ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

     นายชลธี นุ่มหนู ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี นายวินัย ขยันยิ่ง หัวหน้ากลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด นายสมภพ อินทรภักตร์ เกษตรและสหกรณ์จ.ตราด นายสกุล ชาวนา หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และนายพิศิษฐ์ กัณฑิโกวิท เกษตรอำเภอบ่อไร่ พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกันตรวจสอบแปลงทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ของนายสมนึก บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.นนทรีย์ อ.บ่อไร่ จ.ตราด หลังพบว่า ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง อายุ 7 ปี ยืนต้นตายจำนวนมาก

 

 

     จากการตรวจสอบภายในสวนทุเรียนของนายสมนึก บุญธรรม พบว่า ทุเรียนพันธุ์หมอนทองดังกล่าวเป็นโรคไฟทอปธอร่า รากเน่า โคนเน่า ยืนต้นตายทั้งหมด 75 ต้น คงเหลือทุเรียนที่ยังไม่ตายจำนวน 5 ต้น แต่ก็กำลังมีอาการของโรคไฟทอปธอร่าระบาด มีอาการใบเหลือง ใบเหี่ยว โดยนายสมนึก บุญธรรม พยายามทำการรักษาด้วยการใช้ยาทาแผล และใช้สลิงค์ฉีดยา ใส่ยารักษามาฉีดลำต้น แต่ก็มีทีท่าว่าจะตายทั้งหมด หลังสำรวจสภาพทุเรียนทั้งหมดในสวนของนายสมนึกแล้ว จึงประชุมชาวบ้านและเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในหมู่บ้าน ให้ความรู้ด้านการป้องกันและรักษาโรคระบาดของทุเรียน พร้อมสาธิตการรักษาให้ชาวบ้านมีความรู้ในการป้องกันรักษาและสาเหตุของการแพรร่ะบาดของโรครากเน่า โคนเน่า หรือไฟทอปธอร่าของทุเรียนดังกล่าว

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

นายชลธี นุ่มหนู ผอ.ศูนย์วิจันและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี เปิดเผยถึงสาเหตุของการเกิดโรคไฟทอปธอร่าในสวนทุเรียนของนายสมนึกว่า เนื่องจากสภาพดินในสวนทุเรียนของนายสมนึกมีสภาพเป็นกรด หรือดินเปรี้ยวอย่างรุนแรง ประกอบกับนายสมนึก บำรุงทุเรียนให้สมบูรณ์มาก และทำการเร่งทุเรียนให้ออกผลนอกฤดูด้วยการใช้สารเร่งการออกดอก นอกจากนี้ 2 ปีที่ผ่านมา นายสมนึก ให้ทุเรียนติดผลดกมากเกินไป โดยทุเรียนในปีนี้ให้ผลผลิตมากถึงกว่า 8 ตัน ทำให้ทุเรียนเกิดอาการทรุดโทรม อ่อนแอ โรคเชื้อราไฟทอปธอร่าจึงเริ่มเข้าแพร่ระบาดทางรากทุเรียนและลุกลามเข้าลำต้นและกิ่งก้าน จนสุดท้ายทุเรียนจึงยืนต้นตายดังกล่าว แม้นายสมนึกจะพยายามรักษาแต่ก็ไม่สามารถรักษาได้ ทำให้ทุเรียนตายยกสวนดังกล่าว มีวิธีเดียวที่จะแก้ไขได้ คือจะต้องตัดโค่นต้นทุเรียนไปเผาทำลายทั้งหมด แล้วปรับสภาพดินให้หายจากการอาการดินเปรี้ยว ก่อนปลูกทุเรียนใหม่ทดแทน นายชลธี บอกต่อว่า การป้องกันทุเรียนเป็นโรคไฟทอปธอร่า นอกจากชาวสวนจะต้องป้องกันน้ำแช่โคนทุเรียนแล้ว จะต้องตรวจสอบค่าพีเอสของดินไม่ให้เป็นด่าง และต้องตัดเผาทำลายผล กิ่งก้าน ใบของทุเรียนที่เป็นไฟทอปธอร่าให้หมด เนื่องจากจะทำให้ทุเรียนเป็นโรคตายทั้งสวนต่อไป ขณะนายพิศิษฐ์ กัณฑิโกวิท เกษตรอำเภอบ่อไร่ บอกว่า ขณะนี้มีทุเรียนเป็นโรคไฟทอปธอร่าระบาดทั้งในอำเภอบ่อไร่และอำเภอเขาสมิงหลายสวนแล้ว แทบทุกสวนมีทุเรียนยืนต้นตายมากบ้าง น้อยบ้าง จึงจะเร่งให้ความรู้กับเกษตรกรในการป้องกันรักษาโรคไฟทอปธอร่าในทุเรียนเป็นการเร่งด่วนต่อไป

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

ชาวสวนทุเรียนตราด เตรียมน้ำตาตกใน หลังทุเรียนทยอยยืนต้นตายเกือบยกสวน วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือที!!

ภาพ/ข่าว พูลศักดิ์ บุญลอย ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดตราด