ปริญญา โผล่ค้านรัฐใช้ ม.112 แม้มีปราศรัยหมิ่น บิดเบือน ฝากม็อบสุภาพ อย่าหยาบคายต่อสถาบันฯ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563 ภาพหนึ่งที่หลายคนจดจำได้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการบิดเบือนคุกคาม จาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง คือเหตุกรณีการชุมนุมของ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และ สหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท. และกลุ่มแนวร่วมนิสิตมหาสารคามเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเสรีเทยพลัส ฯลฯ จัดกิจกรรมการชุมนุมในชื่อ “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” และสโลแกนการชุมนุมว่า “เราไม่ต้องการปฏิรูปแต่เราต้องการปฏิวัติ”

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563 ภาพหนึ่งที่หลายคนจดจำได้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการบิดเบือนคุกคาม จาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง  คือเหตุกรณีการชุมนุมของ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และ สหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท. และกลุ่มแนวร่วมนิสิตมหาสารคามเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเสรีเทยพลัส ฯลฯ จัดกิจกรรมการชุมนุมในชื่อ “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” และสโลแกนการชุมนุมว่า “เราไม่ต้องการปฏิรูปแต่เราต้องการปฏิวัติ”

เพราะนอกจากจะมีการขึ้นเวทีปราศรัยอย่างต่อเนื่องของนายอานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และนายนายภาณุพงศ์ จาดนอก   2 ผู้ต้องหาคดีปลุกปั่นยุยง ตามหมายจับกระทำผิดมาตรา 116 และเพิ่งได้รับการอนุญาตประกันตัวก่อนหน้ า ด้วยเงื่อนไขห้ามกระทำผิดซ้ำอีก  ยังมีการนำภาพและคลิปภาพบุคคลที่มีพฤติกรรมจาบจ้วง ล่วงละเมิด ให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์  มานำเสนอบนเวทีการปราศรัย พร้อมการแสดงถ้อยคำ  ก้าวล่วงเบื้องสูง ในหลากหลายรูปแบบ จนก่อเกิดให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงพฤติกรรมการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ที่แฝงเร้นเรื่องการโค่นล้มระบอบกษัตริย์อย่างชัดเจน ทั้งถ้อยคำพูด และการจัดเวทีที่สื่อให้เห็นการล้อเลียนสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพรักของประชาชนคนไทย

ประเด็นสำคัญจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงประเด็นที่เกิดขึ้นว่า ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต ที่รับผิดชอบเรื่องการอนุญาตให้ใช้สถาน  ใจความสำคัญบางช่วงตอน ระบุ แม้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะให้เสรีภาพในการแสดงออก แต่การแสดงออกควรต้องอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพึงระวังในเรื่องละเอียดอ่อนและเรื่องที่อาจจะนำมาซึ่งความแตกแยกของผู้คนในสังคม และแม้ว่าเนื้อหาหลักของการชุมนุมจะเป็นไปตามขอบเขตดังกล่าว แต่เมื่อปรากฎเนื้อหาบางส่วนที่อาจจะเลยขอบเขตไป ผมในฐานะรองอธิการบดีผู้อนุญาตผมก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ในเบื้องต้นผมขออภัย และขอน้อมรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้น

 

ปริญญา โผล่ค้านรัฐใช้ ม.112 แม้มีปราศรัยหมิ่น บิดเบือน ฝากม็อบสุภาพ อย่าหยาบคายต่อสถาบันฯ


(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ปริญญา โพสต์ขออภัย ปล่อยเวทีม็อบธรรมศาสตร์ ล่วงละเมิด จาบจ้วงเบื้องสูง )

ขณะที่นับจากวันที่ 10 ส.ค. 2563 เป็นต้นมา พฤติกรรมของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มีจุดเริ่มต้นจากเวทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถูกยกระดับด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างรุนแรงมากขึ้น   ด้วยเป้าหมายกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการปลุกระดม บิดเบือน ข้อมูลต่าง ๆ   จนบานปลายเป็นความขัดแย้งของคนไทยในประเทศ เนื่องจากพลังเงียบที่มีความรู้สึกจงรักภักดีสถาบันฯ ไม่อาจยอมรับในพฤติการณ์ของกลุ่มมวลชนได้อีกต่อไป  จนนำไปสู่การกระทบกระทั่งในหลายจังหวะโอกาส  รวมถึงมีความพยายามบังคับใช้กฎหมาย กับผู้กระทำผิดเพื่อควบคุมสถานการณ์ 

ล่าสุด   ผศ.ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล  ที่เคยออกมายอมรับผิด  ในการปล่อยให้เกิดการใช้สถานที่ล่วงละเมิดสถาบันเบื้องสูง   ได้โพสต์ถึงสถานการณ์การเมือง ว่าด้วยนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  มาบังคับใช้กับผู้กระทำผิด  ว่า   "แม้จะมีผู้ปราศัยที่ใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม หรือหยาบคาย แต่การใช้มาตรา 112 ไม่ใช่ทางออกที่ดีในการแก้ปัญหา หากควรใช้วิธีอื่น หรือข้อกฎหมายอื่น


เพราะนายกรัฐมนตรีเคยกล่าวว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชประสงค์ไม่ทรงให้ใช้มาตรา 112 ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีประกาศว่าจะใช้มาตรา 112 อีก จะถูกตีความได้ว่า ท่านทรงเปลี่ยนพระราชประสงค์ และอาจจะทำให้เกิดปัญหากระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นไปอีก


นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ และแก้ปัญหา ไม่ใช่ทำให้เกิดปัญหาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้นเช่นนี้  และดังนั้น รัฐบาลไม่ควรใช้มาตรา 112  แต่ควรต้องใช้วิธีแก้ปัญหาแบบอื่น  ผู้ที่ปราศรัยก็ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย หรือหมิ่นต่อพระมหากษัตริย์ เพราะการหมิ่นประมาท หรือการใช้เฮทสปีชนั้น ไม่ควรใช้ต่อใครทั้งสิ้น หากใช้ถ้อยคำสุภาพ ปัญหาที่มีการเรียกร้องให้ใช้มาตรา 112 ที่จะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ก็จะลดลงไปได้มาก"

 

ปริญญา โผล่ค้านรัฐใช้ ม.112 แม้มีปราศรัยหมิ่น บิดเบือน ฝากม็อบสุภาพ อย่าหยาบคายต่อสถาบันฯ