ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

( 20 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมนิลพยัคฆ์ ชั้น 1 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  เป็นประธานเปิดโครงการบริหารวิชาการแก่สังคม บูรณราการกับการเรียนการสอนหรือการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ท้องถิ่นและสังคม โดยเปิดกิจกรรม“เสวานาเพื่อการวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการผลิตหมอนยางพารา” ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราชร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. ,เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพารา 14 สถาบัน  ดร.ธนาธรณ์ เมืองมุงคุณ รักษาการแทนคณะบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านนวัตกรรมยางพาราระดับประเทศ มาร่วมอบรบ เสวนาและแนะแนวกระบวนการผลิต รวมถึงการลงพื้นที่ในโรงงานของแต่ละสถาบัน ฯ เพื่อฝึกอบรมจากการปฏิบัติจริง

                ดร.ธนาธรณ์ เมืองมุงคุณ รักษาการแทนคณะบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า สืบเนื่องมาจากการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการผลิตและร่วมมือทางการตลาดหมอนยางพารา โดยดึง 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย, ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท เลย์เท็กซ์ (ประเทศไทย)  จำกัด และ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ เพื่อร่วมมือในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราภายใต้แบรนด์กลาง กยท. โดยตั้งเป้าปี 61 จะเริ่มต้นผลิตหมอนยางพาราคุณภาพเยี่ยมออกสู่ตลาดได้ราว 200,000 ใบสร้างมูลค่าทางการตลาดรวม 100 ล้านบาท หลังจากนั้นปรากฏว่าได้รับความสนใจจากตัวแทนจำหน่ายและผู้ต้องการสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ  ทาง กยท.และผู้ร่วมลงนามการผลิตทุกฝ่าย ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเทคโนโลยีการแปรรูปหมอนยางพารา เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้นรองรับการส่งออกปริมาณมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้

                 “โดยได้รับความร่วมมือทางเทคโนโลยีจากเครือข่ายนวัตกรรมยางพารา จากภาคี 4 ฝ่าย ได้แก่ 1. การยางแห่งประเทศไทย  2. สภาอุตสาหกรรม 3. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และ 4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และยังได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชในการจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อวิเคราะห์แก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตหมอนยางพารา โดยมีเหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมยางพาราระดับประเทศ อาทิ     ผศ.ดร.บุญธรรม นิธิอุทัย, ผศ.ดร.ตุลยพงศ์ ตุลยพิทักษ์, ผศ.ดร.อนุวัติ แซ่ตั้ง และ อาจารย์อดิศร ไกรนรา  และอีกหลายท่านมาร่วมอบรมเสวนาพร้อมแนะแนวกระบวนการผลิต รวมถึงมีการลงพื้นที่ในโรงงานของแต่ละสถาบันฯ เพื่อฝึกอบรมจากการปฏิบัติจากสถานที่จริง ซึ่งบรรดาเกษตรกรที่ร่วมโครงการจะสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปปรับปรุงกระบวนการผลิตของตนให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ สามารถรองรับกำลังการสั่งซื้อหมอนยางพาราปริมาณมากจากตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งก่อนหน้านี้คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ได้จัดโครงการบูรณาการการเรียนการสอ หรืองานวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ท้องถิ่นและสังคม โดยได้ทำสัญญาลงนาม MOU ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูหมอนยางพารา อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช และให้การบริการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการสู่ชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และนำมาสู่การจัดอบรมเสวานาเพื่อการวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการผลิตหมอนยางพารา ขึ้นในครั้งนี้ โดยกำหนดกิจกรรม 2 วันระหว่างวันที่ 19-20 ม.ค. 2561”

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

ทางด้านนายอนันตชัย  เจียมหทัยรัตน์ ผู้แทนจากหน่วยธุรกิจ BU การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย หรือ  กยท. จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการผลิตและคุณภาพสินค้าแปรรูปจากยางพารา และจะเป็นหลักในการสื่อสารเพื่อให้ความเข้าใจแก่เกษตรกรได้รับทราบถึงมาตรฐานดังกล่าว โดยเชื่อว่าโครงการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร และจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตยางพาราเพื่อการส่งออกในระยะยาวต่อไป  ทั้งนี้จากการลงนามความร่วมมือทางการตลาดหมอนแบรนด์กลาง กยท. นั้นจะมีบริษัท เลย์เท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญทางด้านธุรกิจส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพารา เข้ามาเป็นผู้ช่วยทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ  จึงเชื่อมั่นได้ว่าผลผลิตของเกษตรกรนั้น จะมีตลาดที่รองรับและสามารถทำการขยายตลาดไปในวงกว้างได้ในไม่ช้านี้

                โดยการฝึกอบรมจากการบูรณาการครั้งนี้ ได้กำหนดเริ่มจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นที่แรก และได้จัดตั้งเป็นโครงการ  “นครศรีฯโมเดล เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราตั้งอยู่มากที่สุดในประเทศไทยจำนวนกว่า 14  สถาบัน และทั้ง  14  สถาบันได้เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพการผลิตของตนให้สามารถผลิตสินค้าคุณภาพเยี่ยมหรือเกรด A  สามารถจำหน่ายทั้งตลาดระดับกลางและตลาดระดับพรีเมี่ยมได้ทั่วโลก ซึ่งถ้าหากประสบผลสำเร็จ โครงการนี้ก็จะขยายไปยังจังหวัดและภูมิภาคอื่น ๆในประเทศ ในพื้นที่ที่มีการประกอบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมยางพาราต่อไป

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

ในขณะที่ ผศ.ดร. ฆนัท ธาตุทอง รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า โครงการในครั้งนี้ เป็นเหมือนจุดนัดพบของผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านยางพารากับประชาชนที่ประกอบอาชีพผลิตยางพารา เพื่อที่จะได้มีโอกาสพูดคุยหารือและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตรวมทั้งแนวทางการส่งออกไปยังต่างประเทศ ในเบื้องต้นจะร่วมผลักดันให้มีการผลิตหมอนจากยางพาราเพื่อการส่งออกอย่างน้อยปีละ 200,000 ใบ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีความยินดีที่จะเป็นแกนหลักในการสนับสนุนทางด้านวิชาการแก่สถาบันเกษตรกรทั้งในจังหวัดและภูมิภาคอื่น ๆเพื่อให้เศรษฐกิจของชุมชนได้ขับเคลื่อนอย่างมั่นคง ยั่งยืน ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเอาไว้

ทางด้าน ผศ.ดร.บุญธรรม นิธิอุทัย ผู้ก่อตั้งหลักสูตรเทคโนโลยียางพาราในประเทศไทย และที่ปรึกษาเครือข่ายนวัตกรรมยางพารา กล่าวว่า การที่จะผลิตหมอนยางพาราให้ได้มาตรฐานนั้นจะต้องมี  4 ปัจจัยหลักที่จำเป็นจะต้องพัฒนาให้ได้ใกล้เคียงกันมากที่สุด ได้แก่ 1.ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องมีความประณีตเรียบร้อย รวมถึงการตัดเย็บ แพกเกจจิ้ง แท็คหรือป้ายห้อย ที่จะต้องมีความสวยงามสะดุดตา  เป็นต้น  2. ลักษณะภายนอกของฟองยาง อาทิ ขนาดและสี 3. คุณสมบัติทางกายภาพ อาทิ น้ำหนัก ความแข็ง และความคงทน และ 4. ได้แก่ กลิ่น โดยหมอนจากยางพาราจะต้องไม่มีกลิ่นน้ำยาง หรือสารเคมีใด ๆ หลงเหลืออยู่

  “ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยสถาบันเกษตรกรที่พบได้บ่อยจะมีตั้งแต่ การเกิดฟองอากาศขนาดใหญ่ หมอนไม่เต็มใบ เกิดรูพรุนเล็กๆ ที่ผิวเป็นจำนวนมาก ยางไม่สุก หรือสารเคมีไม่แตกตัว เป็นต้น ซึ่งปัจจัยของปัญหานั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยอาทิ อายุน้ำยาง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย หรือโมลไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้รวมกันมาชี้แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้กับเกษตรกร”

  “ซึ่งการบูรณาการภายใต้โครงการ นครศรีฯโมเดล  จะเป็นการสนับสนุนเกษตรกรทางด้านองค์ความรู้และเป็นการยกระดับศักยภาพบุคลากรทางด้านยางพาราครั้งสำคัญของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าแปรรูปจากยางพาราของไทยให้แก่ตลาดโลกว่าหมอนยางพาราของประเทศไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเยี่ยม ซึ่งจะสามารถรองรับการออเดอร์การส่งออกจากทั่วโลกและทุกกลุ่มตลาดได้อย่างมีเสถียรภาพแท้จริง”.

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

100 ล้าน!!? กยท.นำร่องโครงการ“นครศรีฯโมเดล” พัฒนาศักยภาพบุคลากรสวนยาง รองรับออเดอร์ส่งออกหมอนแบรนด์กลาง กยท.ส่งออก 2แสนใบ/ปี (ชมคลิป)

ภาพ/ข่าว  ยุทธนะ เตมะศิริ   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์  จ.นครศรีธรรมราช