ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 28 เมษายน 2561 ที่บริเวณท่าเทียบเรือปากเมง อ.สิเกา จ.ตรัง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล รักษ์พะยูน ฟื้นฟูทะเลตรัง เขตอนุรักษ์อ่าวขาม โดยมี นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายศุภศักดิ์ ศรีหม่าน ท่องเที่ยวและกีฬาตรัง และหน่วยงานจาก ททท.สำนักงานตรัง อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม  ให้การต้อนรับ

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า การร่วมแสดงความเป็นเจ้าของในการอนุรักษ์หญ้าทะเล และพะยูนเพื่ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแรกคือ การปลูกหญ้าทะเล ซึ่งหญ้าทะเลเป็นแหล่งอาหารของสัตว์หลายชนิด รวมไปถึงพะยูน สัตว์ที่เราต้องการอนุรักษ์ รักษาไว้ หญ้าทะเลคนเมืองส่วนใหญ่ไม่รู้จัก การที่ได้มาทำกิจกรรม มาสัมผัสด้วยตนเอง จะมีความเข้าใจมากขึ้น ในการเกี่ยวพันธุ์ของวงจรชีวิตตั้งแต่ชาวประมงไปจนถึงนักท่องเที่ยว กิจกรรมเหล่านี้มีค่ามากไม่ใช่เพียงแค่มาเที่ยวเห็นทะเลสวย แต่ถ้าเรามาช่วยกันบำรุงรักษา ให้ความงดงามยังคงอยู่นั่นคือสิ่งสำคัญ ฝูงพะยูนฝูงสุดสุดท้ายจะคงอยู่ที่ทะเลตรังต่อไป

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ปลูกหญ้าทะเล อนุรักษ์พะยูน ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง

ส่วนประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองนั้น แต่ละจังหวัดมีศักยภาพแตกต่างกันไป หลายพื้นที่มีความสวยงามมีความพร้อมอยู่แล้วแต่ไม่มีการทำประชาสัมพันธ์ให้มากพอเราก็จะไปช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ ส่วนจังหวัดตรังเรื่องความสวยงามเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้ว การเดินทางก็สะดวก สะอาดปลอดภัยและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง  แต่กระบวนการประชาสัมพันธ์ยังสามารถเพิ่มเติมเข้าไปได้อีก สามารถก้าวไปสู่ตลาดคุณภาพสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเพิ่มปริมาณคน แต่เราต้องการคนกลุ่มเป้าหมายที่มีความชัดเจนมากขึ้น การที่ทำให้รายได้ตกอยู่กับคนที่ทำธุรกิจอย่างเดียวก็ให้สามารถกระจายไปสู่ชุมชน อาจจะไม่ใช่ชุมธุรกิจท่องเที่ยว แต่อาจเป็นชุมชนรักษาสภาพแวดล้อมที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นมีความน่าสนใจ ซึ่งไม่ได้แปลว่าเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเสมอไป บางที่อาจจะเป็นกิจกรรมด้านอาหาร ด้านการปลูก เลี้ยงสัตว์ ก็สามารถทำให้รายได้กระจายไม่กระจุกอยู่ในอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวต้องส่งเสริมให้ความรู้ก่อนว่า พะยูนไม่ได้มีรูปร่างที่แปลกตา แต่ความสามารถและความพิเศษของเขาคืออะไรบ้างที่คนอยากเข้ามาสัมผัส อยากมีประสบการณ์ และต้องรู้ว่าอะไรคือสภาพแวดล้อมรวมถึงการคงอยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมของพะยูน ซึ่งอยู่ดี ๆ เชิญคนมาปลูกหญ้าพะยูนคนก็ไม่อยากมา แต่ต้องให้เขารู้สึกว่าพะยูนสำคัญในความรู้สึกของเขาแม้มาปลูกหญ้าไม่เห็นพะยูนสักตัวในวันนั้นเขาก็ไม่รู้สึกเสียดายเพราะเขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมีคุณค่าแล้วกลับไปด้วยความภาคภูมิใจ รายได้รายจ่ายที่เขาใช้ในพื้นที่นี้ก็ไม่ใช่แค่รายได้ของการมาถ่ายรูป เข้าร้าน ภัตตาคาร นอนโรงแรม แต่เป็นการมาใช้จ่ายร่วมกันดูแลรักษา ทำให้ชุมชนที่ดูแลพะยูนเขามีรายได้ เป็นการปลูกจิตสำนึกไม่ทำลายที่ส่งผลกับสิ่งแวดล้อม

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ปลูกหญ้าทะเล อนุรักษ์พะยูน ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงเรือหางยาวลงไปยังเขตอนุรักษ์อ่าวขาม ร่วมปลูกหญ้าทะเลกับชาวบ้าน ซึ่งมีกลุ่มเด็กเล็กๆ จากหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านจำนวนหลายคนที่ร่วมปลูกหญ้าในครั้งนี้ด้วย มีการร่วมปลูกหญ้าทะเลกับผู้ปกครอง ซึ่งมีทั้งพ่อแม่ ตายาย ซึ่งวันนี้ได้มีโอกาสมาร่วมปลูกหญ้าทะเลกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาด้วย

ขณะที่นางสุดารัตน์ กลับเมือง อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 81/1 หมู่ที่ 3 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง กล่าวว่า การมาทำกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลดีมาก เพราะตนเองยึดอาชีพทำอวนปูม้าอยู่ ปลูกหญ้าทะเลทำให้ลูกปูตัวเล็กเข้ามาอาศัยอยู่เยอะ ซึ่งมองว่าธรรมชาติของหาดปากเมงยังดีมากอย่าง ปู หอย ยังมีมาก วันนี้พาลูกหลานมาสอนปลูกหญ้าให้เด็กได้ความรู้ต่อไปจะได้ปลูกเป็น สามารถปลุกจิตสำนึกให้เด็กรักธรรมชาติซึ่งถ้ามีกิจกรรมก็จะเข้าร่วมทุกกิจกรรม ตนเองอยากให้ชาวบ้านร่วมมือกันแบบนี้ถือว่าดีมาก  สำหรับหนูน้อยที่มาเข้าร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล กล่าวว่า ตนดีใจมากที่ คุณยายได้พาตนเองและน้อง ๆ มาปลูกหญ้าทะเลถึงแม้จะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องของหญ้าทะเลและพะยูนสักเท่าไหร่ แต่ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ทำแล้วรู้สึกดี

ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค ทีนิวส์ จังหวัดตรัง

รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ปลูกหญ้าทะเล อนุรักษ์พะยูน ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง