ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่..

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัดเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกด้าน พร้อมประสาน 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. 60

 

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่..

 

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานยังคงมีสถานการณ์ใน 14 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด รวม 52 อำเภอ 361 ตำบล 1,968 หมู่บ้าน 103,321 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ พร้อมเตือน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และประจวบคีรีขันธ์

 

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่..

ปภ. ได้ประสานจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนัก โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็วเครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย

 

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่..

 

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด 6 จังหวัดภาคใต้และประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักบางพื้นที่..

 

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัย น้ำไหลหลาก และน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน และการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากและน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ 23 จังหวัด รวม 79 อำเภอ 482 ตำบล 2,825 หมู่บ้าน 42 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 126,390 ครัวเรือน 327,420 คนผู้เสียชีวิต 18 ราย 

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 14 จังหวัด รวม 52 อำเภอ 361 ตำบล 1,968 หมู่บ้าน 103,321 ครัวเรือน 269,197 คน อพยพ 47 ครัวเรือน แยกเป็น 
-ลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน 1 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร 
-ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 6 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี 
-ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท 
-ลุ่มน้ำท่าจีน 1 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี 
-ลุ่มน้ำชี 5 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด 

ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัดหน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตระดมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ทั้งเต็นท์ที่พัก รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถบรรทุก รถสุขาเคลื่อนที่ เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก 

อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวไทยตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดชุมพร คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพรในวันนี้ (7 พ.ย.60) และจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันในวันพรุ่งนี้ (8 พ.ย.60) ส่งผลให้ภาคใต้มีลมแรงและมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยมีพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง อ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวประมงเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นซัดชายฝั่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนัก โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัย

ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัย อย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย อีกทั้งขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัดท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป...