คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

มีเด็กไทยหลายคนที่ได้ไปสร้างชื่อเสียให้กับประเทศไทย มีทั้งไปแล้วได้รับการนำเสนอข่าว หรือแม้กระทั่งไปแบบเงียบๆ แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นถือเป็นชื่อเสียงของประเทศและความสามารถของเด็กไทย ดังเช่นกรณีนี้ นายวรวุฒิ จันทร์หอม (มอส) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งได้รับารคัดเลือกจาก องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ในการนำข้อเสนอโครงการขึ้นไปทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยนายทะคุยะ โอนิชิ  ถือเป็นอีก 1 ความสามาถของเด็กไทยที่ไปไกลถึงเมืองนอกแต่กลับไม่มีการนำเสนอข่าว ดังกล่าว

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

โดยเฟซบุ๊ก Sirisak Borisutsawat  ได้โพสต์เรื่องดังกล่าวลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า

 

" เด็กไทยสร้างชื่อเสียง (แบบไม่ค่อยเป็นข่าว) อีกแล้วครับ น้องมอส Mos's Worawut นักศึกษาปี 2 จาก มจธ. ตัวแทนเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 เยาวชนทั่วโลก ที่ส่งการทดลองขึ้นไปกับนักบินอวกาศ JAXA ชาวญี่ปุ่น เพื่อทำการทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เมื่อวานนี้
ผลปรากฎว่าการทดลองเรื่อง Capillary in zero gravity ของน้องมอสนั้นประสบความสำเร็จด้วยดี พร้อมกับได้พูดคุยสดกับนักบินอวกาศท่านนั้นด้วย การทดลองทั้ง 5 เรื่องนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและมีการถ่ายทอดสดด้วยโดยสถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่น​ (ดูลิงค์ข่าวในคอมเมนต์ด้านล่าง)
แหม.. ถ้าเฮียสรยุทธยังทำรายการอยู่ ผมจะยุให้เชิญน้องเค้ามาสัมภาษณ์ .... น่าภูมิใจแทนคุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์จริงๆ ครับ"

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

โดยข้อโครงการดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสนอโครงการ “Capillary in Zero gravity” (file_extension_pdfไฟล์ Proposal โครงการ)
นายวรวุฒิ จันทร์หอม (มอส)
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
ได้รับคัดเลือกจาก องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ให้นำข้อเสนอโครงการขึ้นไปทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยนายทะคุยะ โอนิชิ (Mr.Takuya Onishi) มนุษย์อวกาศชาวญี่ปุ่น ในวันพุธที่ 14 ก.ย. 59

 

1. ที่มาของไอเดีย
จุดเริ่มต้นของการทดลองนี้มาจากการทำ Lab ในห้องเรียน ซึ่งผมสังเกตว่าของเหลวที่อยู่ในภาชนะที่มีลักษณะเป็นหลอด ผิวของน้ำจะมีลักษณะแตกต่างกัน บางผิวมีลักษณะเว้าขึ้น บางผิวมีลักษณะเว้าลง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการอ่านข้อมูล ผมจึงเริ่มหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการทดลองในครั้งนี้ และพบว่าความเว้านูนของน้ำขึ้นอยู่กับแรง adhesive และ cohesive ซึ่งในสมการจะมีแรงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอยู่ในสมการ ผมจึงสงสัยว่าถ้าทดลองในสภาวะไร้น้ำหนัก ลักษณะของผิวของเหลวจะเป็นอย่างไร โดยการทดลองจะนำของเหลวต่างชนิดกันมาบรรจุในเข็มฉีดยา (Plastic syringe) จากนั้นสังเกตผิวของของเหลวแล้วนำมาเปรียบเทียบกับการทดลองบนโลก

 

2. ความรู้สึกที่ได้รับการคัดเลือกจาก JAXA
ผมรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากครับ ที่การทดลองของผมได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 ของการทดลองในปีนี้ และเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ได้เข้าร่วมโครงการกับองค์กรระดับโลกอย่าง JAXA ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้เอาข้อสันนิฐานไปพิสูจน์และผลจากการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงครับ

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

 

คนเก่ง ที่ถูกลืม!! "นศ.ปี2 มจธ." สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไกลถึงญี่ปุ่น ถูกคัดเลือกขึ้นสถานีอวกาศ ทดลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง!!

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nstda.or.th ,Beng Paritat ,Sirisak Borisutsawat