นี่หรือคือสาเหตุ!?ที่ "นักเลือกตั้ง"ค้าน"รธน."กันแบบนี้!

นี่หรือคือสาเหตุ?? ที่บรรดานักเลือกตั้ง ดาหน้าออกมาค้าน รัฐธรรมนูญ กันแบบนี้

ประชามติ ชี้ขาดอนาคตประเทศ

 

“อย่าให้ใครมาทำลายความสงบสุขประเทศเราอีก เสถียรภาพของคนในประเทศสำคัญที่สุด คนเดือดร้อนคือพวกเรา คนที่ไปสร้างความเดือดร้อนอยู่ข้างนอก ใครก็ไม่รู้ล่ะนะ ก็อย่าไปฟังเขามากนัก”

          "ผมไม่ฟังแล้วล่ะ ขี้เกียจฟัง ก็พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เหมือนเดิม ผมว่าไม่เกิดประโยชน์ แล้วท่านก็ไม่เคยทำกันทั้งสิ้น สิ่งที่ท่านว่าผมทุกวันนี้ เคยทำกันที่ไหนล่ะ คณะทำงาน รัฐมนตรีเงา เคยทำหรือเปล่า ถ้าทำบอกผมมาสิว่า จะทำยังไง สิ่งที่จะทำ ใช้งบประมาณแล้วแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วทำยังไง ตอบผมมาบ้าง ผมถามท่านทางนี้ ตอบมาแล้วกัน เพราะท่านพูดให้ผมฟังทางสื่อทุกวันๆ ผมก็อดทนอยู่นะ อย่ามาพูดนะ ถ้าพูดในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำ อย่าพูด จำไว้นะครับ"

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.

รายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ"

ออกอากาศคืนวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2559

นี่หรือคือสาเหตุ!?ที่ "นักเลือกตั้ง"ค้าน"รธน."กันแบบนี้!

 

แม้ว่าคำขอเพิ่มเติมเนื้อหารธน.ในบทเฉพาะกาลของคสช.จะอธิบายถึงที่มาและความจำเป็นเอาไว้ขนาดไหน แต่ทว่าเสียงสะท้อนจากฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ต่างดาหน้าออกมาคัดค้านอย่างหนักหน่วง จนทำให้เกิดคำถามว่าร่างรธน.ที่ว่านี้จะผ่านประชามติหรือไม่ เนื่องจากพื้นที่การลงคะแนนหรือเลือกตั้งของไทยยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ระบบอุปถัมภ์  หัวคะแนนเสียงของนักการเมืองแทบทั้งสิ้น

นี่หรือคือสาเหตุ!?ที่ "นักเลือกตั้ง"ค้าน"รธน."กันแบบนี้!

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงข้อเสนอ คสช. ต่อการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยแสดงความเห็นถึงระบบเลือกตั้งที่เสนอมา ทำให้ไม่เกิดผลดีต่อประเทศ เพราะจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการต่อรองทางการเมือง ขัดแย้งกับการขับเคลื่อนประเทศ ส่วนการแต่งตั้ง ส.ว. 250 คนนั้น ตนไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่ให้มีผู้นำเหล่าทัพเป็น ส.ว.โดยตำแหน่งด้วย 6 คน นอกเหนือจากการเข้ามาคุมเสียงในวุฒิสภา และเห็นว่ากลไกนี้จะทำให้เกิดความสับสน ขัดหลักประชาธิปไตย ที่ให้ข้าราชการมาดำรงตำแหน่ง และมีอำนาจซ้ำซ้อนกัน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า อยากให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. พิจารณาข้อเสนอตามข้อเท็จจริงและการยอมรับจากประชาชนเป็นสำคัญ มากกว่าที่จะเกรงใจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เชื่อว่าประธานกรธ.ทราบดีถึงเหตุผลของแต่ละฝ่าย และหากยังสร้างความหวาดระแวงเรื่องการสืบทอดอำนาจ ก็จะเกิดเงื่อนไขความขัดแย้งจากรัฐธรรมนูญในอนาคต

          หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงเงื่อนไขการรณรงค์ก่อนการออกเสียงประชามติ ที่จะมีการออกฎหมายควบคุม ว่า โดยหลักการต้องเปิดกว้าง เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของทุกคน หากจำกัดกรอบมากไป ก็จะถูกหยิบมาเป็นเงื่อนไขเรื่องความชอบธรรมในการทำประชามติ

 

แถลงการณ์เพื่อไทยค้านร่างรธน.ฉบับกรธ.-ข้อเสนอคสช. เชื่อสืบทอดอำนาจ-ทำประชาธิปไตยถดถอย

          ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกต่อสาธารณชน และอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นร่างสุดท้าย หลังจากได้รับฟังข้อเสนอของภาคประชาชนและองค์กรต่างๆ โดยมีการแถลงผลสรุปของการแก้ไขปรับปรุงมาโดยตลอด จนล่าสุด คสช.ได้มีข้อเสนอเป็นหนังสือให้ กรธ.ได้ปรับปรุงแก้ไขบทเฉพาะกาลมาด้วยนั้น

          พรรคเพื่อไทย ได้ติดตามการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.มาโดยตลอด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาหลายประการที่จะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศถดถอย รัฐบาลขาดเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถูกแทรกแซงจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ กลไกในรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนหรือนโยบายที่มีลักษณะของการช่วยเหลือดูแลประชาชนได้ มีการสร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เป็น ส.ส.เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ ที่มาของ ส.ว.ก็มาจากการสรรหาแทนที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ขณะที่รัฐธรรมนูญก็มีการกำหนดเงื่อนไขให้แก้ไขยากมาก

          โดยพรรคได้เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อ กรธ.แล้ว แต่ข้อเสนอของพรรคก็ไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงแต่ประการใด ขณะที่ คสช.ได้มีข้อเสนอไปยัง กรธ. ดังนี้

          1. ให้มี ส.ว.จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งของคณะบุคคลเพียง 8-10 คน โดยคณะบุคคลที่ทำหน้าที่คัดเลือก ส.ว. 8-10 คน ไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใดเลย ส่วนใหญ่คงเป็นคนที่ คสช.คัดเลือกมา จึงอาจกล่าวได้ว่า คสช.เป็นผู้เลือก ส.ว.นั่นเอง นอกจากนี้การให้ ผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ผบ.ตร.เป็น ส.ว.ด้วย ยิ่งมีปัญหาเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นข้าราชการประจำต้องทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล กลับให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเสียเอง และบุคคลเหล่านี้มีอำนาจคุมกำลังทั้งทหารและตำรวจ การให้มาทำหน้าที่ ส.ว.จะทำให้สามารถชี้นำการทำหน้าที่ของ ส.ว.และชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นการขัดต่อสถานะของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว

          ส่วนข้อเสนอที่ให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของ ส.ว.มีอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ อำนาจในการขับเคลื่อนการปฏิรูป ซึ่งก็ไม่ต่างจาก คปป.ในร่างของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ก็เป็นประเด็นที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตยของทั่วโลก เพราะ คสช.ให้บุคคลที่มาจากการแต่งตั้งอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้

 

          2. การเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ 3 คน แต่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ข้อเสนอตรงนี้พบว่ามีปัญหามาก ซึ่งมีข้อเสียมากกว่าข้อดี การใช้เขตละคนซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งทุกครั้งในระยะหลังเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นระบบที่ง่าย สะดวกและเป็นธรรม พรรคมองเจตนาได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวต้องการสกัดพรรคการเมืองใหญ่ให้มี ส.ส.เขตลดลง

          3. การขอให้ยกเว้นไม่ต้องให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อในการเลือกตั้ง ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องเสนอก็ได้ เพราะร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้บังคับว่าพรรคต้องเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสมอไป จะเสนอหรือไม่เสนอก็ได้ เหตุที่ คสช.เสนอดังกล่าว ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น และประชาชนไม่สามารถทราบได้เลย

