

 

กิตติธัช ซัดหนัก อานนท์  หยุดมั่วกล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์

ข้อเท็จจริง
----------------------
1. เนื้อหาหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญเบื้องต้น ไม่มีอะไรเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชน เนื้อหาแทบทั้งหมดเป็นเรื่องภายใน เช่น การตั้งผู้สำเร็จราชการ การปฏิญาณตน องคมนตรีไม่ต้องเป็นราชการ ฯลฯ
และมาตรา 5 ที่ระบุว่าหากมีปัญหาทางการเมืองแล้วแก้ไขไม่ได้ พระมหากษัตริย์สามารถใช้อำนาจในการแก้ไขตามราชประเพณีได้ ซึ่งข้อนี้มีมาตั้งแต่ รธน.ปี 2540 ในฉบับที่หลายคนชอบอ้างว่าเป็นฉบับประชาชน
และในปี 2535 พฤษทมิฬ ก็เห็นได้ชัดว่าในหลวง ร.9 ทรงใช้อำนาจยุติความขัดแย้งระหว่างการเมืองสองฝ่าย ทำให้คนไทยไม่ต้องเข่นฆ่าทำร้ายซึ่งกันและกัน
.......................
2. เรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นอีกเรื่องที่ตั้งแต่เปลี่ยนรัชกาลแล้วมีความชัดเจนที่สุดตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเลย คือ แต่เดิมหลัง 2475 คณะราษฎรแยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้มีสถานะเหมือนทรัพย์สินแผ่นดิน และไม่ต้องเสียภาษี
ซึ่งกลายมาเป็นจุดอ่อนให้บางกลุ่มโจมตีเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสียภาษี (ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์เสียอยู่แล้ว)
เมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาล ในหลวง ร.10 ทรงมีพระราชประสงค์ให้แก้ เพื่อความชัดเจน โดยยุติสถานะทรัพย์สินแผ่นดิน แล้วแก้กฎหมายในทรัพย์สินนี้ต้อง "เสียภาษี" ให้แผ่นดิน ดังเช่นกิจการเอกชนอื่นๆ
ส่งผลให้ประเทศชาติได้ประโยชน์จากภาษีดังกล่าวอีกจำนวนไม่น้อย
.......................
3. พ.ร.ก.โยกย้ายกำลังพล ที่มีประเด็นเรื่องพรรคอนาคตใหม่ ยกมือคัดค้านอยู่พรรคเดียวในสภา (ยกเว้น ส.ส.บางคน ที่ภายหลังโดนขับไล่พ้นพรรค) เมื่อปีที่แล้วนั้น
เนื้อหา พ.ร.ก.เป็นการโยกเอา "ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"  จากกรมทหารราบที่ 1 และ 11 ซึ่งกระจายอยู่ มาอยู่ในหน่วยรักษาพระองค์แทน 
โดยไม่มีการไปของบเพิ่ม หรือเพิ่มกำลังพลแต่ประการใด และหน้าที่ของทั้งสองหน่วยนี้ก็คือรักษาพระองค์อยู่แล้ว
ซึ่งเป็นเรื่องดีเสียอีกที่ทำให้เกิด "บูรณาการและลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน" ในการบริหารราชการแผ่นดิน
.......................
4. พ.ร.บ.งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันฯ จำนวน 3 หมื่นล้าน ต้องแยกเป็น 2 ประเด็น 
อันแรก งบหลักจำนวน 1.9 หมื่นล้าน เพื่อรักษาความปลอดภัย ดูแลและเทิดพระเกียรติตามงานพิธีหรือการรับแขกบ้านแขกเมืองของประมุขของรัฐนั้น มีในทุกประเทศ 
(และมีมาตลอดอยู่แล้วในทุกรัฐบาล ทุกสมัย ก็ไม่เคยเห็นมีประเด็นอะไร ไม่ว่าจะยุคชวน บรรหาร ทักษิณ สมัคร อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ และคนก่อนๆ หน้านี้)
อีกส่วนที่เป็นงบเพื่อให้ส่วนราชการนำไปใช้ในการเทิดพระเกียรติ อันนี้สามารถถกเถียงในเรื่องความเหมาะสมได้ "ตามกลไกของรัฐสภา" เรามี ส.ส. เรามีผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ถกเถียง แย้ง และปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ในสภาฯ
แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่อง "ขยายอำนาจจนเกินขอบเขต" ดังที่อานนท์ และพวกพ้องนำมากล่าวหาสถาบันกษัตริย์แต่ประการใด
----------------------
อย่ากล่าวหาสถาบันฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือล้มรัฐบาล
----------------------

 

กิตติธัช ซัดหนัก อานนท์  หยุดมั่วกล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์


*** หากอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้น ให้สง่างามขึ้น ก็ทำไปครับ หารือและต่อสู้ตามกระบวนการ
วันนี้เรามี ส.ส. ตามระบอบประชาธิปไตย เราก็ต้องใช้กระบวนการสภาฯ ในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกลไกในสภาเพื่อให้ได้ข้อยุติที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันและเดินหน้าประเทศต่อได้
*** แต่อย่าเอาสถาบันกษัตริย์มาใช้เป็นเครื่องมือ แล้วก็หยุดการกล่าวหา กล่าวโทษสถาบันกษัตริย์ได้แล้ว 

 

กิตติธัช ซัดหนัก อานนท์  หยุดมั่วกล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์


สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว ทุกวันนี้การบริหารราชการแผ่นดิน ก็ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร การเข้ากฎหมายก็ผ่านทางกรรมาธิการในสภาฯ 
ดังนั้นเลิกใช้มุกป้ายสี ถาบันกษัตริย์ให้เป็น "ปีศาจร้าย" แล้วชูตัวเองเป็นฮีโร่ผู้ปลดปล่อยเสียทีเถอะครับ
------------------------
ป.ล.การดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ เป็นเรื่องถกเถียงพูดคุยกันได้ แต่ต้องกระทำบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ และการเล่าความจริงที่ครบถ้วน ไม่ใช่การปั่นจากความจริงเสี้ยวเดียวหรือเล่นวาทกรรมทางการเมือง  และทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นรอยัลลิสท์ หรือพูดแต่เทิดทูนสถาบันฯ แต่ทุกการวิเคราะห์วิพากษ์นั้น ควรจะอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นที่ตั้งเสมอ