สบส.ทดสอบเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นออฟโรด พร้อมชู ศสมช.บ้านรางกะพอน นำร่องจัดการสุขภาพโดยประชาชน

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

นวต.นพ.บุญเรือง  ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่บ้านรางกะพอน  ต.ทุ่งทอง  อ.ท่าม่วง   จ.กาญจนบุรี  ว่าเมื่อเร็วนี้  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ได้ลงพื้นที่สุขศาลาพระราชทานบ้านปิล๊อกคี่ อ.ทองผาภูมิ   เพื่อติดตามผลการพัฒนาระบบบริการผู้เจ็บป่วยของทางสุขศาลา  เนื่องจาก สุขศาลาพระราชทานบ้านปิล๊อกคี่   เป็นสุขศาลาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวอำเภอทองผาภูมิ   การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบากและต้องใช้เวลานาน   อุปกรณ์การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัย  และสามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สบส.ทดสอบเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นออฟโรด พร้อมชู ศสมช.บ้านรางกะพอน นำร่องจัดการสุขภาพโดยประชาชน

ในครั้งนี้   ทางกรมฯ ได้นำเอาเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นออฟโรด ซึ่งเป็นนวัตกรรมอุปกรณ์การแพทย์ต้นแบบ  พัฒนาโดยกองวิศวกรรมการแพทย์  มาทำการทดสอบสมรรถนะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ในสถานที่จริงที่ไม่มีถนนเข้าถึง   เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นนี้   ที่ได้รับการออกแบบให้มีน้ำหนักเบากว่าเตียงรุ่นเก่า   แต่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักของผู้เจ็บป่วยได้มาก   รวมทั้ง ยังมีระบบการช่วยทดน้ำหนัก การปรับขนาดล้อของเตียงให้สามารถรองรับกับรถได้หลากหลายขนาด   รวมถึง มีระบบป้องกันคนไข้ตกหล่นและยึดเตียงเข็นเอาไว้กับผู้หน้าที่ขนย้าย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจเป็นอันตรายกับผู้เจ็บป่วยที่อยู่บนเตียง ทั้งนี้ หลังการทดสอบสมรรถภาพ ทางกรมจะได้นำเอาข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงเตียงเข็นผุ้ป่วยรุ่นออฟโรดนี้ ให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ก่อนดำเนินการส่งมอบเตียงรุ่นนี้ ให้กับสุขศาลาพระราชทานทุกแห่งทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายเอาไว้ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความสะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิมมากต่อจากนั้น    ได้นำสื่อมวลชนและผู้บริหารลงพื้นที่ดูผลงานจริง

 

สบส.ทดสอบเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นออฟโรด พร้อมชู ศสมช.บ้านรางกะพอน นำร่องจัดการสุขภาพโดยประชาชน

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กล่าวว่า ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  นับเป็นสถานบริการสุขภาพเบื้องต้นประจำชุมชน  ในการสร้างสุขภาพดีดำเนินงานโดย  อสม.  ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน  ซึ่งมีคณะนี้มี 1 ล้าน 4 หมื่นกว่าคน  เฉลี่ยหมู่บ้านละ 10-15 คนเริ่มตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมามีกว่า 60,000 แห่ง  ครอบคลุมทุกชุมชนเป็นจุดแข็งระบบสาธารณสุขไทย  ที่มีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานร่วมกับภาครัฐ  ที่ผ่านมา  ประชาชนละเลยดูแลสุขภาพตนเอง  เมื่อเจ็บป่วยจึงไปพึ่งโรงพยาบาล  ทางที่โลกที่ป่วยร้อยละ 80 เป็นโรคทั่วไปไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ทำให้โรงพยาบาลแน่แออัด  การพึ่งพิง ศสมช. ลดลงเรื่อยเรื่อยๆ ดังนั้นกรม สบส. มีนโยบายพัฒนา ศสมช. ให้มีความเข้มแข็งโดยในปี 2560 นี้  ตั้งเป้าหมายจำนวน 6,469 แห่ง  เพื่อให้เป็นสถานบริการสาธารณสุขของชุมชน

 

สบส.ทดสอบเตียงเข็นผู้ป่วยรุ่นออฟโรด พร้อมชู ศสมช.บ้านรางกะพอน นำร่องจัดการสุขภาพโดยประชาชน

 

ภาพ / ข่าว : จตุรพร สุขอินทร์ - ธาริณี แพทย์เมืองจันทร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.กาญจนบุรี