เป็นเกษตรกรดีเด่นไม่ยาก!!เพียงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวง ร.๙ มาใช้ !!ทำให้ได้พบความสุขอย่างแท้จริงบนผืนนาผืนไร่

www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 24 ต.ค.59 ที่ผ่านมา นายบุญเลี้ยง ข่ายม่าน เกษตรจังหวัดนครปฐม และนายประมวล ง้วนพริ้ง เกษตรอำเภอกำแพงแสน ได้เดินทางไปพบนายสุธรรม จันทร์อ่อน อายุ 59 บ้านเลขที่ 54 หมู่ 10 ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นเกษตรกรแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อตรวจเยี่ยม

 นายสุธรรม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนทำเกษตรมาแล้ว 17 ปี และเกิดมาในแวดวงของเกษตรกร ที่ห้อมล้อมในธรรมชาติของความเป็นไทยตั้งแต่วัยเด็ก ผมเฝ้ามองผืนนา ผืนไร่ และเฝ้าคิดว่าเมื่อเติบโตใหญ่จะรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ของแผ่นดินไทย จากวันนั้นที่ผมมุ่งมั่น ผมได้เรียนรู้และนำแนวทางของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งผมได้เข้ารับการอบรม จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน และได้เข้ารับการศึกษาดูงานจากสถานที่ต่างๆอีกหลายครั้ง

 ผมพบว่า องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติและประสบการณ์ที่สร้างสม สามารถนำมาแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพการดำเนินชีวิต และที่สำคัญ บทบาทของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตรมอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน(กศน.) ที่เป็นองค์กร การเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ ใหม่ๆที่พัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสมดุลย์ จนผมได้ใช้ความรู้ จัดทำศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตามแนวเศษรฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย (เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ)เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับบุคคลชุมชน ทั้งใกล้และไกล เพื่อยืนยันว่าผมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จนทำให้ผมและครอบครัวได้พบความสุขอย่างแท้จริง โดยยึดหลัก พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้คู่คุณธรรม นำไปสู่เศษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สมดุล พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของสังคม

 ในอนาคตข้างหน้านี้ ศูนย์แห่งนี้จะพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เกษตรธรรมชาติ อย่างแท้จริง และเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรธรรมชาติแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ การทดลอง การผลิต การจำหน่าย การตลาด และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ ที่สำคัญของการทำการเกษตรแบบธรรมชาติที่ยึดชุมชนเป็นหลัก เน้นการมีส่วนร่วมในการคิด ทำ และพัฒนาความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย เป็น ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครปฐมเป็นเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ สาขาบัญชีฟาร์มเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา กศน.อำเภอกำแพงแสน เป็นอาจารย์สอนพิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆเช่น มสธ. ม.ศิลปกร ม.ราชภัฎ ม.เกษตร และสถานบันทางการศึกษาอีกหลายแห่ง ในเรื่องของ เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ จากความรักธรรมชาติ และเห็นความสำคัญของการเกษตร ได้เข้าศึกษาของศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน (กศน.) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในขณะเดียวกันได้เข้ารับการอบรมโครงการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการฝึกอาชีพระยะสั้น หลักสูตรการทำนาแบบไม้ใช้สารเคมีและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพหลักสูตรต่างๆที่ทาง กศน.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกๆด้านรวมทั้งการเดินทางไปเรียนรู้ศึกษาดูงานไปในสถานที่ต่างๆ เช่น โครงการช่างหัวมัน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขาหินซ้อน อื่นๆอีกมากมาย และได้นำกลับมาพัฒนา ตนเองและชุมชน

เป็นเกษตรกรดีเด่นไม่ยาก!!เพียงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวง ร.๙ มาใช้ !!ทำให้ได้พบความสุขอย่างแท้จริงบนผืนนาผืนไร่

 จากการประสานงานของครู กศน. เกษตรจังหวัดนครปฐม และหน่วยงานทางราชการภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ตนได้ตระหนักในหลักปรัชญญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงน้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งเรียนรู้เพิ่มเติมจาก กศน. และภูมิปัญญาอื่นๆ และนำกลับมาปฎิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป จนเกิดการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลายขึ้นโดยใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชนในชุมชนและนักศึกษา กศน.นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆจนถึงระดับมหาวิทยาลัย จะเข้ามารับการเรียนรู้และรับการอบรมอยู่เป็นประจำจากการเริ่มต้น นายสุธรรม จันทร์อ่อน มีความมุ่งมั่น อดทนและเข้มแข็ง เพื่อนำพาตัวเองสู่การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ในปี2550 และได้ดำเนินการเรื่อยมา โดยในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ได้จัดทำหลักสูตรที่ใช้ในการอบรม ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน (กศน.)ในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี เอกสารประกอบการบรรยาย การเผลแพร่องค์ความรู้ ด้านการทำเกษตรแบบวิถีธรรมชาติ รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนที่จะได้รับประโยชน์อันสูงสุดในการเรียนรู้ในศูนย์แห่งนี้ ก้าวต่อไปศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย

