ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมืองปัว หรืออำเภอปัว จังหวัดน่าน หรือเมืองวรนครในอดีต เมืองปัวถือกำเนิดราวปี 1825 เริ่มปรากฏขึ้นจาก”พญาภูคา ” เจ้าเมืองย่าง เป็นผู้มาสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่ง  เมืองย่างเชื่อกันว่าเดิมคือบริเวณฝั่งทิศใต้ของแม่น้ำย่าง ติดเทือกเขาดอยภูคาในเขตตำบลบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ในปัจจุบัน เพราะปรากฏร่อยในชุมชนที่เป็นคูน้ำ มีคันดิน คล้ายกำแพงเมือง ซ้อนกันอยู่ มีเรื่องเล่าต่อๆกันว่าว่า พญาภูคา ต้องการขยายเขตการปกครอง จึงส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน คือขุนนุ่น และขุนฟอง ไปสร้างเมืองใหม่ โดยให้ขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรีหรือหลวงพระบาง ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำของ หรือแม่น้ำโขงในปัจจุบัน ให้ขุนฟอง ผู้น้องไปเสร้างเมืองวรนคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองย่าง ที่ผ่านการเลือกตั้งเมืองอย่างเหมาะสมกัยชัยภูมิ ตั้งชื่อเมืองว่า “วรนคร ”  หมายถึงเมืองดี และนี่คือจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ภูคา เมื่อสร้างบ้านแปงเมืองจนเป็นปึกแผ่นมั่นคงแล้ว ขุนฟอง ก็ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ  และมีพระโอรส 1 พระองค์ ชื่อว่า “ เจ้าเก้าเกื่อน ”  ต่อมาพญาขุนฟองได้ถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเกื่อนจึงขึ้นครองเมืองแทน ส่วนพญาภูคาเมื่อสูงวัยขึ้น ก็มีความประสงค์จะให้หลานชายคือเจ้าเก้าเกื่อนมาปกครองเมืองวรนครแทน แม้จะไม่ค่อยเต็มใจนัก เพราะชายาคือ “นางพญาแม่ท้าวคำปิน ” กำลังตั้งครรภ์ แต่เจ้าเก้าเกื่อนก็จำยอมมาปกครองเมืองรวนคร โดยมอบหมายให้นางพญาแม่ท้าวคำปิน ชายาปกครองเมืองแทน ต่อมาไม่นานพญาภูคาก็ถึงแก่พิราลัย  เจ้าเก้าเกื่อนจึงขึ้นปกครองเมืองย่างแทน  แต่ในช่วงที่เมืองวรนครหรือเมืองปัวว่างเว้นจากผู้นำคือเจ้าเก้าเกื่อนไปปกครองเมืองย่าง  ได้มีพญางำเมือง เจ้าผู้ครองเมืองภูกามยาว หรือยะยาว (พะเยา) ได้แผ่ขยายอิทธิพลมายังเมืองวรนคร และสามารถควบคุมการปกครองได้ทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน จึงได้หลบหนีทั้งที่ยังตั้งครรภ์แก่หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง  จนคลอดบุตรชาย  ต่อมาตั้งชื่อว่า “ เจ้าขุนใส ” เป็นที่โชคดีที่นายบ้านบ้านห้วยแรงนั้น เคยทำงานเป็นพ่อครัวให้กับพญาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับเลี้ยงดูทั้งนางพญาแม่ท้าวคำฟอง และบุตรชาย เลี้ยงจนเติบใหญ่ 16 ปี ก็นำเข้าเมืองไปไหว้สาพญางำเมือง และรับไว้เป็นขุนนางรับใช้ จนเป็นที่โปรดปราน และสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ต่อมาเจ้าขุนยศใสได้ ปกครองเมืองจนมีกำลังพลมากขึ้น จึงทำการยกทัพต่อสู่กับเมือง ภูกามยาว หรือเมืองพะยาว จนหลุดพ้นจากอำนาจการปกครอง แล้วกลับไปเป็นเจ้าเมืองวรนคร และได้รับการสถาปนาเป็น “ พญาผานอง ” ต่อมาเมืองวรนครกลายมาเป็นเมืองปัว  ต่อมาหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัย ในยุคสมัยของพ่อขุนรามคำแหง จึงมีชื่อของเมืองปัวปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 นั่นเอง กว่า 30 ปี ที่พญาผานองได้ปกครองเมืองปัว มีโอรส 6 คน ตนแรกชื่อเจ้าการเมือง สุดท้ายชื่อว่าเจ้าใส ซึ่งเจ้าใสคนสุดท้องได้ขึ้นปกครองเมืองแทนพญาผานอง เพราะมีความเฉลียวฉลาด แต่ก็ปกครองเมืองได้เพียง 3 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย เจ้าการเมืองจึงได้ขึ้นปกครองเมืองปัวแทน  ในยุคสมัยของพญาการเมือง หรือกรานเมือง เมืองปัวมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงสุโขทัยตามพงศาวดานบันทึกไว้ว่า พญาการเมืองได้รับเชิญจากกรุงสุโขทัย ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย หรือวัดอัมพวนาราม  เมื่อกลับเมืองปัวพญาการเมืองได้รับพระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์  เพื่อนำมาบูชา เมื่อมาถึงเมืองปัว ก็พญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหารเถรธรรมบาล เพราะมีความประสงค์จะสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนเนินดอยภูเพียงแช่แห้ง เพราะเชื่อว่าเคยบรรจุพระบรมธาตุมาก่อนแต่ปางก่อน  หลังจากนั้นจึงระดมผู้คนพื้นที่ใกล้เคียงและรวมถึงการอพยพผู้คนจากเมืองปัวมาก่อสร้างพระธาตุแช่แห้ง และมาสร้างเมืองใหม่บริเวณพระธาตุ สร้างเสร็จราวปี 1902 พร้อมกับตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า “ เวียงภูเพียงแช่แห้ง ”

