ชาวโซเชียลแห่แชร์ "ลูกบอลดับเพลิง" ฝีมือคนไทย ควรมีไว้ในรถตู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟลุกท่วม !! (คลิป+รายละเอียด)

ลูกบอลดับเพลิง ฝีมือคนไทย ควรมีไว้ในรถตู้โดยสาร

หลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรมรถตู้ประสานงานกับรถกระบะ จนเกิดไฟลุกไหม้รถตู้ และมีผู้เสียชีวิตถึง 25 ราย เหตุเกิดในพื้นที่ จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้หลายคนออกมาเสนอแนะถึงแนวทางในการป้องกันเหตุการณ์ไฟไหม้ในรถยนต์ ล่าสุด นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ เจ้าของและนักประดิษฐ์ผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ลูกบอลดับเพลิง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Phanawatnan Kaimart”ได้โพสต์ภาพลูกบอลดับเพลิง ยี่ห้อ อิไลด์ไฟร์ (Elide Fire) ซึ่งผลิตโดยฝีมือคนไทย สร้างความฮือฮาโด่งดังไปทั่วโลก พร้อมข้อความระบุว่า หากรถตู้ติดแก๊ส ติดลูกบอลตัวนี้ไว้ในห้องเครื่อง เมื่อเกิดเปลวไฟ ลูกบอลจะทำการดับไฟให้ทันที โดยลูกบอลสามารรับอุณหภูมิได้ 85 องศา ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้โดยสารปลอดภัยแน่นอน

ชาวโซเชียลแห่แชร์ "ลูกบอลดับเพลิง" ฝีมือคนไทย ควรมีไว้ในรถตู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟลุกท่วม !! (คลิป+รายละเอียด)

วิธีการใช้ Elide Fire (ลูกบอลดับเพลิง)

ชาวโซเชียลแห่แชร์ "ลูกบอลดับเพลิง" ฝีมือคนไทย ควรมีไว้ในรถตู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟลุกท่วม !! (คลิป+รายละเอียด)

โยนลูกบอลนี้เข้าไปในกองเพลิงไฟ ก็จะช่วยระงับเหตุได้ ข้อดีคือ แม้แต่ "เด็ก" ก็ใช้งานได้ ส่วนคนชราก็สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือตัวเองในยามขับขันได้เช่นกัน รวมถึงสามารถนำไปแขวนไว้ในสถานที่ เพื่อเสริมทัพชุดดับเพลิงฉุกเฉิน เพราะบอลดับเพลิงจะทำงานเองในทันที

 

 

ชาวโซเชียลแห่แชร์ "ลูกบอลดับเพลิง" ฝีมือคนไทย ควรมีไว้ในรถตู้โดยสาร เมื่อเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟลุกท่วม !! (คลิป+รายละเอียด)

 

ลูกบอลดับเพลิงแตกต่างจากถังดับเพลิงอย่างไร

ลูกบอลดับเพลิง
1.ใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้ทันที แม้ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรบมาก่อน
2.น้ำหนักเพียง 1.3 กิโลกรัม จึงไม่เป็นอุปสรรคสำหรับ เด็ก สตรี และคนชราที่จะใช้งาน
3.หยิบจับง่าย รูปทรงกลม สมารถขว้าง หรือ โยนเข้ากองเพลิง โดยที่ไม่ต้องเข้าใกล้ความร้อน
4.ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาตลอดอายุการใช้งาน
5.เสียงดังเป็นระดับตกกระแทก จะช่วยเตือนให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงทราบว่ามีเพลิงใหม้บริเวณนั้น
6.ติดตั้งง่ายด้วยชุดอุปกรณ์มาตรฐาน
7.ทำงานเองอัตโนมัติเมื่อสัมผัสกับเปลวไฟ
8.วัสดุและสารเคมีที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ถังดับเพลิง
1.ผู้ใช้ต้องผ่านการฝึกอบรมจึงจะสามารถใช้ได้ถูกวิธี
2.น้ำหนักมา น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 5 กิโลกรัมขึ้นไป
3.หยิบจับยาก เนื่องจากขนาดของถังดับเพลิง และต้องใช้ในระบะประชิดกองเพลิง
4.ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และต้องเติมน้ำยาทุกๆ 6 เดือน
5.ถังดับเพลิงไม่มีเสียงเตือนให้บุคคลรอบข้างทราบว่าเกิดเพลิงไหม้บริเวณนั้นๆ
6.ติดตั้งยากเนื่องจากมีขนาดใหญ่
7.ต้องมีคนมาหยิบไปใช้งาน จึงจะใช้ได้
8.ต้องมีการหมั่นตรวจสอบสายฉีดเคมีอาจรั่ว ฉีดเคมีไม่ออก

 

 

 

 

 

CR.ข้อมูลเฟสบุค Phanawatnan

เรียบเรียง : อาทิชา