แนะวิธีบูชา เทพนารีแห่งปัญญา องค์ "พระสุนทรีวาณี" บูชาแบบนี้ เรียนดีแน่นอน !

ติดตามเรื่องราวดี ๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

พระสุนทรีวาณี เทพนารีแห่งปัญญาในพระพุทธศาสนา ณ วัดสุทัศนเทพวราราม

แนะวิธีบูชา เทพนารีแห่งปัญญา องค์ "พระสุนทรีวาณี" บูชาแบบนี้ เรียนดีแน่นอน !

            พระสุนทรีวาณี คือ เทวีแห่งปรีชาญาณและความรู้แจ้ง ผู้ทรงอานุภาพบันดาลความเป็นเลิศทางปัญญาและการเข้าถึงพระธรรม

            พระสุนทรีวาณี เหมาะแก่การขอให้ประทานพรในด้านสติปัญญา ให้พ้นจากความขัดข้องหลงลืม มีความจำเป็นเลิศ เชี่ยวชาญในสรรพวิชาและการประดิษฐ์คิดค้นทุกอย่าง โน้มนำจิตไปในหนทางที่เป็นกุศล ดับอวิชชาสิ้น เกิดปรีชาญาณพิจารณาธรรมได้แจ่มแจ้ง ขบคิดแก้ปัญหาทั้งทางโลกและทางธรรมได้อย่างเจนจบทุกประการ       

แนะวิธีบูชา เทพนารีแห่งปัญญา องค์ "พระสุนทรีวาณี" บูชาแบบนี้ เรียนดีแน่นอน !

วิธีการปฏิบัติบูชา

          การประดิษฐานเทวรูปของพระสุนทรีวาณี ควรหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือหรือทิศเหนือ ควรมีที่บูชาต่างหาก ไม่ควรอยู่ในโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป เทวรูปของพระสุนทรีวาณีนั้นควรประดิษฐานบนแท่นไม้ที่แต่งด้วยสีทองหรือโลหะ หากประดิษฐานโดยลำพังเครื่องบูชาควรเป็นโลหะทั้งหมดเครื่องบูชา ประกอบด้วย กระถางธูป เชิงเทียน 1 คู่ เชิงเผากำยาน แจกกันดอกไม้ หรือพานสำหรับวางพวงมาลัย 1 คู่ ถ้วยน้ำ ภาชนะใส่ของไหว้ แต่ถ้าเป็นเทวรูปที่เป็นแผ่นภาพ ภาพเขียนสำหรับตั้งโต๊ะจัดเครื่องบูชาเฉพาะ แจกันหรือพานดอกไม้เท่านั้น ไม่ต้องมีเครื่องบูชาอื่น ถ้าพระเทวรูปเป็นแบบแขวนไม่ต้องจัดเครื่องบูชา             

การไหว้พระสุนทรีวาณีควรเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอมและควรงดการถวายส้มอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้สามารถถวายขนมชนิดต่างๆได้ตามต้องการ

คาถาบูชาพระสุนทรีวาณี

ตั้ง นะโม 3 จบ

มุนินทะ   วะทะนัมพุชะ   คัพภะสัมภะวะ   สุนทะรี

ปานีนัง   สะระณัง   วาณี   มัยหังปิณะยะตัง   มะนังฯ

(ท่อง สาม ห้า หรือ เจ็ด จบพร้อมคำแปล)

คำแปล

          ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฎก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ท้องประทุมชาติ คือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลสที่ดองอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลางและอย่างละเอียดให้สิ้นไปเสื่อมไป  ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ทำให้ลำบากแก่สังขาร