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

 

           กลับมาเมืองปัวยุคปัจจุบัน เมืองปัวกลายเป็นเมืองที่เจริญท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม ผู้คนอยู่กันอย่างมีความสุข มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์  และมีแหล่งกินแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่พร้อมจะเชิญชวนผู้มาเยือนทุกฤดูกาล  จุดเช็คอินของนักท่องเที่ยวมีมากมายหลายแห่งให้เลือกไปเลือกชม ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติดอยภูคา วังน้ำปัว วังศิลาแลง รวมถึงวัดวาอารามต่างๆ เช่นวัดพระธาตุเบ็งสกัด วัดต้นแหลง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีร้านกาแฟที่บรรยากาศดีกาแฟรสชาติอร่อยมีอยู่หลายร้าน และหนึ่งในนั้นคือร้านกาแฟม่อนฝ้าย และใครที่ไปเที่ยวจังหวัดน่านแล้วใช้เส้นทางปัว-บ่อเกลือ หากใครไปเที่ยวบ่อเกลือ  จะผ่านทางบ้านห้วยหาด-หลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว  ด้วยเส้นทางที่ท่านจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ ทั้งภูเขาและต้นไม้ที่เขียวขจีสวยงาม สิ่งที่ท่านจะมองเห็นเด่นเป็นสง่านั้นก็คือมณฑปสีขาวของพระเจ้าทันใจ ภายในวัดพระเจ้าทันใจนั่นเอง เป็นสถานที่ใครผ่านไปผ่านมาถ้าไม่แวะแล้วจะเสียดาย  เพราะพระเจ้าทันใจที่นี่ ว่ากันว่าขอพรได้ดั่งใจหวัง ไม่ว่าจะของสิ่งใดก็สมความมุ่งมาดปรารถนา  และเมื่อขอพรได้ดั่งสมใจปรารถนาแล้ว สิ่งที่ผู้คนนิยมนำไปแก้บนก็คือไข่ต้ม ผู้มาแก้บนจะนำไข่ต้มจำนวน 99 ฟอง มาแก้บนทุกครั้ง