          พรรคจึงเห็นว่าข้อเสนอของ คสช.ข้างต้นเป็นความต้องการของ คสช.โดยตรงที่ต้องการจะควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป โดยผ่านตัวแทนที่ตนเองแต่งตั้งขึ้นโดยทางอ้อม คือ ส.ว.และนายกรัฐมนตรี แม้จะอ้างว่านายกรัฐมนตรีต้องผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม แต่ด้วยกระบวนการและกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นไปได้สูงว่า จะมีปัญหาการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างแน่นอน สุดท้ายก็ต้องเอาคนที่ คสช.เห็นชอบ เพราะ คสช.ยังมีอำนาจในการควบคุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไปจนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่

          "พรรคเพื่อไทยเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ปรากฏ นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้มี ส.ว.จากการแต่งตั้งทั้งหมด มีอำนาจควบคุมรัฐบาลแล้ว ยังมีประเด็นของการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นการผิดหลักการประชาธิปไตยอีกด้วย ร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้มีความตั้งใจที่จะสืบทอดอำนาจ ต้องการจะควบคุมและมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของปวงชน จึงเป็นการไม่ให้ความเคารพในอำนาจของประชาชนเลยแม้แต่น้อย" แถลงการณ์ ระบุ

          ด้วยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา รวมถึงข้อเสนอของ คสช.ที่จะเพิ่มปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นข้างต้น ประกอบกับการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดความผิดและโทษของฝ่ายที่รณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง ขณะที่มีการใช้กลไกของรัฐเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติเป็นไปอย่างกว้างขวาง พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่ากระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงกระบวนการลงประชามติ มิได้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยด้วยความสุจริต โปร่งใส และชอบธรรมแต่อย่างใด

          ดังนั้น พรรคเพื่อไทยจึงออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนของพรรคว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ กรธ. และข้อเสนอของ คสช. ดังกล่าวข้างต้น

นี่หรือคือสาเหตุ!?ที่ "นักเลือกตั้ง"ค้าน"รธน."กันแบบนี้!

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รู้สึกเสียดายเวลา เสียดายงบประมาณ ที่หมดไปกับกรรมการร่าง รธน.ถึง 2 คณะ แทนที่จะเดินหน้ากลับถอยหลังเข้าคลองไปหลายสิบปี ลูกหลานคนไทยภายหลังคงจะเรียก รธน.ฉบับนี้ว่า รธน.ฉบับใบสั่ง เพราะเปิดเผยเปลือยกายล่อนจ้อนอย่างไม่เหนียมอาย นายกฯ ในฐานะหัวหน้า คสช.จะเอาอย่างไรกับร่างรัฐธรรมนูญ กรธ.ก็ขัดไม่ได้อยู่แล้ว น่าจะสั่งไปเลยตั้งแต่ต้นว่าจะเอาอย่างนี้ จะได้ไม่เสียทั้งเวลาและงบประมาณ

ตัวอย่างหนึ่งความพร้อมใจกันของ 2 ขั้วการเมืองอย่างพรรคประชาธิปัตย์และเพื่อไทย ได้กลายมาเป็นแนวร่วมมุมกลับ จากที่เคยเผชิญหน้ากันแทบจะทุกเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงวันลงเสียงประชามติว่า พล.อ.ประยุทธ์และคสช.จะต้องสู้กับนักเลือกตั้งชนิดเต็มอัตราศึก โดยมีคนไทยทั้งประเทศเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะเลือกสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์หรือนักเลือกตั้ง ผ่านสนามการต่อสู้ ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

 

เรียบเรียงโดย ยุคล วิเศษสังข์ จากหนังสือถอดรหัสคำประกาศ ผมสู้ตาย ของทหารเสือชื่อ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา

นี่หรือคือสาเหตุ!?ที่ "นักเลือกตั้ง"ค้าน"รธน."กันแบบนี้!