ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จากกรณีที่มีชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหนองบัว  อ.ภูเรือ จ.เลย  ร้องเรียนต่อสื่อมวลชนว่า ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรที่อยู่ริมห้วยน้ำสานเป็นบริเวณกว้าง จากการที่มีฝนตกหนักเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ทำให้มีน้ำเอ่อล้นลำห้วย ท่วมขังนาน 3 วัน  ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายบางส่วน  ซึ่งชาวบ้านระบุสาเหตุอาจจะมาโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยน้ำสาน ตั้งอยู่บ้านสันติสุข หมู่ 7 ต.หนองบัว อ.ภูเรือ  ซึ่งเป็นฝายคอนกรีตมีประตูระบายน้ำ 3 บาน  เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกันยายน 2558  แล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2559   ใช้งบประมาณ 44.7 ล้านบาท   ชาวบ้านเชื่อว่าดินโคลนที่อยู่ริมห้วยบริเวณโครงการได้พังลงในน้ำทำให้ลำห้วยตื้นเขินและเป็นเหตุให้น้ำท่วมนั้น

 

สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 3 ชี้แจงน้ำท่วมภูเรือ เกิดจากธรรมชาติ เตรียมแก้ปัญหาระยะยาว (มีคลิป)

 

นายพิสิทธิ์ ทิพย์โอสถ  ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 3 อุดรธานี  ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า โครงนี้เกิดจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อบต.หนองบัว ได้ทำเรื่องขอความอนุเคราะห์ด้านงบประมาณมายังสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 3 อุดรธานี  เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูทางน้ำห้วยน้ำสาน แก้ปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านป่าจันตมและบ้านสันติสุข  สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 3 อุดรธานี จึงทำเรื่องขออนุมัติงบประมาณมาดำเนินโครงการก่อสร้างฝายคอนกรีต  โดยก่อนเริ่มโครงการได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านอื่นๆ ตามขั้นตอนของกฏหมาย  ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือแม้กระทั่งการออกแบบที่เหมาะสม

 

สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 3 ชี้แจงน้ำท่วมภูเรือ เกิดจากธรรมชาติ เตรียมแก้ปัญหาระยะยาว (มีคลิป)

 

นายพิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างมีอุปสรรค โดยมีเจ้าของที่ดินบางรายไม่ยินยอมให้ทำคันดินกั้นน้ำ และมีการเรียกร้องเงินค่าชดเชยที่สูงมาก ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำไม่มีเงินจ่ายค่าชดเชย เหมือนดังเช่นกรมชลประทาน ทำได้เพียงขอความร่วมมือให้ประชาชนเสียสละที่ดินบางส่วนเพื่อส่วนรวม  ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เกิดจากตัวฝายกั้นน้ำ แต่เกิดจากปริมาณน้ำที่ไหลมาจากบนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและบนภูเรือ ไหลมาบรรจบกัน ทำกระแสน้ำดันกันเอ่อล้นลำห้วยน้ำสานและลำห้วยสาขา บริเวณโครงการได้ขุดเปิดทางน้ำกว้างและลึกกว่าเดิมมาก  ซึ่งแต่ละปี ก่อนจะก่อสร้างโครงการ ซึ่งเห็นได้จากระดับน้ำทั้งหน้าฝายและท้ายฝายมีระดับเท่ากัน  และน้ำมีสีขุ่นแดงมาก แสดงให้เห็นว่า หน้าดินบนภูเขาถูกกระแสน้ำชะล้างลงมาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับด้านท้ายฝาย ลำห้วยน้ำสานยังคงตื้นเขิน มีกอไผ่และต้นไม่ปกคลุมขวางทางน้ำอยางหนาแน่น อย่างไรก็ตาม น้ำท่วมครั้งนี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ  ทุกครั้งก็ท่วมเพียง 3-4 วัน  และขณะนี้ระดับน้ำได้ลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

 

นายพิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า  จากปัญหาดังกล่าว ตนขอยืนยันว่าทางสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 3 อุดรธานี  ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้หาทางแก้ปัญหา  โดยได้ปรึกษากับทาง อบต.หนองบัว และชาวบ้าน อาจจะมีการขุดลอกเปิดทางน้ำห้วยน้ำสานด้านท้ายฝาย  ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน   พร้อมทั้งกำลังจะมีการจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำที่มีคณะกรรมการเป็นชาวบ้าน ดูแลบริหารจัดการน้ำร่วมกันเอง การเปิดปิดประตูน้ำต้องอยู่ภายใต้การตัดสินใจของคณะกรรมการองค์รผู้ใช้น้ำ ในฤดูฝน เมื่อมีฝนตกหนักบนภูหลวงหรือภูเรือ ต้องมีการแจ้งเตือนประสานงานกับองค์กรผู้ใช้น้ำ  การใช้ประโยชน์จากฝายชุมชนจะเป็นผู้กำหนด  เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ชาวบ้านสามารถใข้ประโยชน์จากโครงการนี้ได้อย่างยั่งยืน  ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 3 อุดรธานี  กล่าว.

 

สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 3 ชี้แจงน้ำท่วมภูเรือ เกิดจากธรรมชาติ เตรียมแก้ปัญหาระยะยาว (มีคลิป)

 

สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 3 ชี้แจงน้ำท่วมภูเรือ เกิดจากธรรมชาติ เตรียมแก้ปัญหาระยะยาว (มีคลิป)

 

ภัทราวุธ  บุญประเสริฐ  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.เลย