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

         ประวัติการสร้างพระเจ้าทันใจ บ้านห้วยหาด-บ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่านเรื่องมีอยู่ว่า พระอาจารย์บุญธรรม อติสโย(อ.ธรรมราช วงค์สุยะ) เกิดที่ บ้านห้วยหาด แต่ย้ายไปอยู่อยุธยาตั้งแต่10ขวบ ได้บวชที่อยุธยา ตอนอายุ 19 ปี แล้วไปภาวนา (ศึกษากรรมฐานกับครูบาอาจารย์ 10ปี) พอหลังจาก10ปีเริ่มสร้างวัด 2 แห่งที่เชียงรายและเป็นผู้นำสร้างพระเจ้าทันใจมา6แห่ง จึงเป็นเหตุ ให้ได้ริเริ่มการสร้างพระเจ้าทันใจขึ้นที่นี่เป็นแห่งที่7 เหตุการณ์ ที่เป็นนิมิตหมาย ปี2543 แม่ของพระอาจารย์บุญธรรม ได้เสียชีวิตลง พระอาจารย์จึงมาจัดงานประชุมเพลิง และได้จัดทำเจดีย์ให้แม่ไว้ตรงทางขึ้นวัด เนื่องจากพระอาจารย์ได้ทำสมาธิเห็นว่าแม่ไปเกิดเป็นรุกขเทวาอยู่ประจำต้นไม้จุดนั้นและมีคุณสิงห์คำ -ส.อ.บ.ต.นัยนา ฑีฆาวงค์ ได้ขึ้นมาอาราธนาให้พระอาจารย์มาช่วยบูรณะวัดให้เจริญขึ้นในปี พ .ศ.2543 พระอาจารย์จึงรอเวลาอันสมควรที่จะได้มาสร้างวัดแห่งนี้จึงบอกรับอาราธนาแต่ต้องรอเวลาอันสมควร จึงจะมาสร้าง หลายปีต่อมา พระอาจารย์สร้างวัด2แห่งที่เชียงรายสำเร็จจึงมานั่งสมาธิถามเทพยดาว่าจะให้สร้างอย่างไร เทพยดานิมิตให้เห็นว่าในอดีตชาติพระอาจารย์เคยพาคนมารบและมาเสียชีวิตในที่ตรงนี้และด้านบนได้สร้างพระเจดีย์ไว้ตรงจุดที่สร้างพระมณฆปพระอาจารย์เลยขอบอกว่าจะสร้างพระเจดีย์ไว้ด้านบนแต่ขอสร้างพระก่อนเป็นพระเจ้าทันใจ เพื่อขอแบ่งเขตให้บารมีพุทธะ นำพาความเจริญรุ่งเรืองและเป็นมงคลแก่ชีวิต ส่วนด้านบนจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกส่วนหนึ่งนิมิตของพ่อผู้ใหญ่ประชุม ล้วนปวน ก่อนที่พระอาจารย์จะมาสร้างไม่นาน ผู้ใหญ่ฝันว่ามีพระพุทธรูปเกิดขึ้นบนยอดดอยแห่งนี้ แล้วมีพระสงฆ์ใส่จีวรสีที่พระอาจารย์ใส่(สีกรักแดง) เดินออกมาจากองค์พระ ต่อมาไม่นานพระอาจารย์ก็มาปักกรดในศาลด้านล่าง แล้วริเริ่มการสร้างแบบตำราโบราณและตามนิมิตจากสมาธิที่เหล่าเทพยดาแจ้งว่าอยากให้สร้างตามวิมานแก้ว  อาจารย์ไปออกแบบ5ครั้ง 4ครั้งแรกให้ช่างออกแบบที่เชียงรายโดยโยมนพดล แต่ออกแบบมาไม่ตรงตามนิมิตเท่าที่ควรจึงไปนั่งประกบให้เขาออกแบบตามนิมิตเราในครั้งที่5 จึงได้แบบพระมณฑปออกมาเริ่มสร้าง เริ่มบุกเบิกสถานที่ในวันที่23เม.ย.2554 ปรับสถานที่ตกแต่ง มีพิธีวางศิลาฤกษ์แบบจักรพรรดิในวันที่9พ.ค.2554 เตรียมงานไปเรื่อยๆจนถึงวันที่27พ.ค.2554 มีพิธีหล่อองค์พระเจ้าทันใจนำโดยพระอาจารย์และคณะศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ 27คณะ 27พ.ค.2554  เวลา18.30น องค์พระสำเร็จ เริ่มพิธีพุทธาภิเษกแบบโบราณตามตำราไปจนถึงสว่าง ของเช้าวันที่28พ.ค.2554 เป็นพิธีเบิกพระเนตรพระเจ้าทันใจ ตอนเที่ยงคืนพิธีกวนข้าวทิพย์นำมาถวายเช้าวันที่28พ.ค.2554 เป็นพิธีกำเนิดองค์พระเจ้าทันใจที่สมบูรณ์ ตามเทพเทวดาต้องการทุกประการ

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

“ เล่าเรื่องเมืองปัว ” พาทัวร์ไหว้พระขอพรพระเจ้าทันใจ ขอสิ่งใดสำเร็จทุกรายถวายไข่ต้ม

ศิราณี ต๊ะอาจ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดน่าน

ชัด ราชวงษ์ เรียบเรียง 

(ขอบคุณเจ้าของภาพและผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน)