พล.ต.อ. วสิษฐ ซาบซึ้งในปรีชาญาณของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!! "ผมเห็นนิมิตในสมาธิแล้วตกใจ...แต่พระองค์สามารถแนะนำวิธีแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิชาทั้งหมด"!!

รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำเรื่อง "การเกิดนิมิต" ในสมาธิ

------------------------------------------------------------------------------

 

พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร เล่าถึงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงเคยพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับ "การทำสมาธิ" ไว้ว่า

"ครั้งหนึ่งได้เข้าเฝ้า ผมก็กราบบังคมทูลว่า  ผมเพิ่งหัดปฏิบัติ แต่ว่าหัดแล้วจิตสงบเร็ว  เวลาสงบก็จะมีอาการอย่างจิตที่เริ่มสงบทั้งหลายที่ผมไม่คุ้นเคย  ครั้งหนึ่งผมนั่งแล้วก็รู้สึกว่าตัวผมลอยขึ้น พอลอยขึ้นสูงจากพื้นเกินศอกหนึ่ง หัวก็เริ่มบ่ายทิ้งลงช้า ๆ ผมก็เลยเลิก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า  ‘ที่ไปเลิกนั่นผิด ... เพราะที่จริงการทำสมาธินั้น อะไรเกิดขึ้น ผู้ทำสมาธิถ้าสติยังอยู่กับตัวก็ควรจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับตัวเอง แล้วอยู่กับภาวะนั้นไป’

อีกครั้งหนึ่ง ผมนั่งสมาธิแล้ว พอจิตสงบก็เหมือนตกลงไปในความมืด คล้าย ๆ กับในท่อขนาดพอตัว ดิ่งลงไปไม่เร็วนัก แต่เร็วพอสมควร  ที่ปลายท่อข้างโน้นเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ  ผมก็ตกใจ เลิกทำสมาธิ

ผมไปกราบบังคมทูลเล่าถวาย ท่านก็ทรงรับสั่งอีกว่า  ‘ผิด... ไม่ควรจะเลิก  แต่ควรคุมสติให้มี แล้วก็อยู่กับภาวะที่ตัวกำลังประสบนั้นไปเรื่อย ๆ’

แล้วในที่สุด ท่านบอกว่า  ‘มันจะผ่านขั้นตอนเหล่านี้แล้วไปสู่ความสงบจริง ๆ’ "

 

พล.ต.อ. วสิษฐ ซาบซึ้งในปรีชาญาณของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!! "ผมเห็นนิมิตในสมาธิแล้วตกใจ...แต่พระองค์สามารถแนะนำวิธีแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิชาทั้งหมด"!!

ผมเอามาเทียบเคียงกับคำสอนของครูบาอาจารย์...เห็นว่าตรงกันหมด จึงได้รู้ว่าทรงปฏิบัติไปได้มาก  หากเป็นคนธรรมดาคงจะหาคนที่ศีลสมบูรณ์เหมือนพระองค์ได้ยาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมบูรณ์ทางศีล ท่านไม่ล่วงศีล  เพราะฉะนั้น เมื่อมีศีลเป็นพื้นฐานธรรมดา สมาธิก็เกิดง่าย สมาธิก็จะอยู่มั่นคง และในที่สุดจะตามมาด้วยปัญญา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

พระมหากษัตริย์ของเราท่านทรงมีทศพิธราชธรรม ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินบ้านอื่นเขา  แล้วในทศพิธราชธรรม ๑๐ มีอยู่ข้อหนึ่ง คือ ‘ศีลต้องมี’

ถ้าหากจะมีอะไรที่แลดูเหมือนว่าทรงล่วงศีลบ้าง...ก็ทรงมีเหตุผลและไม่ได้ตั้งพระทัยที่จะทำ  ยกตัวอย่างในงานสังคมที่เขามีการดื่ม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือด้วยและเสวยน้ำจัณฑ์ด้วย แต่ไม่ได้ขาดสติ ... เป็นการปฏิบัติคล้อยตามสังคมเพื่อที่จะให้ไม่เสียมารยาท และเป็นการเอาใจแขก"

 

พล.ต.อ. วสิษฐ ซาบซึ้งในปรีชาญาณของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!! "ผมเห็นนิมิตในสมาธิแล้วตกใจ...แต่พระองค์สามารถแนะนำวิธีแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิชาทั้งหมด"!!

 

พล.ต.อ. วสิษฐ ซาบซึ้งในปรีชาญาณของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙!! "ผมเห็นนิมิตในสมาธิแล้วตกใจ...แต่พระองค์สามารถแนะนำวิธีแก้ไขได้ถูกต้องตามหลักวิชาทั้งหมด"!!

พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร

ที่มา : หนังสือ "สองธรรมราชา", อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์