รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันและช่วยเหลือภัยแล้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรโดยใช้ Agri-Map จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

วันนี้ (10 มีนาคม 60)ที่ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดชัยนาท พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ จ.ชัยนาท โดยมี พลตรี อิทธิพล สุวรรณรัฐ ผบ.มทบ.13 พลตรี ธนิสร วงษ์กล้าหาญ ผบ.กองพลทหารปืนใหญ่จังหวัดลพบุรี นายนิมิต วันไชยธนวงษ์ ผวจ.ชัยนาท ให้การต้อนรับและ ดร.ทองเปลว รองอธิบดีกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง รายงานสรุปการดำเนินการตามแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 59/60 จากนั้นได้เดินทางมาดูแปลงปลูกถั่วลิสง ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท

จากภัยแล้งที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ในหลายพื้นที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เนื่องจากสภาวะขาดน้ำ แต่ยังมีเกษตรกรในพื้นที่ ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท ที่หันมาปลูกถั่วลิสง ซึ่งเป็นพืชใช้น้ำน้อย และที่สำคัญรายได้ดีกว่าการทำนาข้าวด้วยเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ต.ธรรมามูล อ.เมืองชัยนาท ได้พยายามหาพืชทดแทนมาเพาะปลูกแทนการทำนาข้าว เนื่องจากในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอที่จะทำนาปรัง จึงหันไปปลูกถั่วลิสง โดยปรับพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาในการเพาะปลูกเกษตรในพื้นที่ เปิดเผยว่า ปกติพื้นที่นี้ช่วงฤดูฝนแถบนี้น้ำท่วมถึง แต่ในหน้าแล้งทุกปีระดับน้ำจะลงต่ำ ทำให้นำรถลงมาไถหว่านปลูกถั่วลิสงได้ โดยอาศัยสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาใช้ ซึ่งถั่วลิสงจะเริ่มเพาะปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.โดยการลงทุนต่อไร่จะอยู่ที่ 7,000 บาท ใช้เวลาในการปลูก 60 วัน เมื่อทำการเก็บเกี่ยวจะมีรายได้ถึงไร่ละ 17,000 บาท หรือกำไรไร่ละ 10,000 บาท ในการขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง แต่ถ้าขายปลีกให้แม่ค้าที่นำไปต้มขายจะได้ราคาถึง 23,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเมื่อเทียบกันแบบไร่ต่อไร่แล้ว ดีกว่าการทำนาเป็นอย่างมาก 

 

รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันและช่วยเหลือภัยแล้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรโดยใช้ Agri-Map จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี

 

จากนั้น ได้เดินทางมาที่กลุ่มแปลงปลูกข้าวๆ ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท รายได้ของเกษตรกรจากการปลูกถั่วลิสงเมื่อเปรียบเทียบกับการเพาะปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่ 1 ไร่เท่ากัน การปลูกถั่วลิสงจะมีรายได้สุทธิสูงกว่าการปลูกข้าวนาปรัง 5,659 บาท หรือมีรายได้สูงกว่าการปลูกข้าวนาปรัง 5.89 เท่า
 

รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันและช่วยเหลือภัยแล้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรโดยใช้ Agri-Map จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี

พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท อำเภอสรรคบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 221,748 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 187,800 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 15,477 ไร่ พื้นที่สาธารณะ 3,830 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ 14,641 ไร่ โดยพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 172,313 ไร่ รองลงมาเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล 7,629 ไร่ พืชไร่ 3,847 ไร่ พืชผักและพืชอื่นๆ 4,113 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน ทั้งนี้ยังมีคลองชลประทานจำนวนหลายสายไหลผ่านพื้นที่โดยนาปรังจะปลูกในช่วงเดือน พย.- เมษานาปรัง พค.-สค.

 

รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันและช่วยเหลือภัยแล้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรโดยใช้ Agri-Map จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี

ช่วงบ่าย พลเอก ฉัตรชัย สาลิกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม  บ้านนายสาวิด  แสงตะคร้อ ประธานกลุ่มองค์กรเกษตรกรบ้านคลองใหญ่ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร บ้านเลขที่ 65 ม.14 ต.หนองแซง อ.หันคา จว.ชน.
เป็นพื้นที่เกษตรทฤษฏีใหม่ตามรอยพ่อ บนเนื้อที่ 30 ไรโดยแบ่งเป็นพื้นปลูกต้นหม่อนใหม เพื่อเป็นอาหารสัตว์ จำนวน 10 ไร่  แบ่งเป็นแปลงนาปลูกข้าว จำนวน 10 ไร่พื้นที่ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ (วัว) จำนวน 3 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร,เป็ด,ไก่ และบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 ไร่
พื้นที่ใช้สอยที่อยู่อาศัย จำนวน 4 ไร่ มีการทดลองทำอาหารสัตว์ขึ้นเองโดยการใช้ใบหม่อนและพืชต่างๆโดยได้รับปารสนับสนุนสูตรการทำจาก กรม ปศุสัตว์ เพื่อถ่ายทอดให่กับสมาชิกในกลุ่ม และบุคคลทั่วไปและได้มอบโคให้แก่เกษตร จำนวน 20 ตัว

 

รมว.เกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการป้องกันและช่วยเหลือภัยแล้ง การปรับเปลี่ยนการเกษตรโดยใช้ Agri-Map จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี

 

และ เดินทางมาตรวจเยี่ยมพื้นที่ปลูกหญ้แพงโกล่า ต.หางน้ำสาคร อ.มโนรมย์ ที่เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมไปปลูกหญ้าแพงโกล่าและเลี้ยงแพะซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการพักนาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของกินก่อนทำนารอบต่อไป

 

ภาพ/ข่าว ชฎารัฐ  จันทร์พาหิรกิจ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจ.ชัยนาท