ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ที่โรงแรมณิสาญ์สิริ บูติค รีสอร์ท อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี นายวินัย พวงบุบผา ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออก แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงการดำเนินงานของธนาคารปีบัญชี 2560 ปี แห่งการรวมพลังเดินหน้าความยั่งยืนให้แก่ลูกค้า และการจัดงานจับรางวัลเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ครั้งที่ 1/2560 โดยในปี 2560 ธ.ก.ส. มีมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยผ่าน ธ.ก.ส. ตามนโยบายรัฐบาลในโครงการ  ชำระดีมีคืนแก่เกษตรกรที่ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ เพื่อตอบแทนและสร้างกำลังใจให้กับเกษตรกรรานย่อยที่มีประวัติการชำระหนี้ดี  ซึ่ง ธ.ก.ส. จะคืนดอกเบี้ยเงินกู้ให้ในอัตราร้อยละ 30 ของจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระ  และในปี 2560 นี้ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกมีนโยบายเป้าหมายเติบโตธุรกิจสินเชื่อ วงเงิน 5,900 ล้านบาท โดยเน้นสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs วงเงิน 3,351 ล้านบาท

ร่วมมือแก้ไข!! ธ.ก.ส.สาขาภาคตะวันออกแนะช่องทางการเข้าถึงแหล่ง "เงินทุน" ในการประกอบอาชีพเกษตร หวังคลายปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกร (มีคลิป)

เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs เป็นหัวขบวนช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ด้วยแนวทาง 5 คีย์เวิร์ด คือ ค้นหา /ต่อยอด /เชื่อมโยง /พัฒนา และขยายผล เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ที่มีเกษตรกรเป็นเครือข่าย ซึ่งไม่ใช่การปล่อยให้เกษตรกรเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอย่างโดดเดี่ยวเพียง     ผู้เดียวอีกต่อไป มุ่งเน้นใช้หลักการบริหารงานแบบตลาดนำการผลิต พร้อมกันนี้ ธ.ก.ส. ยังมีสินเชื่อสานฝันเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ ยังสมาทฟาร์มเมอร์ ที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ทายาทเกษตรกร หรือบัณฑิตจบใหม่ อยากเป็นนายตัวเอง ที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย หรือเป็นทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรืออาชีพเกี่ยวเนื่องกับภาคเกษตรที่นำเอานวัตกรรมการเกษตรมาต่อยอดการจัดการแบบดั้งเดิม โดย ธ.ก.ส.พร้อมปล่อยสินเชื่อรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี หรือร้อยละ 0.59 ต่อเดือน

ร่วมมือแก้ไข!! ธ.ก.ส.สาขาภาคตะวันออกแนะช่องทางการเข้าถึงแหล่ง "เงินทุน" ในการประกอบอาชีพเกษตร หวังคลายปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกร (มีคลิป)

ซึ่งธนาคารตั้งเป้าหมาย จ่ายสินเชื่อวงเงิน 5,000 ล้านบาททั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปี ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออก กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางพาราในพื้นที่ภาคตะวันออกจากราคายางพาราที่ตกต่ำว่า ธ.ก.ส. ได้มีมาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางพาราใน 2 ส่วน  ประกอบด้วย 1.การช่วยเหลือเป็นรายบุคคล ในกรณีประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้ สามารถติดต่อกับทางเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือได้ทันที และ 2. การให้การสนับสนุนสินเชื่อผ่านการรวมกลุ่ม หรือสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือด้านการช่วยพยุงราคายางพาราต่อไป (มีคลิป)

 

ร่วมมือแก้ไข!! ธ.ก.ส.สาขาภาคตะวันออกแนะช่องทางการเข้าถึงแหล่ง "เงินทุน" ในการประกอบอาชีพเกษตร หวังคลายปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกร (มีคลิป)

ภาพ/ข่าว ปริญญา เกษราธิกุล ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.จันทบุรี