เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสวนมะยงชิด วัดค่าความหวานการันตีสินค้าที่ดี

ที่นครนายกเมื่อเวลา 10.30 น. นายนิพนธุ์ วรรรณภักดี พาณิชย์จังหวัดนครนายก พร้อม นายกิตตินันท์ แสงขำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมสนับสนุนการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด ร่วมกับเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ชาวสวนในเขต ต.บ้านพร้าว ต. ป่าขะ และ ต.ศรีกะอาง อ.บ้านนา จ.นครนายก โดยมีชาวเกษตรกรและชาวสวนมะยงชิด - มะปรางหวานกว่า 95 ราย ได้ขอขึ้นทะเบียนและขอใช้ตราสัญลักษณ์ ( GI ) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 

ชาวบ้าน

นายนิพนธุ์ วรรณภักดี เปิดเผยว่า จังหวัดนครนายกทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน ส่วนหนึ่งอยู่ในอุทยานเขาใหญ่ ประกอบกับสภาพอากาศมีลักษณะหนาวสลับร้อน ส่งผลให้มะยงชิดนครนายกมีลักษณะ ผลโต เม็ดลีบ รสชาติหวาน อมเปรี้ยวหอมกรอบมีสีเหลืองชวนรับประทานที่ปลูกอยู่ในจังหวัดนครนายก ทั้ง 4 อำเภอ เพราะฉะนั้นมะยงชิดนครนายกจะต้องผลิตและปลูกในเขตพื้นที่นครนายก เท่านั้นจึงจะคุณภาพที่ดีและเป็นผลไม้เด่นของจังหวัดนครนายก ฉะนั้นจึงให้มีการตรวจสอบและควบคุมทั้งกระบวนการผลิตในระดับผู้ผลิตและระดับจังหวัดจัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ผลิต หรือผู้ปลูก /ผู้ประกอบการค้าที่ประสงค์จะขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสัญลักษณ์ ( GI ) มะยงชิดนครนายก จากการวัดค่าความหว่นของมะยงชิดแต่ละสวน นั้นพบว่า ในกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มมีความหวานถึง 22 บริกซ์ เท่ากับน้ำตาลซูโครส ถึง 22 กรัม โดยเป้าหมายการตรวจวัดค่าความหวานนั้น ตั้งอยู่ 18บริกซ์ ขึ้นไปถือว่าผ่าน ผลการตรวจสอบทั้งหมดทุกสวน มีค่าความหวาน ตั้งแต่ 18 - 22 บริกซ์ และถือว่าเป็นมะยงชิดของนครนายกที่ได้มาตราฐานอย่างแท้จริง ทั้งนี้จึงต้องมีการตรวจอย่างเข้มงวดของแต่ละสวน ที่จะขอขึ้นทะเบียนบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ประกอบการที่ขายมะยงชิดให้กับผู้บริโภคในราคาที่เกินควรและแอบอ้างว่าเป็นมะยงชิดของนครนายกจึงทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอีกด้วย

ประชาชน

นายนิพนธ์ ได้เล่าต่อถึงประวัติความเป็นมาของมะยงชิดอีกว่า มะยงชิดพันธุ์แรกที่ได้นำมาปลูกในจังหวัดนครนายก ได้แก่ พันธุ์ชิดสง่า ต่อมาได้มีการนำมะยงชิดพันธุ์ ที่ให้ผลขนาดใหญ่มาปลูกที่สวนบุญสม ครั้นเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมายังโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จึงได้นำเอาผลผลิตจากสวนสมบุญนี้ถวาย จึงได้ตั้งชื่อพันธุ์มะยงชิดจากสวนบุญสมนี้ว่าพันธุ์ทูลเกล้า ต่อมาในปี พ.ศ.2536 ได้มีการนำเอามะยงชิดพันธุ์ ทูลเกล้า เข้าประกวดในงานเกษตรแห่งชาติที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยความที่มีผลใหญ่ ผิวสวย รสชาติหวานอมเปรี้ยว จึงได้รับรางวัลที่ 1 และรางวัลที่ 2 ส่งผลให้มะยงชิดจากจังหวัดนครนายกได้รับความสนใจ และที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อมะยงชิดนครนายกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรและชาวสวนก็ได้ขยายกิ่งพันธุ์ดังกล่าว เพิ่มขึ้นและสร้างรายได้ให้กับชาวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี จังหวัดนครนายกจึงได้จัดงานมะยงชิด - มะปรางหวานนครนายก ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ - มีนาคม ของทุกปี นายนิพนธ์กล่าว

 

มะยงชิด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ชาวสวนมะยงชิด - มะปรางหวาน เฮ!!! ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ ( GI )สัญลักษณ์ ระบบมาตรฐานสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (มีคลิป)

-กรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงพื้นที่สวน " มะยงชิด - มะปรางหวาน จ.นครนายก

 

สมบัติ เนินใหม่ ผู้สื่อข่าวทีนิวส์ภาคตะวันออก จ. นครนายก