อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

     เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เวลา 09.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และบรรยายพิเศษเรื่อง การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คน ร่วมทำกิจกรรมปลูกต้นยางนา และต้นสัก อย่างละ 1,000 ต้น  ณ ศูนย์การเรียนรู้เขาขยาย ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

นายสุทธิพงษ์กล่าวว่า การน้อมนำพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาเพื่อสังคมโดยเป็นจิตอาสาร่วมพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวทางประชารัฐของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขและทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาฟื้นฟูเขาขยายให้อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศน์ที่สำคัญ ซึ่งในอดีตนั้นพื้นดินแห่งนี้ มีความเสื่อมโทรมไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินนี้ได้ การพัฒนาพื้นดินที่เสื่อมโทรมนี้พวกเราได้นำศาสตร์ของพระราชา หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ตามที่พระองค์ท่านได้ “พัฒนาที่ดินทำงานให้ได้ผล” พระองค์เป็นแบบอย่างที่ให้พวกเราได้เดินตามรอยพระองค์ เมื่อกล่าวถึงเขาขยาย จังหวัดชัยนาท เมื่อปี 2557 เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งอย่างหนัก เขาขยายก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงไปด้วย ทำให้พื้นที่ความแห้งแล้ง สภาพป่าเสื่อมโทรมอย่างหนัก มีสภาพเหมือนทะเลทราย เป็นเขาหัวโล้น มีร่องรอยของการลักลอบขุดดินลูกรัง ราษฎรบุกรุกพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรม จากสภาพความแห้งแล้งไม่มีต้นไม้ปกคลุมทำให้ในฤดูฝนจะมีน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณเชิงเขา และพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านใกล้เคียง จากปี 2557 ถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเขาขยาย จังหวัดชัยนาท มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มสูงขึ้น โดยได้การดูแลทำนุบำรุงและฟื้นฟูจากชาวชัยนาททุกคน รวมถึงบุคลากรสาธารณสุขและทุกภาคส่วนที่ร่วมดำเนินการมาทุกปี เป็นความตั้งใจเป็นจิตอาสาพัฒนาสังคมปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน ทำให้เขาขยายจาก “เขาทะเลทรายเป็นเขาสวรรค์” ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด แวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดอันอุดมสมบูรณ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

จึงกล่าวได้ว่า ศาสตร์พระราชาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงให้ไว้นั้น ล้วนทรงคุณค่ามหาศาลทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่มุ่งเน้นให้ประชาชน พวกเราสามารถดูแลพึ่งพาตัวเองไปได้มากที่สุด สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 นั้น ก็เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลก เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาปลูกต้นกล้าแห่งความดีเพื่อแผ่นดิน

นายสุทธิพงษ์กล่าวต่อว่า นอกจากเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทยแล้ว ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาในต่างประเทศ การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในต่างประเทศเหล่านั้น เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่า “เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด” ซึ่งจากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 วารสารชัยพัฒนาประจำเดือนสิงหาคม 2542 ความว่า “...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองเห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...” ดังนั้น ความเข้าใจของคนส่วนมากต่อเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นเรื่องของเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ประกอบอาชีพอื่นก็สามารถนำเอาแนวพระราชดำรัสไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น ดังพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในรัชกาลที่ 9 ความว่า “... ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเน้นการผลิตด้านเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากขนาดใหญ่เกินไป ต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบแลเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาผลิตสินค้า ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ในประเทศไทยก่อน เพื่อไม่ให้ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ผู้ที่เป็นเกษตรกรหากมีความพอประมาณ ไม่นึกแต่จะซื้อรถคันใหม่ หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกอยู่ร่ำไป ก็จะมีความสุข...” เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินการวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และมีใจตนเป็นสำคัญซึ่งก็คือวิถีชีวิตไทย ที่ยึดทางสายกลางของความพอดี

ในวันนี้ ผม และรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 3 หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดชัยนาท อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพสา'สุขชัยนาท ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้มีเกียรติทุกท่าน ได้มารวมกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ทุกท่านล้วนมีจิตมุ่งมั่นในการที่จะตอบสนองคุณแผ่นดิน น้อมนำพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาเพื่อสังคมโดยเป็นจิตอาสาร่วมพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวทางประชารัฐ และมีความยินดีที่จะปกป้องผืนป่าไม้ไม่ให้ถูกบุกรุกหรือถูกทำลายเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกภูมิใจในความเป็นชาติและให้คนไทยทุกคนคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ นายสุทธิพงษ์กล่าวในตอนท้าย