ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกกคืนสู่ธรรมชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 16 ส.ค.2559 อาจารย์และนักศึกษา ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์ กว่า 100 คน ร่วมกันปล่อย  อึ่งโกก (อึ่งปากขวด) กว่า  2 หมื่นตัว คืนสู่ป่าธรรมชาติ  ด้านหลัง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นอึ่งที่เพาะขยายพันธุ์ โดยอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

 

ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกกคืนสู่ธรรมชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล

อึ่งโกกเป็นสัตว์ป่าที่หาทานยาก จะหาได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ซึ่ง ปีหนึ่งๆ จะออกมาให้ชาวบ้านจับเป็นอาหารเพียงครั้งเดียว โดยธรรมชาติของอึ่งจะออกมาส่งเสียงร้อง เพื่อผสมพันธุ์เพียงฝนตกหนักครั้งแรก เท่านั้น จึงง่ายต่อการถูกจำเป็นอาหารเท่านั้น  ปัจจุบันอึ่งโกก มีจำนวนลดลงและหาทานยากมากขึ้น  เนื่องจากผืนที่ป่ามีน้อย  อีกทั้งยังถูกล่า  จากสัตว์ เช่นงู  เป็นต้น   เพราะอึ่งโกก เป็นสัตว์ประเภทเดียวกับกบ  แต่กระโดดหรือเคลื่อนตัวได้ช้า กว่ากบ  จึงทำให้ง่ายต่อการถูกล่าซึ้งอึ่งโกกยัง เป็นเมนูอาหารจานเด็ดของประชาชนทั้วไป และยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ เช่น ประเทศ ญี่ปุ่น ที่นิยมทานอาหารป่า โดยนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ต้มยำอึ่งโกก  ยำหรือลาบอึ่งโกก อึ่งย่าง  และยังเป็นที่ต้องการของตลาด  ซึ้งราคาขายของอึ่งโกกที่ขายอยู่ตามท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ ประมาณ 200 – 300 บาท

 

ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกกคืนสู่ธรรมชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล

ด้าน อ.ปิยพงษ์  บางใบ  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ผู้เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกก  กล่าวว่า อึ่งโกก ที่ปล่อยคืนป่าครั้งนี้ มีอายุ 1 เดือน  ที่ได้จากการทดลองวิจัยเพาะพันธุ์เป็นผลสำเร็จ   เมื่อ ปี พ.ศ.2558 และสามารถคืนอึ่งโกกที่เจริญเติบโตสู่ธรรมชาติแล้ว 1 ครั้ง จำนวนกล่าว 1 แสนตัวในป่าชุมชน  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ขั้นตอนการเพาะพันธ์อึ่งโกกนั้น  คือ  การจับอึ่งโกกเพศเมียที่กำลังอยู่ในช่วงเจริญเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์  ในป่าชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  มาฉีดฮอร์โมน จากนั้นนำอึ่งเพศเมียที่ฉีดฮอร์โมนแล้วไปอยู่รวมกับอึ่งตัวผู้ในบ่อพักที่มีการจัดสถานที่ให้เสมือนกับธรรมชาติให้มากที่สุด  บ่อยให้มีการผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ  อึ่งจะใช้เวลาวางไข่ 3 วัน  จึงให้อาหารผงแก่ตัวอ่อนของอึ่ง(อาหารผง  คือ  อาหารปลาดุกที่บดแล้ว)  จากนั้น 15 วันอึ่งจะเริ่มออกขา  จากนั้น 1 เดือน  จะมีขาครบทั้ง 2 ข้าง  และอีก 35 วัน  หางของอึ่งจะหดจึงสามารถนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้

 

ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกกคืนสู่ธรรมชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล

 

ผู้ที่สนใจวิธีการเพาะพันธุ์อึ่งโกกเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม  สามารถขอรับข้อมูลและคำแนะนำได้ กับ อ.ปิยพงษ์  บางใบ  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย  คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

 

ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์ เพาะขยายพันธุ์อึ่งโกกคืนสู่ธรรมชาติ ถวายเป็นพระราชกุศล

 

ภาพ/ข่าว : ชัยกฤต คล้ายแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เพชรบูรณ์