อดีตรองอธิการบดี มธ. เห็นด้วยธรรมศาสตร์  ห้ามแกนม็อบเพนกวิน ใช้เวที 6 ตุลาเคลื่อนไหว..รู้จะพูดอะไร?

ย้อนกลับมาอีกครบรอบปี งาน “ครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 2519” แต่ครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่มีขึ้นในช่วงจังหวะ เกิดกระแสปลุกระดมของกลุ่มการเมืองผ่านนักเรียน นักศึกษา ให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ ทั้งๆ ที่ผ่านขั้นตอนประชามติอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม

ย้อนกลับมาอีกครบรอบปี งาน “ครบรอบ 44 ปี 6 ตุลา 2519”  แต่ครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่มีขึ้นในช่วงจังหวะ เกิดกระแสปลุกระดมของกลุ่มการเมืองผ่านนักเรียน นักศึกษา ให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ ทั้งๆ ที่ผ่านขั้นตอนประชามติอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม

ล่าสุด รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  "ได้ข่าวว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่อนุญาตให้ นายพริษฐ์  เพนกวิน ,  นางสาว ปนัสยา รุ้ง และทนายอานนท์  ขึ้นพูดบนเวทีของงานรำลึก 44 ปี 6 ตุลา ซึ่งจะจัดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันนี้

ผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เพราะขณะนั้นยังอยู่ในระหว่างเรียนอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2521 นอกจากสอนหนังสือแล้ว ผมยังทำงานดูแลกิจกรรมนักศึกษา จึงได้คลุกคลีใกล้ชิดกับนักกิจกรรมจำนวนมากที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา มาหมาดๆ ในขณะนั้น นักกิจกรรมเหล่านี้กำลังเรียนปี 3 หรือบางคน ปี 4 จนทุกวันนี้ นักกิจกรรมเหล่านี้ยังนัดรวมตัวกันมาทานข้าวกันที่บ้านผมปีละครั้ง ทุกปี  ดังนั้น ผมจึงรู้เรื่องเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 มากพอสมควร


เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา จึงอยากเล่าเรื่องการแสดงละครแขวนคอ ที่ยังมีคนเข้าใจผิดอีกไม่น้อยว่า นักศึกษาตั้งใจแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการแสดงละครสะท้อนเหตุการณ์ ที่ก่อนหน้านั้น มีพนักงานการไฟฟ้านครปฐม 2 คน ช่วยกันติดโปสเตอร์โฆษนาการชุมนุม ภายหลังถูกฆ่าแขวนคอ ทั้ง 2 คน

 

 

อดีตรองอธิการบดี มธ. เห็นด้วยธรรมศาสตร์  ห้ามแกนม็อบเพนกวิน ใช้เวที 6 ตุลาเคลื่อนไหว..รู้จะพูดอะไร?

ชุมนุมศิลปะและการแสดง เป็นผู้รับผิดชอบจัดแสดงละคร ผู้จัดละครส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้มีหัวรุนแรงทางการเมือง เพียงรับมอบหมายให้จัดการแสดงเพื่อตรึงผู้ร่วมชุมนุมไว้เท่านั้น ผู้ที่แสดงเป็นผู้ถูกแขวนคอมีหลายคน สับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ผู้แสดงคนหนึ่งที่หนังสือพิมพ์ดาวสยาม และ Bangkok post นำภาพซึ่งอาจมีการแต่งเติม ไปลงหน้า 1 เป็นชนวนเหตุที่ทำให้มีการสังหารโหดอย่างบ้าคลั่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ผู้แสดงคนดังกล่าว ที่จริงแล้ว เป็นนักกรีฑา ไม่ได้หมกมุ่นกับการเมืองสักเท่าใด มาเป็นตัวแสดงก็เพราะช่วยเพื่อน แต่เคราะห์ร้าย ทำให้ต้องติดคุกถึง 3  ปี จึงได้นิรโทษกรรม รวมทั้งผู้จัดละครและแกนนำนักศึกษาอีกหลายคนที่ต้องรับชะตากรรมเดียวกัน ภายหลังผู้แสดงคนนี้ เป็นนักถ่ายภาพใต้ทะเลที่มีฝีมืออันดับต้นๆของประเทศ


สมัยนั้น นอกจากถูกกล่าวหาเรื่องแสดงละครแล้ว บนเวทีการชุมนุม ไม่มีใครขึ้นพูดในทางเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด ต่างจากในช่วงนี้ ที่มีการพูดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกันอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย ไม่กลัวฟ้า ไม่กลัวดิน


งานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา ปกติ ผู้พูดหรืออภิปราย ก็จะเป็นผู้ที่มีบทบาท ในเหตุการณ์ 6 ตุลามาก่อน แต่ปี 2519  ทั้งนายเพนกวิ้น นางสาวรุ้ง และทนายอานนท์ ยังไม่เกิด  สิ่งที่ทั้ง 3 คนตั้งใจจะพูด ผู้บริหารมหาวิทยาลัย  เขาก็ทราบดีว่าจะถือโอกาสพูดเรื่องอะไร ดังนั้นหากมีทั้ง  3 คน ขึ้นพูด มหาวิทยาลัยจะอนุญาตให้จัดงานไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แค่ไม่ได้แจ้งความกรณีพังประตูเมื่อวันที่ 19 กันยายน ก็มีคนจ้องจะเล่นงานข้อหา 157 อยู่แล้ว


อีกไม่นาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็จะมีการสรรหาอธิการบดีกันใหม่  ท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยบอกผมว่า การตัดสินใจวันนี้ของอธิการบดี เกี่ยวกับม็อบ ธรรมศาสตร์และการชุมนุม อาจมีผลบวกหรือลบต่อตัวท่านอธิการบดีเองในการสรรหาอธิการบดีที่กำลังจะมีขึ้นก็ได้ แต่ท่านกล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นผลบวกหรือลบก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความถูกต้อง และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ความอยู่รอดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยรวม ....ผมเห็นด้วยกับท่านอย่างยิ่งครับ

 

อดีตรองอธิการบดี มธ. เห็นด้วยธรรมศาสตร์  ห้ามแกนม็อบเพนกวิน ใช้เวที 6 ตุลาเคลื่อนไหว..รู้จะพูดอะไร?