"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! มีอยู่หลายข้อ ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง! อย่าให้ความเผลอเรอทำพลาดไป

ข้อควรรู้กม.ประชามติ

 

สำหรับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีทั้งหมด 64 มาตรา แบ่งเป็น 3 หมวด ประกอบด้วย

 1.หมวดการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ การจัดส่งร่างรัฐธรรมนูญ และการเผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียง

2.หมวดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกเสียง

3.หมวดการควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ

         

           หัวใจสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ อยู่ในหมวด 3 บทที่ว่าด้วย "การควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ" อันเป็นการกำหนดโทษทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไปที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งมีโทษรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา เพราะมีทั้งให้ชดใช้ค่าเลือกตั้ง  จำคุกสูงสุดนับ 10 ปี ปรับสูงสุดถึง 200,000 บาท รวมถึงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี

        

            ซึ่งบทกำหนดโทษ บัญญัติอยู่ในมาตรา 55-64 รวม 10 มาตรา แยกเป็น 25 ลักษณะความผิด มีทั้งโทษอาญา โทษทางแพ่ง ทางปกครอง การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมี 9 เหตุ การรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายหากต้องกำหนดให้มีการลงประชามติใหม่ มี 6 เหตุ

       

                ทั้งนี้ลักษณะความผิดที่มีการกำหนดส่วนใหญ่เหมือนกับพ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2550 ประกอบด้วย

          "กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

          จนท.ทำผิดคุก10ปี-ถอนสิทธิ

          กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานออกเสียงประชามติ ตั้งแต่กกต.จนถึงผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานออกเสียงจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ ขัดขวางมิให้เป็นไปตามกฎหมาย ใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปในทางทำให้การออกเสียงไม่สุจริต เที่ยงธรรม มีโทษปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาท-สองแสนบาท จำคุก 1-10 ปี และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แต่ถ้าปฏิบัติโดยสุจริต ก็ได้รับการคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา

          กรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานออกเสียงฝ่าฝืนกฎหมาย กกต.มีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ยุติหรือระงับการกระทำที่เห็นว่าอาจทำให้การออกเสียง ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้

          ขณะที่ผู้ใดขัดขวางเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานออกเสียงทุกระดับมิให้ปฏิบัติตามประกาศกกต. มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าการขัดขวางเป็นการ ขู่เข็ญ ใช้กำลัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชา นายจ้าง ถ้าขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว ไม่ให้ความสะดวกพอสมควรต่อการไปใช้สิทธิออกเสียงของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง ก็ต้องรับโทษในอัตราเดียวกัน

 

"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

          ทำลายบัตรโทษหนักคุก10ปี

          ส่วนผู้ทำลายบัตรที่มีไว้ออกเสียงโดยไม่มีอำนาจ หรือทำให้ชำรุด เสียหาย ทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หากผู้กระทำเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกเสียงมีโทษหนักขึ้น จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท สำหรับระหว่างเปิดการลงคะแนนออกเสียง ผู้ใดรู้อยู่แล้วไม่มีสิทธิออกเสียงในหน่วยนั้น ผู้ที่นำบัตรอื่นที่ไม่ใช่บัตรออกเสียง หรือนำบัตรออกเสียงฯ ออกจากที่ออกเสียง ทำเครื่องหมายใดไว้ที่บัตรออกเสียงเพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นบัตรออกเสียงของตน ใช้อุปกรณ์ใดบันทึกภาพบัตรออกเสียงฯที่ตนลงคะแนนออกเสียงแล้ว ขัดคำสั่งกรรมการประจำหน่วยที่สั่งให้ออกไปจากที่ออกเสียง มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำและปรับ

        

"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

           ป่วน-สัญญาจะให้คุก10ปี

          ส่วนกรณีนำบัตรออกเสียงใส่หีบบัตรโดยไม่มีอำนาจ กระทำการใดในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเพื่อแสดงว่ามีผู้มาแสดงตนออกเสียงผิดไปจากความจริง กระทำการให้บัตรออกเสียงเพิ่มขึ้นจากความเป็นจริง ขัดขวาง หน่วงเหนี่ยว ไม่ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไปยังที่ออกเสียง ก่อความวุ่นวายในที่ออกเสียง กระทำการรบกวนหรือเป็นอุปสรรคแก่การออกเสียง มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ ไม่เกินสองแสนบาท ส่วนผู้ใดก่อความวุ่นวายไม่ให้การ ออกเสียงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ จัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ให้ไปออกเสียง  ใช้ หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทำให้สำคัญผิดในวันเวลาที่ออกเสียง วิธี การลงคะแนนออกเสียง เปิดทำลาย ทำให้ เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ ทำให้สูญหาย  ไร้ประโยชน์ นำไป หรือขัดขวางส่งหีบบัตร ออกเสียง มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน สองแสนบาท

 

"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

          พนันคุก5ปี-ถอนสิทธิ5ปี

          ขณะเดียวกัน หากเล่น จัดให้มีการพนันอันมีผลจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง เรียก หรือ รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนและผู้อื่นเพื่อไม่ไปออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง  มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

          นอกจากนี้กำหนดห้ามขาย จำหน่าย  จ่ายแจก จัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตออกเสียงระหว่างเวลา 18.00 น.ของวันก่อนออกเสียง จนสิ้นสุดวันออกเสียง ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ห้ามผู้ใดจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิไปหรือกลับจากที่ออกเสียงโดยไม่เสียค่าโดยสาร ค่าจ้างตามปกติ รวมถ้าจูงใจ ควบคุมให้ผู้มีสิทธิออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี แต่บทบัญญัตินี้ยกเว้นกับหน่วยงานของรัฐที่จัดยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง

"กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

          เผยโพลล์ก่อน7วันคุก3เดือน

          ขณะเดียวกัน ห้ามเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการออกเสียง 7 วัน ก่อนการออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดการออกเสียงในวันออกเสียง ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          กรณีกรรมการประจำหน่วยออกเสียง ถ้าจงใจนับบัตรออกเสียง คะแนนออกเสียง อ่านบัตรเสีย รวมคะแนนออกเสียง ผิดไปจากความจริง หรือทำให้บัตรออกเสียง ชำรุด  เสียหาย และทำรายงานการออกเสียงไม่ตรงกับความจริง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี  ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงสองแสนบาท

          "กฎหมายประชามติ" ต้องรู้! ทำอะไรผิด-ไม่ผิด พึงระมัดระวัง!

   ประชามติล่ม-ชดใช้ค่าใช้จ่าย

          กรณีผู้ใดเผยแพร่ ข้อความ ภาพ เสียงในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง มีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม ข่มขู่ หรือลักษณะ อื่นใดโดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิไปออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ไม่ออกเสียง

          ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยผู้ที่กระทำผิดทั้งก่อความวุ่นวาย ให้สัญญาว่าจะให้ หลอกลวง บังคับขู่เข็ญ จนทำให้ต้องมีการออกเสียงประชามติใหม่ ผู้นั้นต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการออกเสียงประชามติใหม่ด้วย

          แต่กรณีผู้ที่รับเงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น แล้วมาแจ้ง ต่อกกต.ก่อนหรือในวันออกเสียง ไม่ต้องรับโทษและไม่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

          ทั้งหมดคือสาระสำคัญของบทกำหนดโทษที่จะควบคุมการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนจะมีการแก้ไขปรับปรุงในส่วนใดบ้างหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

จากหนังสือ ถอดรหัสคำประกาศ 'ผมสู้ตาย' ของทหารเสือชื่อ 'พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา'