ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

“โลจิสติกส์ที่ดี คือ สะดวก เร็ว ประหยัด ปลอดภัย สิ่งเหล่านี้คือต้นทุนในระบบโลจิสติกส์ ซึ่งหมายถึงความสำเร็จของงานแต่ละงานของลูกค้าที่เกิดขึ้น หลักการทำธุรกิจของเรา อันที่จริงไม่ได้มีวิธีคิดอะไรมากมายเพียงแค่ทำทุกอย่างให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ไม่ว่าคุณจะเป็นใครเราพร้อมที่จะให้บริการ และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการอัพเดตสถานะเพื่อให้ลูกค้ารับรู้ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่เราทำมาตลอด ‘พัชร์กมลพร ตันตินฤภัย’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวอร์ลาสเซน เซอร์วิส จำกัด ผู้บริหารสาวเก่ง มากความสามารถ ซึ่งเธอให้มุมมองการทำธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ทั้งในด้านของการเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออก,ให้บริการพิธีการศุลกากร ,และธุรกิจรถหัวลากขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเธอบอกว่า แท้จริงแล้วบทบาทหน้าที่ของเรา คือ ความสำเร็จของลูกค้า คือหน้าที่ของเรา และลูกค้าแต่ละรายคือตัวชี้วัดความสำเร็จและขีดความสามารถของเรา เราให้บริการด้านโลจิสติกส์กับลูกค้าทุกรายด้วยความเอาใจใส่ ในราคาที่เป็นมาตรฐาน บริษัท เวอร์ลาสเซน เซอร์วิส จำกัด ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2546 ในยุคแรก เป็นการทำด่านชั่งน้ำหนักในเขตการค้าเสรีของนิคมอุตสาหกรรมที่แหลมฉบัง ต่อมาได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่ให้นำเข้าผลไม้จากทั่วโลก ซึ่งขณะนั้นไม่ได้คิดว่า งานเกี่ยวกับการนำเข้าผลไม้จะเป็นงานที่หลากหลายขั้นตอน และพิธีการค่อนข้างเยอะมาก รวมถึงผ่านหน่วยงานหลากหลาย แต่เราก็ผ่านมาได้ ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจ หลังจากนั้นได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น งานก็มีเข้ามาหลากหลายมากขึ้น ณ วันนี้งานหลักๆ ของเราเป็นการนำเข้าวัตถุดิบ ประเภท พริกบดดอง กระเทียมบดดอง พริกแช่แข็ง นำเข้ามาสู่กระบวนการผลิต แล้วส่งออกไปในรูปแบบซอสพริก ซอยปรุงรส ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งเราเป็นตัวแทนในการนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นงานโปรเจกต์ โดยมีลูกค้าประจำอยู่ 3 – 4 ราย ที่ไว้วางใจและว่าจ้างให้ทางบริษัทฯ ดำเนินการ

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

 

ส่วนงานด้านธุรกิจขนส่ง ปัจจุบันงานหลักๆ บริษัทที่ให้บริการการขนส่งสินค้าภายในประเทศ จะมีบ้างที่ส่งออกข้ามแดน(Cross Border Transport) อย่างเช่น ขนสินค้าไปยังแขวงสะหวันนะเขต ใน สปป.ลาว รวมถึงเป็นผู้ร่วมดำเนินการก่อตั้ง ICD แห่งแรก โดยร่วมมือกับ บริษัท สะหวันโลจิสติกส์ เปิด ICD แห่งแรกของ สปป.ลาว โดยได้รับการรับรองจากรัฐบาลสปป.ลาวอีกด้วย ซึ่งกว่าจะได้มาค่อนข้างยากและเป็นสิ่งใหม่ๆ ของที่ลาวในขณะนั้น สำหรับรถหัวลากที่มีอยู่ หรือแม้กระทั่งที่เป็นบริษัทพาร์ทเนอร์ ตอนนี้มีจำนวน 40 คัน โดยงานหัวลากของบริษัทไม่ได้มีไว้รองรับงานของบริษัทอื่น แต่มีไว้สนับสนุนให้กับงานของบริษัทเราเอง รถบรรทุกหัวลากเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องมี เพื่อรองรับในช่วงวันหยุดยาว หรือเทศกาลต่างๆ เพราะอย่างที่คนทำธุรกิจขนส่งจะทราบดีว่า เรื่องของการจัดหารถหัวลากเพื่อให้มารับส่งสินค้าในปัจจุบันนั้น มีความสำคัญและบางขณะก็ขาดแคลนมาก การมีรถหัวลากของเราเองไว้รองรับงานจึงเป็นอีกข้อดีที่เราสามารถควบคุมการให้บริการสำหรับลูกค้าได้อย่างดี