 

 

ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน มีสิทธิในการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจ อย่างมีอิสระ แนวทางในการพัฒนา จึงต้องใช้พื้นฐานของความพอเพียง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ใช้ความรู้คู่คุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตเพื่อให้สามารถดำรงค์อยู่อย่างยั่งยืนและมั่นคง ภายใต้โลกาภิวัฒน์และกระแสความเปลี่ยนแปลง โดยมีความร่วมมือเป็นเครือข่ายและMOUกับศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน (กศน.) เพื่อเผลแพร่ความรู้สู่ชุมชน สังคมให้เข้มแข็ง ยั่งยืนและมั่นคงต่อไป

 นายสุธรรม กล่าวต่อว่า ตนได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ในการประกอบอาชีพ โดยยึดหลักตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก ขยัน ประหยัด มีการจดบันทึกแบบฟาร์ม และนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และมีการวางแผนการทำงาน การดำเนินชีวิตปรับเปลี่ยนการทำงานจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ที่มุ่งการผลิตเพื่อขายมาเป็นการผลิตเพื่อใช้เอง กินเอง เหลือจึงจะจำหน่าย จนมีความมั่นคงทางฐานะครอบครัว ไม่มีภาระหนี้สิน มีเงินออม เป็นที่ยอมรับจากคนในชุมชน จากความสำเร็จทำให้นายสุธรรม เป็นต้นแบบของผู้ที่สนใจ เข้ามาศึกษา ดูงาน วิธีการทำงาน. โดยนายสุธรรม ได้ใช้พื้นที่ของตนเอง สร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ เข้ามาศึกษา มีการจัดอบรม เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติของหน่วยงานต่างๆภายในศูนย์

เป็นเกษตรกรดีเด่นไม่ยาก!!เพียงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวง ร.๙ มาใช้ !!ทำให้ได้พบความสุขอย่างแท้จริงบนผืนนาผืนไร่

