ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ชาวบ้านเทศบาลตำบลบ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ ร่วมกันจัดงานเทศกาลบ้านปิน (Banpin Festival) ที่บริเวณสถานีรถไฟบ้านปิน โดยมีการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของ หมู่บ้านปิน ประวัติศาสตร์อำเภอลองโดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่พบว่ามีการทิ้งระเบิดทำลายทางรถไฟสายเหนือจำนวนมากและขบวนการใต้ดินของเสรีไทยสายแพร่ อันเป็นที่มาของคำว่า “แพร่แห่ระเบิด” และ ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ ผ่านรูปภาพในอดีตและนำเยาวชนเข้าชมชุมชนโบราณที่มีอาชีพตีเหล็กจากแร่เหล็กในบ้านปิน พร้อมทั้ง การจัดประกวดภาพยนตร์สั้น ที่เกี่ยวกับความเป็นมาของชาวล้านนาตะวันออก และยังเชิญกลุ่มสนใจนิยายวิทยาศาสตร์ และเหมืองแร่ทังสเตนแห่งเดียวของภาคเหนืออยู่ใน ต.บ้านปินเข้าร่วมแสดงความรู้การค้นหาแร่ให้เยาวชนได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากนั้นยังเชิญนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ เข้ามาร่วมทัศนศึกษากับเยาวชนในตำบลบ้านปินอีกด้วย งานนี้เป็นการรวมพลคนหลายวัยได้เข้าร่วมเวทีเสวนาเพื่อหาทิศทางร่วมกันในการจัดกิจกรรมและสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นโดยประชาชน งานนี้มีการเชิญนักออกแบบผ้าพื้นเมืองระดับชาติ คือ นายโกมล พาณิชพันธ์ ที่ออกแบบชุดมิสยูนิเวส ออกแบบผ้าโบราณแสดงละครเรื่อง รอยไหม ซึ่งเป็นชาวอำเภอลองมาร่วมเวทีเสวนาด้วย

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ทางด้านนายเชษฐา สุวรรณสา เจ้าของร้านกาแฟแห่ระเบิด นักพัฒนาชุมชนของตำบลบ้านปิน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้ว่า จังหวัดแพร่นั้นมีสิ่งดีๆ จำนวนมาก แต่ทำไมเด็กเยาวชนเรียนรู้ศึกษาจนจบระดับสูงแล้วไม่กลับบ้าน ถ้าปล่อยไปเช่นนี้ชุมชนดั้งเดิมก็จะเกิดปัญหา จุดประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้จึงมีความคาดหวังอยู่ 3 ประการ คือ 1 เปิดพื้นที่จินตนาการให้กับเยาวชนได้มีวิธีคิดได้อย่างเสรีโดยเฉพาะเรื่องของวิทยาศาสตร์ 2 ไม่อยากเห็นคนมองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม แต่ผู้สูงอายุคือ ผู้ที่มีความรู้ มีเงินที่จะร่วมส่งเสริมคนรุ่นใหม่ได้ และประการสุดท้ายคือการยกระดับบ้านปิน ให้มีวิธีคิดที่เป็นสากล และนำเอาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ของเมืองมาอวดกันและพัฒนาเป็นอัตลักษณ์ของเมืองต่อไป เราฝันถึงเทศกาลหนังที่เมืองคาน เมืองเล็กๆ แต่สามารถทำได้ ถ้ามองบ้านปินอยู่ในป่าเมืองแพร่ก็น่าจะเป็นเรื่องท้าท้าย ปัจจุบันกิจกรรมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกและขบวนการเสรีไทย เป็นที่มาของคำว่า “แพร่แห่ระเบิด” เราสามารถค้นหาประวัติศาสตร์จนทำให้กลายเป็นจุดเด่น พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเมืองลอง รวมไปถึง การรับประทานขนมเส้นน้ำย้อยที่ทำรายได้นับ 100 ล้านบาทต่อปี ที่กำลังมีการพัฒนาไปสู่อาหารปลอดภัยที่ขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ เผยแพร่สู่สาธารณะผลออกมาทำให้เมืองลองมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 2 จาก 8 อำเภอของจังหวัดแพร่ แพ้ในเมืองแพร่เท่านั้น นี่คือความสำเร็จในระดับต่างๆ ที่ชาวอำเภอลองร่วมกันทำ

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

สำหรับมุมมองของเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่าง นางสาวฐิติชญา ปัญญาเอ้ย นักเรียน ม. 4 โรงเรียนลองวิทยา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การจัดงานครั้งนี้ดีมาก คือถูกใจวัยรุ่นที่สนใจเข้ามาร่วมงาน เช่นคำที่ว่า มนุษย์ต่างดาวบุกบ้านปิน การคิดที่ไม่ยึดกรอบกติกา ซึ่งในงานก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เยาวชนสนใจพากันมาชมงาน ซึ่งก็ได้รับรสนิยมที่ผู้สูงอายุนำมาแสดง ทำให้เด็กๆ ได้รู้คุณค่าของชุมชน อยากจะร่วมในการแสดงออกและพัฒนาชุมชน คิดว่าอยากให้งานเช่นนี้มีทุกปีโดยให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นๆ

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการทำงานรวมกันหลายฝ่าย หลายวัย เด็กเยาวชน คนทำงาน ผู้สูงวัย เป็นก้าวแรกของการทำงานของกลุ่มคน ที่ไม่รอหน่วยรัฐเข้ามาหนุนเสริมหรือทำให้ โดยทำเพื่ออยากทำ อยากเปิดมุมมองและประเด็นประวัติศาสตร์ของตนเองที่มีคุณค่าให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด 

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ไม่ไปไม่รู้..!! เยี่ยมชม บ้านปิน  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อำเภอลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ชมคลิป)

ข่าว/ภาพ ธีรพงษ์ ธงออน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดแพร่