"รชค." มอบนโยบาย "กทท." เร่งพัฒนาองค์กรรอบด้านสนับสนุนนโยบายรัฐบาล !!

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะฯ เดินทางมาตรวจเยี่ยมกิจการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พร้อมมอบนโยบายการดำเนินงาน โดยมี พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ประธานกรรมการ กทท. คณะกรรมการ กทท. และผู้บริหารระดับสูง กทท. ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายภาพรวมการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน และโครงการต่างๆ ของ กทท. โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ กทท. ดังนี้

 

  "รชค." มอบนโยบาย "กทท." เร่งพัฒนาองค์กรรอบด้านสนับสนุนนโยบายรัฐบาล !!

 

กทท. ถือเป็นองค์กรแห่งความหวังของรัฐบาล เพราะนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 นั้นอยู่บนพื้นฐานของความพยายามที่จะผลักดันประเทศไทย ก้าวผ่าน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดย กทท.อยู่บนศูนย์กลางของนโยบาย ซึ่งข้อมูลที่ท่านผู้บริหารได้ให้มาในวันนี้ ก็สอดคล้องกับทิศทางที่รัฐบาลอยากจะเห็น คือ กทท.สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ประเทศไทย ไปสู่ระบบเศรษฐกิจคุณภาพใหม่ เป็นระบบเศรษฐกิจ 4.0 และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกัน และรายละเอียดในเรื่องการพัฒนาในมิติของปริมาณ มิติของคุณภาพ มิติในเรื่องเวลา ต้องให้ความสำคัญในลักษณะสอดคล้องไปกับแผนใหญ่ของประเทศด้วย”

 

"รชค." มอบนโยบาย "กทท." เร่งพัฒนาองค์กรรอบด้านสนับสนุนนโยบายรัฐบาล !!

แนวทางในการพัฒนา กทท. นั้น สอดคล้องและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0 รวมทั้งนโยบาย ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor (EEC) ในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ โดยแผนพัฒนาการพัฒนาของ กทท. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาพื้นที่ของ กทท. โครงการต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งแผนการพัฒนาพื้นที่ของท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) โครงการท่าเรือชายฝั่ง ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ขั้นที่ 3 ที่จะสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ถึง 18 ล้าน ทีอียู. โครงการศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operator : SRTO) ทั้งนี้ กทท. ต้องพิจารณาดูมิติด้านปริมาณสินค้า มิติด้านคุณภาพการบริการในการขนส่ง และความต้องการของตลาดในอนาคต การขนส่ง สินค้าที่จะเปลี่ยนรูปแบบไปเดิม จากสินค้าที่มีน้ำหนักเยอะๆ มูลค่าต่อหน่วยน้อย จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักน้อย แต่มูลค่าต่อหน่วยสูง เช่น อะไหล่เครื่องบิน หุ่นยนต์ต่างๆ ต้องอาศัยคุณภาพของการบริหารจัดการ ซึ่ง กทท. ต้องมาศึกษาว่าการขนส่งสินค้าลักษณะนี้ มีกระบวนการให้บริการขนส่ง และการดูแลสินค้าอย่างไร

 

"รชค." มอบนโยบาย "กทท." เร่งพัฒนาองค์กรรอบด้านสนับสนุนนโยบายรัฐบาล !!

 

Business Model ของ กทท. ต้องสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ซึ่งในอนาคตจะต้องพิจารณาว่าอุตสาหกรรมที่เรามีความสามารถสูง เทคโนโลยีชีวภาพ Biotech เรื่องการขนส่งทางอากาศ ธุรกรรมไฮเทค เทคโนโลยีต่างๆ เราจะต้องดึงเข้ามาใช้บริการในประเทศ โดย กทท. ต้องพิจารณาและพัฒนารูปแบบ และปรับตัวไปสู่จุดนั้นให้ได้ และมิติด้านเวลาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ กทท. จะต้องสอดรับกับโครงสร้างพื้นฐานระบบราง รถไฟรางคู่ การขนส่งชายฝั่งทะเล และการท่าอากาศยาน สนามบินอู่ตะเภา ทุกอย่างควรจะต้องเกิดพร้อมๆ กัน เพื่อที่ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที ซึ่งจะต้องพิจารณาและบริหารจัดการให้เป็นทิศทางเดียวกัน

แนวทางการบริหารสินทรัพย์ของ กทท. จะต้องมีเป้าหมายอย่างชัดเจน และมีประสิทธิผล ซึ่งจะต้องเร่งหาแนวทางในการบริหารสินทรัพย์ให้มากกว่าปัจจุปัน ปฏิรูปทรัพย์สินของ กทท. โดยการเปลี่ยนวิธีคิดหรือแนวทางในการดำเนินงานกับสินทรัพย์ที่ กทท. มีอยู่ทั้งในส่วนของ ทกท. และ และ ทลฉ. ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีผลตอบแทนเทียบเท่าผลตอบแทนในตลาด และสอดคล้องกับการทำธุรกิจหลักของ กทท. ก็จะเกิดประโยชน์แก่องค์กรในอนาคต รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการองค์กรให้ยั่งยืน ทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร จะต้องให้ กทท. บริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับรูปแบบองค์กรที่จะพัฒนาไปข้างหน้า และจะต้องรักษาบุคลากรซึ่งเป็นบุคคลสำคัญขององค์กร จะต้องดูแลและให้ไปในทิศทางที่ช่วยพัฒนาองค์กรให้สามารถอยู่ได้ระยะยาวสามารถตอบสนองกับการพัฒนาประเทศต่อไป