รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

          เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (รชค.) และคณะ เดินทางมาตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีคณะผู้บริหาร กทท. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารที่ทำการ กทท. 

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

          รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.            จากกรณีการระบาดของ "ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019" (Novel Coronavirus (2019 -nCoV) หรือ โรคทางเดินหายใจร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนา ข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านงูเห่ามาติดเชื้อในคนก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ ซึ่งเริ่มระบาดในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 กทท.  ได้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าว สำหรับเรือสินค้าที่มาจากพื้นที่เสี่ยงให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations (IHR) 2005) ในทุกช่องทางเข้า-ออกระหว่างประเทศของ กทท. ทั้งที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) และท่าเรือภูมิภาค ได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน (ทชส.) ท่าเรือเชียงของ (ทชข.) และท่าเรือระนอง (ทรน.) ในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยจะดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ป่วยตามขั้นตอนต่อไป

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.
          นอกจากนี้ กทท. ได้มีมาตรการเฝ้าระวังพาหนะเรือและลูกเรือที่มาจากพื้นที่เสี่ยง (จากสาธารณรัฐ-ประชาชนจีน) โดยให้บริษัทเจ้าของหรือตัวแทนเรือ แจ้งกำหนดเรือเข้า ตารางการเดินเรือของบริษัทต่างๆ ที่จะเข้ามาเทียบท่าที่ ทกท. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า24 ชั่วโมง ทางโทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือมายื่นด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่งานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับยานพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักร (Information of Conveyance (ต.1)) รายงานสุขลักษณะของยานพาหนะทางวิทยุโทรเลข (Maritime Information of Health Radio Telegram (ต.2)) ใบรับรองสุขอนามัยของการเดินทางโดยพาหนะทางน้ำ (Maritime Declaration of Health (ต.3)) และรายงานการเดินทางประกอบด้วยประเทศที่ผ่านมาหรือที่เรือจอดแวะพัก (Port of Call) หากมีลูกเรือป่วย    มีอาการไข้ ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยลำบาก ฯลฯ จะต้องยื่นบัญชีรายชื่อลูกเรือ (Crew List) และแจ้งกำหนดจุดจอดเรือที่หลักผูกเรือกลางน้ำ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคเข้าตรวจสอบทันที อีกทั้งยังได้จัดประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ผู้แทนเรือเกี่ยวกับโรคดังกล่าว และติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคจากองค์การอนามัยโลก ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคปอดอักเสบรุนแรงจากเชื้อไวรัส กรมควบคุมโรค และจากเว็บไซต์อื่นๆ อย่างใกล้ชิด
            สำหรับวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสำหรับพนักงาน นั้น กทท. ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา แจกหน้ากากอนามัย และรณรงค์ให้พนักงาน กทท. ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องสวมหน้ากากอนามัย ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หมั่นล้างมือให้สะอาด ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด นอกจากนี้ ควรติดตามข่าวสารและสถานการณ์อย่างใกล้ชิดของโรคฯ ผ่านประกาศหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นต้น  รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

       รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

          ในส่วนปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 กทท. ได้ดำเนินมาตรการป้องกันคุณภาพอากาศทั้ง ทกท. และ ทลฉ. มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของพนักงาน กทท. ผู้ใช้บริการ กทท. และชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อให้สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 จากกิจกรรมการดำเนินงานของ กทท. โดยกำหนดให้หน่วยงานที่ปฏิบัติงานบรรทุกขนถ่ายสินค้าภายในเขตพื้นที่ หากมิได้ปฏิบัติงานบรรทุกขนถ่ายสินค้าต้องดับเครื่องยนต์ ยานพาหนะและเครื่องมือทุ่นแรงของ กทท. ในทุกกรณี รวมทั้งเข้มงวดในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือทุ่นแรงทุกประเภทให้เป็นไปตามรอบการซ่อมบำรุง เพื่อเป็นการลดการเกิดมลพิษในอากาศ และได้ดำเนินการแจกหน้ากากกันฝุ่นให้กับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 โดยฉีดละอองน้ำ   ในแหล่งกำเนิดฝุ่นทั้งที่ ทกท. และ ทลฉ. เพื่อควบคุมและกำจัดไม่ให้ฝุ่นแพร่กระจาย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ตรวจวัดอากาศภายในพื้นที่ ทกท. เป็นประจำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งประสานกรมการขนส่งทางบก ในการดำเนินการตรวจสอบควันดำรถบรรทุกที่เข้ามาขนถ่ายสินค้า ซึ่งการดำเนินมาตรการเฝ้าระวังปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง มีผลเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากผลการตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในเขตพื้นที่ของ กทท. และบริเวณใกล้เคียงมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาโดยตลอด           รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

      รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.   รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

รชค.ตรวจติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา พร้อมความคืบหน้าการพัฒนาของ กทท.

           นอกจากนี้ รชค. ยังติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาของ กทท. ในโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนา ทลฉ. ระยะที่ 3 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยกเลิกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามคำขอของกลุ่ม NCP ทำให้คำตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นอันถูกต้องและสามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้แล้ว และมอบนโยบายให้ กทท. พิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารทรัพย์สิน อาคาร ที่ดิน ให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินการโครงการ Smart Community ให้เป็นไปตามแผนและให้วางแผนการดำเนินการในอนาคต ในการบริหารงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

 

 

 

 

 

***