สาเหตุที่ทำให้กลุ่มลูกค้าไว้วางใจเรา เนื่องจากเรามีผู้ชำนาญการประจำพื้นที่ให้บริการ ตลอดจนการได้รับรองมาตรฐาน ISO เข้ามาจัดการในกระบวนการทำงาน ส่วนมาตรฐานที่ใช้ประกอบธุรกิจในปัจจุบัน คือ เราใช้ระบบ Paperless ซึ่งเป็นระบบสำเร็จรูปมาตรฐานลดความยุ่งยากของเอกสาร ทางบริษัทนำมาใช้ในการดำเนินงานทั้งหมด สามารถทำงานเกี่ยวกับการออกใบ Co และ BL รวมถึงกระบวนการจองเรือ,ค่าระวางเรือ (Freight) ตลอดจนในปีที่ผ่านมาเราได้เปิดบริษัทใหม่ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทลูก ชื่อว่า “บริษัท เวอร์ลาสเซน โลจิสติกส์” ที่ดำเนินการเรื่องขนส่งโดยเฉพาะ ซึ่งจะแยกออกอย่างเด็ดขาด กับบริษัท เวอร์ลาสเซน เซอร์วิส จำกัด ซึ่งถือเป็นการแจกจ่ายงานตามบทบาทของแต่ละบริษัทให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนทิศทางในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตตามแผนที่วางไว้ แต่อาจจะไม่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ขณะที่ในธุรกิจนำเข้า – ส่งออก ‘พัชร์กมลพร’ประเมินว่า ทิศทางธุรกิจถ้าเราดูตัวเลขปริมาณสินค้าที่ผ่านท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มีปริมาณที่ลดลงเลย เฉพาะในปีงบประมาณ 2560 ของทางราชการ เติบโตได้ถึง 4% ซึ่งปริมาณตัวเลขเพิ่มขึ้นขนาดนี้ จึงทำให้เราไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ ถ้าไม่รองรับการเติบโต จะทำให้เราล้าหลังจากบริษัทอื่นๆ อย่างกรณีตู้ขนส่งสินค้า เมื่อปีที่ผ่านมามีจำนวน 7,000,000 ตู้ ณ วันนี้ ผ่านท่าแหลมฉบัง 7 ล้านหกแสนกว่าตู้ ซึ่งถือว่าเติบโตกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้ การนำเข้าส่งออกในปีนี้ ซึ่งหลักๆ ลูกค้ายังใช้บริการที่แหลมฉบัง เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและยังสามารถช่วยลดต้นทุน ตลอดจนความพร้อมของพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่แหลมฉบังเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารงาน จึงได้ความเป็นมืออาชีพในการดำเนินการ


พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

กระนั้น หากพูดถึงโอกาสระหว่างธุรกิจขนส่ง ตัวแทนออกของ รวมถึงพิธีการศุลกากรต่างๆ มองว่าขณะนี้ได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ที่จะบังคับใช้ 13 พ.ย.2560 จะมีบางสิ่งบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องเฝ้าระวังและดำเนินการต่อไป ธุรกิจเหล่านี้ต้องไปควบคู่กันทั้งหมด ถ้าไม่มีปริมาณนำเข้า การส่งออกก็จะลดลง การขนส่งก็จะลดลงตามไปด้วย ถือว่าระบบทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงทางด้านรายได้ โดยเรามีการการันตีให้กับลูกค้า เช่น เราจะต้องออกของให้กับลูกค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนด ทางบริษัทจะมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมา จุดนี้ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท คือ สามารถการันตีให้กับลูกค้าได้ว่าสามารถออกสินค้าให้กับลูกค้าได้ภายในกี่วัน แต่เงื่อนไขคือเอกสารต้องถูกต้องทุกประการ ด้านขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบัง ‘พัชร์กมลพร’ มีความเห็นว่า แหลมฉบังเป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพ ทั้งสามารถรองรับการลงทุนในอนาคตได้อีกมาก ถือเป็นประตูสำคัญด้านตะวันออกของประเทศไทย แต่ ในมุมมองของผู้ประกอบการขนส่งและทำธุรกิจนำเข้า – ส่งออก เรายังพบปัญหาในเรื่องของการขนส่งภายใน คือ บาง Terminal เวลาเรือเทียบท่าไม่ค่อยสนใจถ่ายสินค้าขนรถบรรทุกเพื่อระบายตู้สินค้าออก แต่จะให้ความสำคัญกับการขนส่งสินค้าลงเรือ ซึ่งเวลารถเข้าไปเช็คอินสินค้าเข้าท่าเรือ ทำให้เสียเวลาในการรับตู้สินค้าหรือคืนตู้สินค้าในท่า ตรงนี้จะทำให้เกิดการเสียเวลาอย่างมาก จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เพราะถือว่าเป็น KPI ที่สำคัญที่สุดของท่าเรือแหลมฉบังที่จะก้าวไปสู่การเป็น HUB หรือเป็นท่าเรือที่สำคัญของโลก ซึ่งมีอยู่ที่ 3 ปัจจัย คือ Shift Turnaround Time เรือสินค้าไปจอดเทียบท่าแล้วใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ Crane Product Activity การยกตู้สินค้าให้อยู่ปริมาณที่เหมาะสม, Truck Turnaround Time คือ รถที่ผ่านประตูท่าเรือเข้าไปแล้วใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ อันที่จริงมาตรฐานต้องไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่ ณ วันนี้บางครั้งบางช่วงใช้เวลานานมาก ด้านการที่รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกภายใต้โครงการEEC ‘พัชร์กมลพร’ มองว่า ตอนนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐบาลเชิญชวนนักลงทุนเข้ามา ทั้งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และล่าสุดคือโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งพื้นที่เติบโตเร็วมากเนื่องจากมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ ก็เห็นด้วยว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากในอนาคต แต่รัฐควรมีการแบ่งโซนนิ่งในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พัชร์กมลพร "ผู้หญิงเก่ง" กับความสำเร็จบนธุรกิจ"โลจิสติกส์" เผยมั่นใจโครงการEECภาคตะวันออก แต่ภาครัฐควรแบ่งโซนนิ่งในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน

พงศ์รพี  กลิ่นทวี  ทีมข่าวเฉพาะกิจสำนักข่าวทีนิวส์ศูนย์ข่าวภาคตะวันออก