ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

                    กระทรวงอุตสาหกรรม รุกพื้นที่สระแก้ว หนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนกัมพูชา หนุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก ตั้งเป้าเสริมแกร่งธุรกิจเอสเอ็มอีติดอาวุธครบมือเร่งให้การช่วยเหลือครอบคลุมทุกมิติอย่างสมดุลตามแนวประชารัฐ เตรียมพัฒนาผู้ประกอบการ และพื้นที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าชายแดนเชื่อมต่อกัมพูชา-เวียดนาม ไปยังตลาดโลก พร้อมจับมือ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเอสเอ็มอี เดินหน้า “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ครั้งที่ 4 โดยได้รับเกียรติจาก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน“คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ”  โดยมี นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ให้การต้อนรับ  โรงแรมสเตชั่น วัน อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้

สู่สังคมที่ยั่งยืน!! ก.อุตสาหกรรม หนุนสร้างความเจริญแห่งใหม่ สู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว พร้อมเดินหน้าตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก (มีคลิป)

          นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า การจัด “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 โดยผลักดันการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจากการ “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่การ “สร้างมูลค่า” และการสร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจภายใน (Local economy) ด้วยการเร่งพัฒนาเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง สำหรับครั้งนี้มีเป้าหมายลงพื้นที่ในจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ซึ่งอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ภาคกลางตอนกลางและตะวันออกที่นับเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีมูลค่าทางอุตสาหกรรมสูงที่สุดในอับดับต้น ๆ ของประเทศ เนื่องจากมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชา และยังต่อยอดไปยังเวียดนาม และตลาดโลก

                สำหรับจังหวัดสระแก้ว นับเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจากทั้งหมด 10 แห่งทั่วประเทศ เป็นจุดด่านชายแดนอยู่ที่อรัญประเทศเป็นจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมต่อกับจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา นับเป็นด่านที่มีมูลค่าการค้าระหว่างไทย–กัมพูชาสูงที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ค้าส่งระหว่างประเทศ และค้าปลีกที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากอรัญประเทศตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง และกรุงเทพฯ รวมถึงตั้งอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (GMS Southern Economic Corridor) ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญของไทยในการขนส่งสินค้าไปยังพนมเปญ และเวียดนามตอนใต้ รวมทั้งสามารถร่วมดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วม (Co-Production) กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต-โอเนียง กัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากนักลงทุนไทย เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า กล่องใส่เครื่องประดับ เป็นต้น ด้านมูลค่าการค้าชายแดนไทยได้ดุลการค้าจากการค้าขายกับกัมพูชา ปีละมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยระหว่างเดือนตุลาคม–มีนาคม 2560 ไทยได้ดุลการค้าจำนวน 18,969,731,720 บาท ข้อมูลจากด่านศุลกากรอรัญประเทศ http://www.arancustoms.org ทั้งนี้ สินค้านำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของจุดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา 10 อันดับ ประกอบด้วย

                    โดยเชื่อมั่นว่าอัตราการเติบโตการค้าระหว่างไทย–กัมพูชายังคงเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเนื่อง ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรม จึงเร่งรัดการพัฒนาศักยภาพของเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดสระแก้วให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค สามารถดึงดูดธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมให้เจริญเติบโต โดยมีการสนับสนุน และจูงใจให้เอกชนทำการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศกัมพูชามากขึ้น ซึ่งเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลได้เตรียมที่จะหารือถึงข้อตกลงที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ของทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเตรียมการเยือนกัมพูชาพร้อมร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กันในโอกาสต่อไป

สู่สังคมที่ยั่งยืน!! ก.อุตสาหกรรม หนุนสร้างความเจริญแห่งใหม่ สู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว พร้อมเดินหน้าตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก (มีคลิป)

              นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้เดินหน้าพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดสระแก้ว บทพื้นที่กว่า 660 ไร่ ซึ่งถือเป็นนิคมฯ แห่งแรกในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลได้เดินหน้าในการพัฒนาพื้นที่รองรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นจุดยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ส่งผลให้ขณะนี้ได้เกิดความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่จะนำไปสู่การขยายเส้นทางการค้า และแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ผ่านความร่วมมือโครงการประชารัฐ ซึ่งล่าสุดมี พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) “โครงการประชารัฐ OTOP/SMEs/การท่องเที่ยวและนิคมอุตสาหกรรมสระแก้วในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว” ไปแล้ว และคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างนิคมฯ ในราวปี 2561 โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นเป้าหมาย ได้แก่ โลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้า อาหารและเกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น

สู่สังคมที่ยั่งยืน!! ก.อุตสาหกรรม หนุนสร้างความเจริญแห่งใหม่ สู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว พร้อมเดินหน้าตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก (มีคลิป)

                    “สำหรับจังหวัดในกลุ่มภาคกลางตอนกลางและตะวันออก นับเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของภูมิภาคนี้ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภายใต้วิสัยทัศน์เส้นทางการค้าการลงทุนไปสู่อินโดจีน ฐานการผลิตอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและนวัตกรรมเกษตรแปรรูประดับประเทศแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ สุขภาพ และวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ โดยมีเป้าประสงค์ ต้องการให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและสากล ทางด้านยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย 1) เน้นพัฒนาระบบโลจิสติกส์และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนภาคตะวันออกไปสู่อินโดจีนและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต ระบบการตลาด และโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ (ZONING) เพื่อให้สินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานสากล เชื่อมโยงตลาดรองรับการค้าเสรี 3) พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว และบริการด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สุขภาพ และวัฒนธรรม 4) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และนวัตกรรมเกษตรแปรรูปและสมุนไพร พลังงานทดแทน และยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานและกลุ่มเกษตรกร สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการลงทุนอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) 5) อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา และปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

            สู่สังคมที่ยั่งยืน!! ก.อุตสาหกรรม หนุนสร้างความเจริญแห่งใหม่ สู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว พร้อมเดินหน้าตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก (มีคลิป)

            ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทยและกัมพูชา รองรับก่อนเปิดเป็น        เขตเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ กระทรวงฯ จึงได้ให้การช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้วยเครื่องมือในการต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยใน  ทุกมิติอย่างสมดุล ทั้งการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตรงความต้องการของตลาดเพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการการขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต การพัฒนาผู้ประกอบการ  โดยการเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐานการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงินให้ก้าวสู่ SMART SMEs พร้อมส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงสู่โลกการค้าสมัยใหม่ ผ่านศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีอยู่       ทั่วประเทศ รวมถึงการช่วยเหลือด้านมาตรการการเงินในรูปแบบสินเชื่อกองทุนต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐวงเงิน 20,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ล้านบาท โครงการเงินทุน

สู่สังคมที่ยั่งยืน!! ก.อุตสาหกรรม หนุนสร้างความเจริญแห่งใหม่ สู่พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว พร้อมเดินหน้าตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรก (มีคลิป)

 

           นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า    สำหรับการลงพื้นที่ในจังหวัดสระแก้วนับเป็นครั้งที่ 4 โดยมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในนโยบายการสนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีในด้านต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดยุทธศาสตร์ภาคกลางตอนกลางและตะวันออก ที่ประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด  โดยขณะนี้มีผู้ขอความยื่นคำขอรับความช่วยเหลือเข้ามาแล้วจำนวน 316 ราย วงเงิน 875.88 ล้านบาท และได้อนุมัติรวมทุกกองทุนไปแล้ว จำนวน 57 ราย วงเงิน 212 ล้านบาท

 

 

 

ภาพ/ข่าว  ยุธนา  พึ่งน้อย ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์  จังหวัดสระแก้ว