กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง วิชระวิชญ์ อัครสันติสุขเชิญชม ผลงานผ้าไทย จากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมเป็นมรดกผ้าไทยที่ควรสืบสานอวดสายตาชาวโลก

          กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม  ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  จัดแสดงผลงานออกแบบคอลเลกชั่นล่าสุด  “จากแดนไกล”  คอลเลกชั่นผ้าไทยร่วมสมัยจาก  แบรนด์ WISHARAWISH  ระหว่างวันที่ 24 - 26 พฤษภาคม 2562 ณ บริเวณ  โซน บีคอน 3 และ 4  ชั้น 1  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์    ในโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล (Taproot Thai Textiles)  โดย  วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข แฟชั่นดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ที่น่าจับตามองที่สุดในช่วงต้นทศวรรษที่ 2010 หลังผ่านงานและเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาจากห้องเสื้อชั้นนำ Grey by Greyhound รวมไปถึงการคว้ารางวัลการประกวดออกแบบแฟชั่นหลายรายการทั้งในและต่างประเทศมาอย่างมากมาย  ผลงานของ วิชระวิชญ์ วางอยู่บนพื้นฐานของงานออกแบบแฟชั่นซึ่งคลี่คลายมาจากแนวคิดที่เป็นนามธรรม ปรัชญาความคิด และความรู้สึกที่ซับซ้อน ได้รับการตีความออกมาเป็นรูปธรรมผ่านชิ้นเสื้อที่เต็มไปด้วยเทคนิคมากมาย  ที่ถูกอัดแน่นลงไปบนตัวเสื้อเหล่านี้  ได้กลายมาเป็นเครื่องมือหลักของดีไซเนอร์ในการสื่อถึงความคิดที่อยู่เบื้องหลังการสร้างงานในแต่ละคอลเลกชั่น  ล่าสุดนี้...   วิชระวิชญ์ได้รวบรวมนำผู้ประกอบการผ้าทยจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ มาจัดแสดงกลางเมืองให้ประชาชนทั่วไปได้ชมผลงานการออกแบบเสื้อผ้าไทย  และจัดจำหน่ายผ้าคุณภาพดี ในราคาย่อมเยา  ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยอันหลายหลากจากชุมชนห่างไกล ที่ยังคงสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 7 ราย  ด้วยกันคือ 

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

แบรนด์  Jutatip จังหวัดขอนแก่น โดย  จุฑาทิพย์ ไชยสุระ  มีความโดดเด่นทางผ้าฝ้าย หรือผ้า cotton ถือว่าเป็นเส้นใยจากธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่ ด้วยการทำจากฝีมือล้วนๆไม่ผ่านเครื่องจักรและสารเคมี

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

ผ้าไหมมัดหมี่ by นิดดา จังหวัดขอนแก่น โดย  นิดดา ภูแล่นกี่ เดิมที่รู้จักกันในชื่อ “กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย” มีจุดเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของสตรีในหมู่บ้านหัวฝาย  อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นกลุ่มอาชีพทอผ้ากลุ่มหนึ่งที่ได้ก่อตั้งมานาน ที่มีการผลิตผ้าไหมแบบครบวงจร เริ่มต้นตั้งแต่การเลี้ยงไหม การสาวไหม การมัดย้อม จนถึงการทอผ้าไหมให้สำเร็จเป็นชิ้นงาน นอกจากนี้บ้านหัวฝายยังมีลายผ้าไหมมัดหมี่อันเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกว่า “ลายฟ้องน้ำหัวฝาย” ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นลายที่มีความละเอียดงดงามเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากลายผ้าของที่อื่นอย่างชัดเจน

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข จังหวัดขอนแก่น โดย  ทวี สุโข กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข บ้านดอนข่า ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น กับจำนวนสมาชิกตั้งแต่ก่อตั้งเพียงเพียง 28 คน  ผ่านการคัดสรรคุณภาพจนได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้า OTOP ในระดับ 5 ดาว และมีชื่อเสียงอย่างมากจาก ไหมมัดหมี่ นั่นเอง

Cotton Farm จังหวัดเชียงใหม่ โดย  เปรมฤดี กุลสุ ที่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการผ้าฝ้ายมามากกว่า 20 ปี จนนำไปสู่แนวคิดการสร้างผ้าฝ้ายเนื้อบาง ที่มีความเหมาะสมกับการสวมใส่ในภูมิอากาศที่ร้อนชื้นอย่างประเทศไทยและยังมอบงานให้ชาวบ้านผู้ทอผ้าว่าจะสามารถสร้างงานทอผ้าให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนได้ในอนาคต กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

เรือนไหมใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์ โดย  ทัศนีย์ สุรินทรานนท์  ถือเป็นผ้าไหมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุรินทร์ และเป็นตัวแทนของผ้าทอไทยที่ได้รับความสนใจจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้รับเลือกเป็น 1 ใน 7 กิจการผ้าไทย เข้าร่วมกับโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล (Taproot Thai Textiles) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

อิมปานิ จังหวัดราชบุรี โดย เอกสิทธิ์ โกมลกิตติพงศ์  ที่มีชื่อเสียงจาการทำ ผ้าขาวม้าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าทอของไทย ซึ่งคุณเอกสิทธิ์ได้ เติบโตมากับกิจการทอผ้าขาวม้าของครอบครัวที่มีอายุของกิจการยาวนานกว่า 40 ปี ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยของคุณปู่ตกทอดสู่คุณพ่อ และในปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของคุณเอก จากการทอผ้าด้วยกี่กระตุกรุ่นคุณปู่ สู่การใช้เครื่องจักรในรุ่นคุณพ่อ และการต้องเผชิญกับความเสื่อมถอยต่อความนิยมในผ้าขาวม้าในรุ่นของคุณเอก แต่ก็ยังคงรักษาคุณภาพของผ้าขาวม้าของแบรนด์ตัวเองได้อย่างดี

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย บาติก เดอ นารา จังหวัดปัตตานี โดย  รอวียะ หะยียามา ที่มีชื่อเสียงจาก  ผ้าบาติก จนได้รับเลือกเป็น 1 ใน 7 ผ้าไทยที่เข้าร่วมโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล (Taproot Thai Textiles) จึงเป็นความภาคภูมิใจของรอวียะเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้ใช้ตัดเย็บในงาน  Amazon Fashion Week ณ กรุงโตเกียว เป็นผ้าที่ใช้ความง่ายและงดงามตามแบบฉบับของบาติก เดอ นารา เนื้อผ้าพลิ้วไหว เหมาะสมกับการใช้สวมใส่ ยังคงใช้เทคนิคการเขียนผ้าด้วยมือทั้งผืน ที่ปัจจุบันแทบจะหายากมีแต่ใช้เครื่องจักรในการผลิตทั้งนั้น

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย

        อย่าพลาด....กับการชมผลงานการแสดงการออกแบบคอลเลกชั่น“จากแดนไกล”ที่รวบรวมผ้าไทยจากผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีคุณภาพและชื่อเสียงระดับโลก จากทั่วประเทศไทยมาให้ชมอย่างใกล้ชิด อีกทั้งเป็นสิ่งที่ควรช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป  ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2562  ณ บริเวณ โซน บีคอน 3 และ 4 ชั้น 1  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ดีไซเนอร์ดัง เชิญชมผลงานผ้าไทยจากฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมเปป็นมรดกผ้าไทย