จะแบ่งเป็นฐานเรียนรู้ต่างๆได้แก่ การปลูกพืชผักแบบผสมผสาน การตอนไผ่ การเลี้ยงไข่ได่อินทรีย์ในสวนไผ่ การทำนาแบบโยนกล้า การเลี้ยงปลาด้วยอาหารธรรมชาติการเลี้ยงหมูแบบปล่อยลาน การเพาะถั่วงอกอบบคอนโด การเพาะเห็ดโอ่ง การทำปุ๋ยหมัก การทำโบกาฉิ การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยหน่อไผ่ การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผัก เศษอาหาร การทำน้ำหมักมะกรูด การทำก้อนบำบัดน้ำเสีย การทำน้ำยาอเนกประสงค์ การทำแก๊ส ชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษอาหาร การวิเคราะห์บัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนเพื่อชีวิตพอเพียง การใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวันและการเกษตร และการทำการเกษตรธรรมชาติ การจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีอยู่ จะใช้ระบบการเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นหลัก  จากความใฝ่เรียนรู้ มุ่งพัฒนา อดทน ขยัน และมีการวางแผนชีวิตการทำงานจากการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการประกอบอาชีพ โดยใช้บัญชีต้นทุน จึงมีการวางผังการทำงานในพื้นที่ที่มีอยู่ โดยเน้นต้นทุนที่ต่ำที่สุด โดยใช้ต้นทุนธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ ซึ่งจากเดิมปลูกพืชชนิดละแปลง เปลี่ยนเป็นปลูกแปลงเดียวกัน เพื่อให้พืชเกื้อกูลกัน โดยเป็นแปลงปลูกพืชผสมผสาน5ไร่ แปลงหญ้าเลี้ยงวัว 12ตัวในเนื้อที่10ไร่ซึ่งมีการขุดบ่อปลาภายในพื้นที่ด้วย นำมูลวัวที่เลี้ยงมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในแปลงผักและหน่อไม้ฝรั่ง3ไร่ ทำนา3ไร่ ในพื้นที่เช่า4ไร่ ใช้เป็นที่เลี้ยงเป็ด25ตัว น้ำที่อยู่ในบ่อปลาก็นำไปใช้ในแปลงนาด้วย นำได้ไข่มาเลี้ยงในแปลงไผ่ซึ่งเดิมเป็นแปลงผัก จำนวน150ตัวพื้นที่1ไร่ นำมูลไก่ที่ได้ มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อใส่ในแปลงผัก เศษผัก ที่เหลือจากการตัดแต่งนำมาเป็นอาหารปลา และนำน้ำชีวภาพ นำหมูมาเลี้ยงแบบปล่อยลาน มีเครื่องสีข้าว รับสีข้าวจากสมาชิกในชุมชน นำลำและปลายข้าวที่ได้จากการสีข้าวมา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว โดยผสมกับหยวกกล้วย และผักตบชวา นำมูลสุกรมาทำแก๊สชีวภาพ และทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในแปลงผักและนาข้าวต้นทุนการผลิตจึงมาจากในฟาร์มทั้งหมด มีการลดรายจ่ายโดยการทำน้ำหมักมะกรูดมาทำน้ำยาอเนกประสงค์ ล้างจาน ซักผ้า ล้างรถ ล้างห้องน้ำ ถูพื้น มีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์ และมีผู้รับซื้อประจำ สัปดาห์ละ 4 วัน รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเป็นเงินออม ผลการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2553มีรายได้ทั้งสิ้น 1,503,440 บาท หักค่าใช้จ่ายทั้งหมด 768,900 บาท เหลือรายรับสุทธิ694,540 บาท จากผลงานและความสำเร็จทำให้มีเกษตรกรที่สนใจเข้าอบรมเรียนรู้ จำนวนกว่า 2,035 ราย จุดเด่นของเกษตรกรที่ทำเกษตรธรรมชาติ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสภาพพื้นที่ดิน ได้ทำการเกษตรเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อย ที่ขาดการบำรุงรักษาดิน และมีการใช้สารเคมี ติดต่อกันเป็นเวลานาน ประกอบกับสภาพดิน เป็นดินเหนียว ทำให้ดินเสื่อมโทรม หน้าดินแข็ง ไม่อุ้มน้ำ ดินชั้นล่างเป็นดินดาน ระบายน้ำไม่ดี ฤดูฝนน้ำท่วมขัง พืชผักเสียหายจากผลการปรับปรุงบำรุงดินโดย ใส่ปุ๋ยหมักไถกลบวัชพืช ปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ ปลูกหญ้าแฝก เพื่อระเบิดดินด้าน ทำให้หน้าดินชุ่มชื้น ร่วยซุย อุ้มน้ำได้ดี ดินด้านเกิดรูพรุน ทำให้ระบายน้ำใต้ดินได้ดี ดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นแบบผสมผสาน มาบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อใช้ทำกิจกรรมการเกษตร มีปศุสัตว์ ประมง ปลูกพืชหลากหลาย ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ร่มเงา เกิดการเกื้อกูล กลับคืนสู่ธรรมชาติและเป็นการฟื้นคืนสภาพแวดล้อม เกิดความหลากหลายทางชีวภาพเกิดวงจรชีวิตและห่วงโซ่อาหาร เป็นระบบนิเวศน์ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิตทำให้ไม่เกิดสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 ปลูกไม้ยืนต้น พืชกันลม ที่สามารถใช้สอยได้โดยไม่ตัดไม้ทำลายป่า ป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพร การเขตกรรม การสร้างระบบนิเวศน์และความสมดุลทางธรรมชาติปฏิบัติตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP)การปศุสัตว์ และการทำนาอินทรีย์ มีการกำจัดอุปกรณ์ทางการเกษตร คอกสัตว์ โรงผลิตปุ๋ย โรงสีข้าว โรงเก็บผลผลิตเป็นสัดส่วนง่ายต่อการจัดการด้านสุขลักษณะฟาร์ม การทำนา แบบไม่เผาตอซัง การปลูกพืชปรับปรุงดินในนาข้าว เช่น ปอเทือง และพืชตระกูลถั่ว มีการอนุรักษ์และปลูกป่าสมุนไพรในชุมชน พื้นที่ประมาณ 90 ไร่ มีสมุนไพรกว่า500ชนิด มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอรุรักษ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นต้นแบบของการทำไร่นาสวนผสม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่

 มีการจดบันทึกและทำบัญชีฟาร์มต่อเนื่อง และใช้หลักวิเคราะห์บัญชีเป็นเครื่องมือในการวางแผนครอบครัว การประกอบอาชีพเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรนำไปใช้วางแผนการดำรงค์ชีวิตจนได้รับรางวัลพระราชทานเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาบัญชีฟาร์มปีพ.ศ. 2553 สร้างองค์กรเครือข่ายการเชื่อมโยงการผลิตการตลาดแบบครบวงจร สร้างแกนนำเครือข่ายให้เกษตรกรนำไปขยายผลในพื้นที่ของตนเองและชุมชน เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานเรียนรู้ 20 ฐานวิทยากรเป็นประจำศูนย์ฯจำนวน9คน เป็นวิทยากรและปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร การแพทย์แผนไทย การพัฒนาชุมชนด้านการศึกษาและบัญชี การฝึกอบรมด้านอาชีพเกษตรกรหลักสูตรการทำนาแบบไม่ใช้สารเคมีและการทำปุ๋ยชีวภาพสูตรต่างๆหลักสูตรระยะสั้น กศน. อำเภอกำแพงแสน...

เป็นเกษตรกรดีเด่นไม่ยาก!!เพียงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในหลวง ร.๙ มาใช้ !!ทำให้ได้พบความสุขอย่างแท้จริงบนผืนนาผืนไร่

ปนิทัศน์ มามีสุข ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นครปฐม