ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

     เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่บริเวณวัดคลึงคราช บ้านเด่นสำโรง หมู่ที่ 4 ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ชาวบ้านจากพื้นที่ตำบลหาดสองแควและพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนมากทราบข่าว ทางวัดคลึงคราชจะทำพิธีแกะองค์พระพุทธชินราชจำลอง ปางมารวิชัย เนื้อทองเหลือง น้ำหนักรวมประมาณ 3 ตัน หลังจากทำพิธีเททองหล่อเสร็จสิ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว 

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

     วันนี้ได้ฤกษ์ทำพิธีแกะแบบออกจากแม่พิมพ์ พร้อมกลับตัวองค์พระ จากศรีษะด้านล่างให้ขึ้นอยู่ด้านบนปกติเหมือนพระทั่วไป โดยมี นายบรรจบ  นิ่มประเสริฐ หรืออาจารย์เปี๊ยก ทำพิธีขอขมาต่อพระพุทธชินราชจำลอง นับตั้งแต่นำมาปั้นหุ่นขี้ผึ้งขึ้นแบบ เททองใส่ลงไปแล้วยกกลับตัวองค์พระขึ้น รวมถึงใช้ฆ้อนทุบเพื่อแกะปูนออกและใช้ไฟจุดลน เพื่อแบบที่เกาะติดอยู่ออกทั้งหมดถือเป็นการกระทำต่อองค์พระพุทธชินราชจำลองที่ได้สร้างขึ้นมา มีเครื่องบูชาในการประกอบพิธีขอขมา อาทิ พานขอขมา บายศรีปากชาม ผลไม้ 5 อย่าง เช่น มะพร้าวน้ำหอม กล้วย ส้ม องุ่นและฝรั่ง  

     ขณะเดียวกัน อาจารย์เปี๊ยก ได้ทำน้ำมนต์นำไปปะพรมล้างดวงตาและหน้าผากพระพุทธชินราชจำลอง เพื่อเป็นการเปิดเนตรให้พระพุทธรูปองค์ใหม่ พร้อมเสกน้ำมะพร้าวด้วยการใส่พริกขี้หนูและเกลือเม็ดตัวผู้ พร้อมเขียนยันต์ด้วยผงดินสอพองและลบทิ้งใส่ลงไปในลูกมะพร้าว นำแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมพิธีได้ดื่มน้ำและรับประทานเนื้อมะพร้าว ขับไล่เสนียดจัญไร สิ่งที่ไม่ดีทั้งปวงออก เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิตผู้เข้าร่วมพิธี เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล ก่อนที่จะใช้รถเคลนกลับองค์พระ 

     นายสุรเชษฐ  กลั่นกลอน พ่อค้ารถเร่ขายของตามตลาดนัดทั่วภาคเหนือ ในฐานะเจ้าภาพผู้จัดสร้างพระ ได้จุดธูปบอกกล่าวขอขมาพระพุทธชินราชจำลอง เหล่าเทพเทวดา พระภูมิเจ้าที่ พระแม่ธรณีผู้ดูแลปกปักรักษาผืนดิน ช่วยให้การกลับตัวองค์พระเป็นไปอย่างราบรื่น มีโชค มีชัย ให้กับทุกคนที่เข้าร่วมพิธีแกะองค์พระพุทธชินราชจำลอง จากนั้นพิธีกลับองค์พระเริ่มขึ้น โดยพนักงานนำรถเคลนขนาดยักษ์ สีเหลือง หมายเลขทะเบียน 81-0888 อุตรดิตถ์ ตะขอเกี่ยวมีอักษรตัวเลข 30T ยกองค์พระเพื่อกลับศรีษะด้านล่างขึ้นด้านบนทันที พร้อมกับไชโยและเสียงโห่ลา 3 ครั้ง 

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

     ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เริ่มแกะแบบด้วยการทุบปูนเกาะรอบองค์พระ รวมถึงเหล็กเส้นใช้เป็นแบบ ให้ผู้มาร่วมงานพิธีเข้าช่วยทุบปูนพร้อมแกะเหล็กในครั้งนี้ด้วยด้วยตนเอง ตามความเชื่อว่าใครปวดหัวไหล่ เจ็บหลัง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว หากได้ทำแล้วจะหายจากอาการดังกล่าว จากนั้นเจ้าภาพนำพระเกตุสวมที่ยอดเศียรพระ แล้วนำดอกไม้ธูปเทียนกราบบูชาพระและเวียนเทียนรอบองค์พระจำนวน 3 รอบ เพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้าพร้อมฉลองพระพุทธรูปองค์ใหม่ เสร็จแล้วนำดอกไม้ธูปเทียนวางที่หน้าตักพระ

     เจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการแกะแบบเป็นเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง เสร็จเป็นที่เรียบร้อย คงเหลือการตกแต่งขัดเงา ต้องใช้เวลาประมาณเกือบ 3 เดือนถึงจะเรียบร้อย พร้อมยกขึ้นสู่ฐานที่จัดเตรียมเอาไว้บริเวณท้ายวัด ตรงกลางระหว่างวิหารหลวงพ่อพุ่มกับวิหารพระบรมธาตุเจดีย์ โดยเจ้าหน้าที่ได้นำตลับเมตร วัดบริเวณหน้าตักพระพุทธรูปอีกครั้ง พบความกว้าง 285 เซนติเมตร มีหน้าตักเล็กกว่าพระพุทธชินราชองค์จริงที่ จ.พิษณุโลก เพียง 2 เซนติเมตร มีส่วนสูง 365 เซนติเมตร สำรวจที่บริเวณคางพระพุทธรูปมีเลข 735 ส่วนที่บริเวณสะโพกซ้ายมีเลข 51 

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในพิธีแกะองค์พระพุทธชินราชจำลองเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากมีชาวบ้านที่ชอบเสี่ยงโชคหรือเล่นหวยมาคอยรอดูเลขเด็ดภายในพิธีครั้งนี้ โดยมีพ่อค้าแม่ค้านำล๊อตตารี่ เข้ามาขายให้กับนักเสี่ยงโชคจำนวนมาก ต่างหาซื้อเลขเด็ดที่ได้ 285 365 735  19 29 30  35 51 81 08 88  ซึ่งเป็นเลขกลับองค์พระ ทำให้เลขดังกล่าวขายหมดเกลี้ยงจากแผงที่พ่อค้าแม่ค้านำมาจำหน่าย ทำให้ต้องเดินทางเข้าถึงในตัวเมืองอุตรดิตถ์ แต่ก็ยังหาซื้อไม่ได้โดยเฉพาะเลข 19 29 51 30  35 

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ฤกษ์งามยามดี!! ประชาชนร่วมพิธีกลับองค์พระพุทธชินราชจำลอง ชาวบ้านช่วยกันทุบแบบปูนตามความเชื่อโบราณ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

 

ภาพ/ข่าว  สมภพ  สินพิพัฒนฤดี  ผู้สื่อข่าวผู้มิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.อุตรดิตถ์