อดีตรองอธิการบดีมธ.  ยก 9 ข้อ วัดข้อดีจุดด้อย รัฐบาล นายกฯตู่ อ่านกันชัดๆ ทำไมฟังไม่ขึ้น

ล่าสุด รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า "แม้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่ใช่รัฐบาลที่ประชาชนไฝ่ฝันอยากได้ แต่อย่างไรก็ยังไม่ถึงกับเลวร้ายในขั้นที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามอยู่ทุกวันในขณะนี้ ดูเหมือนว่า สิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เป็นอยู่ในประเทศไทย เช่นรถเมล์ รถไฟ น้ำท่วม ความไม่เป็นระเบียบของบ้านเมือง การทุจริตคอรัปชั่น เศรษฐกิจฝืดเคือง ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนโยนความผิดมาให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ทั้งสิ้น 

ก่อนหน้านี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์   เตรียมเสนอร่างของพรรคฯแยกออกจากพรรคร่วมรัฐบาลในสัปดาห์หน้า ว่า เรื่องนี้เคยพูดไปแล้วก็เป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรค ต่างคนต่างทำแยกกันไป ทำนองนี้ก็แล้วแต่พวกท่านจะแก้อย่างไรก็แก้มา แต่อย่าลืมว่าขั้นตอนของกฎหมายว่าอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น ซึ่งบางช่วงตอน พล.อ.ประยุทธ์ ได้แอบตัดพ้อว่า จะรับผิดชอบ จนกว่าไม่ได้อยู่ทำหน้าที่

 

อดีตรองอธิการบดีมธ.  ยก 9 ข้อ วัดข้อดีจุดด้อย รัฐบาล นายกฯตู่ อ่านกันชัดๆ ทำไมฟังไม่ขึ้น

อ่านข่าว - ช่วงระยะปัญหาถาโถม! นายกฯตู่ไม่ขัดปชป.แยกชงแก้รธน. ย้อนถามทำไมไม่ควรมีสว.  เริ่มบ่นพ้อ..จะรับผิดชอบ จนกว่าไม่ได้อยู่ทำหน้าที่

ล่าสุด รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า "แม้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะไม่ใช่รัฐบาลที่ประชาชนไฝ่ฝันอยากได้ แต่อย่างไรก็ยังไม่ถึงกับเลวร้ายในขั้นที่ถูกกล่าวหาจากฝ่ายตรงข้ามอยู่ทุกวันในขณะนี้ ดูเหมือนว่า สิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เป็นอยู่ในประเทศไทย เช่นรถเมล์ รถไฟ น้ำท่วม ความไม่เป็นระเบียบของบ้านเมือง การทุจริตคอรัปชั่น เศรษฐกิจฝืดเคือง ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนโยนความผิดมาให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ทั้งสิ้น 


วันนี้จะขอตอบคำถามต่างๆที่หลายคนอาจมีในใจ เกี่ยวกับสิ่งที่ฝ่ายค้านและกลุ่มเยาวชน หรือประชาชนปลดแอกก็ตามโจมตีและเรียกร้องจากรัฐบาลชุดนี้ และจะพยายามตอบอย่างเป็นกลางที่สุดเท่าที่จะทำได้
1. การรัฐประหารเมื่อปี 2557 โดย คสช. เป็นสิ่งเลวร้ายหรือไม่
การทำรัฐประหาร โดยตัวของมันเองเป็นเรื่องที่ต้องถูกประณาม แต่ก่อนที่จะประณามการทำรัฐประหารปี 2557 ต้องคำนึงด้วยว่า  ทหารใช้เหตุผลใดในการทำรัฐประหารครั้งนั้น หลังจากที่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล พยายามจะผ่าน พรบ นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย หรือฉบับเหมาเข่ง ประชาชาชนเป็นล้านๆออกมาประท้วง จึงทำให้พรบ ฉบับนั้นตกไป 


นอกจากการพยายามผ่าน พรบ. นิรโทษกรรมสุดซอยแล้ว ยังมีกรณีทุจริตจำนำข้าวที่ทำความเสียหายต่อประเทศชาติกว่า 5 แสนล้านบาท
ต่อมาการประท้วงขยายผลออกไป เป็นการเรียกร้องให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ รับผิดชอบด้วยการ ลาออก แต่คุณยิ่งลักษณ์ไม่ลาออก แต่เลือกที่จะยุบสภา เพราะรู้ดีว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ ตัวเองจะได้กลับมาเป็นนายกฯอีก


กลุ่มผู้ประท้วงจึงพยายามขัดขวางการเลือกตั้ง สถานการณ์ตอนนั้นจึงมีความวุ่นวายอย่างหนัก แม้ไม่มีการสลายการชุมนุม แต่ก็มีคนบางกลุ่ม ไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร วางระเบิด และมีการใช้อาวุธ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย บาดเจ็บกว่า 200 ราย กระนั้นคุณยิ่งลักษณ์ ก็ยังคงปฏิเสธที่จะลาออก 
สุดท้าย เมื่อรัฐบาลรักษาการ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ กองทัพจึงเชิญทุกฝ่ายร่วมหารือที่ สโมสรทหารบก และมีการขอให้นายกฯรักษาการ ซึ่งขณะนั้นคือ คุณชัยเกษม นิติสิริ ลาออก แต่ยังคงได้รับการปฏิเสธเช่นเดิม การรัฐประหารจึงเกิดขึ้น


หากคุณยิ่งลักษณ์ ยอมลาออก หรือสุดท้ายคุณชัยเกษม ยอมลาออก ทหาร ต่อให้อยากทำรัฐประหารสักแค่ไหน ก็ไม่อาจทำได้ หากนายกฯรักษาการไม่ลาออก และไม่มีการทำรัฐประหาร ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ทั้งในขณะนั้น และในปัจจุบัน


2. รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลเผด็จการหรือไม่
รัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่มาจากการทำรัฐประหารเหมือนรัฐบาล คสช. นายกรัฐมนตรี แม้ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่เป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี จากพรรคพลังประชารัฐก่อนการเลือกตั้ง ตามกติกาในรัฐธรรมนูญ ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทุกคนทราบดีว่า หากลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ก็จะได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ดังนั้นจะบอกว่า นายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจาก ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน คงไม่ได้ รัฐบาลนี้จึงไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการ


3. รัฐบาลนี้มาจากการสืบทอดอำนาจของคสช หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจของคสช แต่ก็เป็นการสืบทอดอำนาจโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งคุณทักษิณ ชินวัตร ก็เคยส่งคุณสมัคร สุนทรเวช น้องเขย และน้องสาว ไปเป็นนายกรัฐมนตรี นอมินี ผ่านการเลือกตั้ง เช่นเดียวกัน แต่นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง จนทุกวันนี้ คุณทักษิณ ก็ยังคงมีอำนาจเหนือพรรคเพื่อไทย และในฝ่ายค้านอีกหลายพรรค


4. รัฐบาลนี้ทำให้ประเทศไทยตกต่ำ ถอยหลังอย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวหาจริงหรือไม่
พรรคพลังประชารัฐเกิดจากการรวมตัวของนักการเมืองหน้าเก่าๆเป็นส่วนใหญ่ และมีจำนวนไม่น้อย ที่เป็นนักการเมืองที่ยึดประโยชน์ส่วนตนและของพรรคก่อนประโยชน์ส่วนรวม  ใครจะเป็นรัฐมนตรี จึงเป็นผลจากการต่อรองระหว่างนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองในพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองต่างๆที่ร่วมรัฐบาล ดังนั้นการที่จะมีรัฐมนตรีที่เป็นคนดี และมี ความสามารถเหมาะสม ในทุกกระทรวงจึงเป็นไปไม่ได้

 

อดีตรองอธิการบดีมธ.  ยก 9 ข้อ วัดข้อดีจุดด้อย รัฐบาล นายกฯตู่ อ่านกันชัดๆ ทำไมฟังไม่ขึ้น

การที่มีนักการเมืองรุ่นเก่าๆจำนวนมากมาเป็นรัฐมนตรี จึงไม่น่าเชื่อว่าจะไม่มีการทุจริตคอรัปชั่น เพียงแต่ยังไม่มีปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนเท่านั้น
รัฐบาลนี้จัดการปัญหา โควิดได้ดี จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก แต่ล้มเหลวเรื่องการปฏิรูปประเทศ ตามที่ได้สัญญาไว้กับประชาชน 
ผลงานการปฏิรูปมีเพียงการตั้งกรรมการมากมายหลายชุด ที่สิ้นเปลืองงบประมาณ และมีผลงานเพียงอยู่บนแผ่นกระดาษ ไม่มีผลงานเป็นรูปธรรมแม้แต่น้อย ที่น่าผิดหวังที่สุดคือการปฏิรูปตำรวจ
ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลได้สร้างผลงานได้มากพอควร เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่เริ่มตั้งแต่รัฐบาล คสช การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร แทนที่จะเป็นการรับจำนำ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นต่างๆ ที่ได้ผลพอควร การพัฒนาระบบคมนาคมต่างๆ ทั้งที่สานต่อ และริเริ่มในรัฐบาลนี้ ก็ต้องถือว่าทำได้ดีพอควร เช่น รถไฟฟ้า การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเส้นทาง เชื่อมต่อระหว่างสนามบิน รถไฟความเร็วสูง ที่เริ่มต้นไปแล้ว เป็นต้น


โชคร้ายที่เกิดวิกฤตการโควิดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก การที่เศรษฐกิจชะงักงันอยู่ในขณะนี้ จึงไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลนี้ทั้งหมด ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่หมักหมมที่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เช่น ปัญหารถติด ปัญหาการขาดทุนสะสมของ ขสมก และการรถไฟ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น 

5. ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่
รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดอ่อนตรงที่มีบทเฉพาะกาลที่ทำให้คสช ได้เปรียบในการเลือกนายกรัฐมนตรี ตรงที่สมาชิกวุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มีสิทธิลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี จึงสมควรต้องแก้ไขอย่างน้อยในประเด็นนี้  เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้ผ่านการทำประชามติ โดยมีผู้ลงคะแนนให้ความเห็นชอบ 16.8 ล้านเสียง ดังนั้นหากจะแก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หรือร่างใหม่ทั้งฉบับ ควรต้องมีการลงประชามติกันอีกครั้ง ก่อนที่จะเดินหน้าแก้ไข กล้าหรือไม่ หากจะมีคำถามพ่วงท้ายว่าจะคงหมวด 1 หมวด 2 ไว้โดยไม่มีการแก้ไขหรือไม่


6. รัฐบาลนี้คุกคามประชาชนหรือไม่ 
หากนับตั้งแต่หลังการเลือกตั้งเป็นต้นมา ประชาชนทั่วไปแม้เห็นต่าง แต่ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ไม่ได้รู้สึกว่าถูกคุกคามแต่อย่างใด แต่สำหรับคนที่เป็นแกนนำการประท้วง อาจมีความรู้สึกว่าถูกคุกคามก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า หากเราไม่ได้ทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมาย รัฐบาลจะคุกคามเราไม่ได้


7. พล.อ.ประยุทธ์ ควรลาออกหรือไม่
ทุกพรรคการเมือง ได้ทราบกติกาของการเลือกตั้ง และการเลือกนายกรัฐมนตรีทั้งหมดแล้ว ยังคงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ภายใต้กติกาที่ทุกคนทราบดี แต่เมื่อพ่ายแพ้ในเกมการเมือง และไม่ได้เป็นรัฐบาลแล้ว จึงกล่าวหารัฐบาลนี้ว่าเป็นเผด็จการ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ลาออก มองอย่างให้ความเป็นธรรม รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ได้ทำอะไรที่เป็นความผิดเด่นชัดจนถึงขั้นต้องลาออกตามที่ฝ่ายค้านเรียกร้อง 


8. ควรยุบสภาหรือไม่
หลังจากการแก้รัฐธรรมนูญ (หากมีการแก้ไขจริง) และมีพรบ การเลือกตั้งใหม่ ก็สมควรที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาฯเพื่อให้มีการเลือกตั้งตามกติกาใหม่

9. หากมีการเปลี่ยนรัฐบาลโดยเปลี่ยนขั้วไปเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะทำให้ประเทศดีขึ้นหรือไม่
พิจารณาจากคุณภาพนักการเมือง โดยมองที่คุณสมบัติ และพฤติกรรมในสภา และนอกสภาของนักการเมืองพรรคร่วมฝ่ายค้าน ทั้งพรรคเก่า และพรรคใหม่พบว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากนักการเมืองในอดีต ไม่มีอะไรดีไปกว่านักการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล  ดังนั้นจึงขอฟันธงว่า หากรัฐบาลมีการสลับขั้ว จะไม่ทำให้ประเทศดีขึ้นแต่อย่างใด  ขอย้ำนะครับว่า ทั้งหมดเป็นทัศนะของผมคนเดียว ใครจะมีความเห็นที่แตกต่างอย่างไร เราไม่ว่ากัน เพียงขอให้ความเห็นที่แตกต่างนั้นอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติโดยรวมเป็นสำคัญเท่านั้นพอ"
 

 

อดีตรองอธิการบดีมธ.  ยก 9 ข้อ วัดข้อดีจุดด้อย รัฐบาล นายกฯตู่ อ่านกันชัดๆ ทำไมฟังไม่ขึ้น