เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และองค์กรภาคี ยื่นหนังสือ ถึง นายกรัฐมนตรี เรียกร้องเรื่องมาตรการเยียวยาแรงงานจากผลการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่


    18ม.ค.64 เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนและองค์ตามรายชื่อท้ายจดหมาย มีความกังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประชาชนผู้ใช้แรงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากการใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดโควิด-19ในรอบสองที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชชนและการเยียวยาชดเชยรายได้ ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่ครอบคลุมทั่วถึงเท่าเทียมในรอบแรก กล่าวคือ...

 

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม


1. การสั่งสถานประกอบการ สถานบันเทิง ร้านอาหาร และอีกหลายแห่งไม่ให้เปิดกิจการเกินเวลา 21.00 น. และจำกัดการเดินทางในบางจังหวัดที่มีการระบาดและติดเชื้อป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุนั้นไม่ใช่ความผิดของประชาชน ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ และการเลิกจ้างที่ยังไม่หยุดนับตั้งแต่การระบาดรอบแรก อีกทั้งการต่ออายุการใช้ พ.ร.ก.
ฉุกเฉินฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตัน 2563 เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างเบ็ดเสร็จ โดยไม่ฟังเสียงความทุกข์ยากของประชาชน ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ถูกซุกใต้พรมและสร้างความลำบากแก่ผู้ใช้แรงงานในการรวมตัวกันร้องเรียนปัญหาการละเมิดสิทธิ สะท้อนวิธีการบริหารประเทศแบบสั่งการบนลงล่าง ไม่เปิดโอกาสให้
ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการโรคระบาดที่จะเป็นโรคประจำถิ่นในอนาคต ไปจนถึงการฉีดวัคซีนในไม่ช้า กลับกลายเป็นว่ารัฐกำลังก่อปัญหาซ้ำเติมประชาชน

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม

2. การเยียวยาที่ไม่ทั่วถึงและมีเงื่อนไขที่ทำให้การเข้าถึงการเยียวยาเป็นไปอย่างยากลำบาก ในรอบสองนี้เราทราบมาเบื้องต้นว่ารัฐบาลจะจ่ายงินเยียวยาให้แก่แรงงานอิสระ แรงงานนอกระบบ และให้ลงทะเบียนอีก ซึ่งบทเรียนที่ผ่านมาเกิดความวุ่นวายในการลงทะเบียน ประชาชนไม่ได้รับสิทธิ์อย่างทั่วถึง และมีปัญหาความล่าช้า ที่สำคัญในส่วนของแรงงานในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่เป็นลูกจ้างในโรงงานสถานประกอบการ ประสบปัญหามากมายที่รัฐบาลจะต้องเยียวยาเช่นเดียวกับแรงงานนอกระบบกล่าวคือ 

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม

    การที่รัฐบาลไม่ให้เงินเยียวยามาตั้งแต่แรก ปัดให้ไปใช้เงินขอลูกจ้างเองที่สมทบไว้ในกองทุนประกันสังคม เมื่อบริษัทถูกพักงานด้วยเหตุแห่งโรคระบาด และถูกสั่งปิดตามคำสั่งของรัฐบาล (จ่าย 62% ของค่าจ้างพื้นฐาน) ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานไม่สามารถตรวจสอบบริษัทโรงงานที่ปิดกิจการชั่วคราวไม่กี่ยวข้องกับโรคระบาดโดยตรง หลายบริษัทโยนภาระให้ลูกจ้างไปใช้เงินทดแทนว่างงาน 62% ซึ่งควรจ่าย 75% ตามมาตรา 75 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และรัฐควรจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ครบ 100% แต่กลับไม่ทำไม่ว่าในกรณีใด ความเสียหายที่ตามมาคือ ลูกจ้างสูญเสียรายได้ และสวัสดิการที่ควรได้ แบกความรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว หลายกรณีถูกลดวันทำงานลดค่าจ้าง ถูกปรับสภาพการจ้างงานให้ไม่มั่นคง และหลายคนถูกเลิกจ้างไม่ป็นธรรมที่นายจ้างปัดความรับผิดชอบให้ไปฟ้องเรียกค่าชดเชยตามกฎหมาย


      การสูญเสียงาน นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่รัฐบาลไม่ดูแลแรงงานในระบบ ไม่สรุปบทเรียนในรอบแรก ปล่อยให้แรงงานถูกละเมิดสิทธิ ไม่ปกป้องงานและชดเชยรายได้เพิ่มเติม ท้ายสุดลูกจ้างก็ใช้เงินของตัวเองและเป็นหนี้ โดยไม่มีหลังพิง สิ่งที่เราต้องการคือ รัฐต้องใช้หลักคิดถ้วนหน้า ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่กำหนดเงื่อนไขให้ชับซ้อน ไม่ต้องลงทะเบียนและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม

 

ผู้ใช้แรงงานในทุกภาคส่วนต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดพื้นที่ การดำเนินชีวิต การทำงาน ข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่ยื่นในวันนี้จึงอยู่บนฐานคิดที่ต้องการคุ้มครองสิทธิแรงงานทุกคน รวมถึงแรงงานข้ามชาติ และเยาวชนในครอบครัวของพวกเขา เพราะแรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคจะต้องได้รับการดูแลให้ฟื้นกลับมาโดยเร็ว  เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสังคมไปต่อได้ จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการตามข้อเรียกร้องอย่างเร่งด่วนขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม

 

รายชื่อองค์กรแนบท้าย

1. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
2. สหพันธ์แรงนอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนัง แห่งประเทศไทย
3. สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
4. สหภาพแรงงานผู้ผลิตยางรถยนต์แห่งประเทศไทย
5. สหภาพแรงงานสร้างสรรค์และวัฒนธรรม (UCC)
6.เครือข่ายแรงงนอุตสาหกรมวัสดุก่อสร้างครื่องเรือนและคนทำไม้แห่งประเทศไทย (BWICT) ㆍ
7. กลุ่มผู้ใช้แรงานสระบุรีและใกล้เคียง
8. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง (กสรก.)
9. กลุ่มสหภาพแรงงานปู่เจ้าสมิงพรายและใกล้เคียง
10. สมาพันธ์ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งประเทศไทย
11. กลุ่มแรงงานเพื่อสังคม
12. เครือข่ายบรรณาธิการและนักเขียน
13. เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ
14. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
15, เครือข่ายรัฐสวัสติการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)
16. กลุ่มศาลายาเนี่ยน - สหภาพนักศึกษาและคนทำงานแห่งศาลายา
17. ชมรมคนงานสูงวัย
18. สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (JEL)
19. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์
20. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
21. มูลนิธิละครไทย
22. มูลนิธิเพื่อนหญิง
23. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม

เครือข่ายเเรงงานฯทนไม่ไหว ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ร้องมาตรการเยียวยาเลือกปฎิบัติ ไม่ทั่วถึงเท่าเทียม

                                                       >>Lazada มอบดีลช๊อปสุดพิเศษ สนใจคลิก<<