มาดู!วีรกรรมทางทหารของ"พล.อ.ประยุทธ์" บอกได้เลยว่า "ชายชาติทหารตัวจริง"

เราอาจเห็นแต่พล.อ.ประยุทธ์ทางด้านการเมืองเท่านั้น แต่แท้จริงชายชาติคนนี้วีรกรรมเพียบ! บอกได้คำเดียวว่านี่แหละ "ชายชาติทหารตัวจริง"

“ประยุทธ์” ชายชาติทหารตัวจริง

มาดู!วีรกรรมทางทหารของ"พล.อ.ประยุทธ์" บอกได้เลยว่า "ชายชาติทหารตัวจริง"

ภายหลังได้เข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23

 

เส้นทางชีวิตราชการ “บิ๊กตู่” เริ่มต้นรับราชการที่หน่วย “ทหารเสือราชินี” ( กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ ร.21 รอ.) ตั้งแต่เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2  กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ( ผบ.ร.21 พัน.2 รอ.)  เป็นเสนาธิการกรมฯ รองผู้บังคับกรม และขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมฯตามลำดับ ก่อนจะย้ายมาเป็นรองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ( พล.ร.2 รอ.) และเป็นผู้บัญชาการกองพลฯ  ต่อจากนั้นได้รับตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 ในยุคที่ “บิ๊กป๊อก” พลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา ( ยศในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพภาค และ “บิ๊กบัง” พลเอกสนธิ บุณยรัตนกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบก

 

ในเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ พล.ต.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจด้วยรับคำสั่งตรงจาก พล.ท.อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)

 

หลังจากนั้นเมื่อ พล.ท.อนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" รับตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. อีกด้วย

 

 

พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้รับแต่งตั้งเป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

 

2 กันยายน พ.ศ. 2553 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

 

 

 

“ทหารเสือราชินี”

เครื่องหมายเชิดชูเกียรติเกียรติทำด้วยโลหะประดับหน้าอก เป็นรูปหัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. หมายถึง ผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจ เพราะผู้ที่ใกล้ตาย หัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง ในห้วงเวลาที่คนใกล้ตาย ย่อมไม่พูดปด หรือปิดบังสิ่งใด ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ ทรงพระราชทานหัวใจสีม่วงนี้แก่กำลังพล ด้วยมุ่งหวังให้ทหารเสือทุกนายมีความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

 

ส่วนรูปเสือประคองหัวใจสีม่วง หมายถึง กำลังพลทหารเสือทุกนายที่เทิดทูนความซื่อสัตย์ สุจริต และจงรักภักดีแทบเบื้องพระยุคลบาท ภูเขา เกลียวคลื่น ก้อนเมฆ หมายถึง ทุกหนแห่ง ไม่ว่าบนฟ้า พื้นดิน ภูเขา หรือในทะเล ทหารเสือทุกนายพร้อมดั้นด้นไปเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของชาติ และองค์พระมหากษัตริย์

 

เหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สรุปความเป็นทหารเสือราชินีไว้ได้อย่างกระชับ ภายใต้เข็มเครื่องหมายที่ทุกคนทราบกันดี

 

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ร.21 รอ.) เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ เหล่าทหารราบ ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่ 1 ได้รับพระราชทานสมญานามจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า "ทหารเสือนวมินทราชินี" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ทหารเสือราชินี"

 

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2493 ตามคำขอขององค์การสหประชาชาติ ในการจัดตั้งกำลังเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ โดยใช้นามหน่วยครั้งนั้นว่า “กรมผสมที่ 21” ต่อมาจึงแปรสภาพหน่วยมาเป็นชื่อในปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่ตั้งหน่วยปัจจุบันอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงดำรงตำแหน่งองค์ผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารนี้

 

มาดู!วีรกรรมทางทหารของ"พล.อ.ประยุทธ์" บอกได้เลยว่า "ชายชาติทหารตัวจริง"

วีรกรรมของหน่วย

-เข้าร่วมรบกับกองทัพสหประชาชาติในสงครามเกาหลีอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ จนได้รับสมญานามว่า “พยัคฆ์น้อย”

-เข้าร่วมรบสงครามเวียดนาม ในนามกรมทหารอาสาสมัคร “จงอางศึก” ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2512

-ปฏิบัติราชการในการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และการช่วยเหลือประชาชนใน จ.น่าน จนก่อเกิดวีรกรรมบ้านห้วยโก๋น ในปี พ.ศ. 2518

-ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์ รามาธิบดีประดับธงไชยเฉลิมพล จากปฏิบัติการยับยั้งการรุกรานของเวียดนามทางด้านชายแดนไทย-กัมพูชา ที่สมรภูมิเขาพนมประ อ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2526

 

กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ จัดแบ่งกำลังพลออกเป็น 3 กองพัน คือ

กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ (ร.21 พัน.1 รอ.)

กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ (ร.21 พัน.2 รอ.)

กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ (ร.21 พัน.3 รอ.)
 

 

เรียบเรียงโดย ยุคล วิเศษสังข์ จากหนังสือ ถอดรหัสคำประกาศ ผมสู้ตาย ของทหารเสือชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา