หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

"พระโพธิสัตว์" คือใคร?

พระโพธิสัตว์คือ "ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล"  โดยระหว่างที่บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้นั้น พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ เรียกว่า "ทศบารมี" อันได้แก่

(๑) ทานบารมี  (๒) ศีลบารมี  (๓) เนกขัมมบารมี  (๔) ปัญญาบารมี  (๕) วิริยบารมี  (๖) ขันติบารมี  (๗) สัจจบารมี  (๘) อธิษฐานบารมี  (๙) เมตตาบารมี  (๑๐) อุเบกขาบารมี

ในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น ๓ ขั้น ได้แก่

๑. บารมีขั้นต้น  คือ  การบำเพ็ญบารมีอันเนื่องด้วยวัตถุและทรัพย์สมบัตินอกกาย  เช่น  การสละทรัพย์เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นจัดเป็น "ทานบารมี"  การรักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทองจัดเป็น "ศีลบารมี"  การยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สมบัติจัดเป็น "เนกขัมมบารมี"

๒. บารมีขั้นกลาง (อุปบารมี)  คือ  การบำเพ็ญบารมีอันเนื่องด้วยเลือดเนื้ออวัยวะ  เช่น  การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่นจัดเป็น "ทานอุปบารมี"  การใช้ปัญญารักษาเลือดเนื้ออวัยวะของผู้อื่นจัดเป็น "ปัญญาอุปบารมี"  การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้ออวัยวะจัดเป็น "วิริยอุปบารมี"  การมีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตนจัดเป็น "เมตตาอุปบารมี"  การมีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายเลือดเนื้ออวัยวะของตนจัดเป็น "ขันติอุปบารมี"

๓. บารมีขั้นสูงสุด (ปรมัตถบารมี)  คือ  การบำเพ็ญบารมีอันเนื่องด้วยชีวิต  เช่น  การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่นจัดเป็น "ทานปรมัตถบารมี"  การยอมสละแม้ชีวิตเพื่อรักษาคำพูดจัดเป็น "สัจจปรมัตถบารมี"  การตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิตจัดเป็น "อธิษฐานปรมัตถบารมี"  การวางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตนจัดเป็น "อุเบกขาปรมัตถบารมี"

ดังนั้น ทศบารมีหรือบารมี ๑๐ หากกล่าวโดยละเอียดจึงรวมเป็น "บารมี ๓๐ ทัศ"

เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีจนเที่ยงแท้แล้วจะเรียกว่า "นิยตโพธิสัตว์" คือพระโพธิสัตว์ผู้จะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน  หากพระโพธิสัตว์ยังบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ไม่มากพอที่จะตรัสรู้ จะเรียกว่า "อนิยตโพธิสัตว์" คือพระโพธิสัตว์ที่ไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

นอกจากนี้ พระโพธิสัตว์ยังแบ่งได้อีก ๓ ประเภท คือ

๑. ปัญญาธิกโพธิสัตว์  คือ  พระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ  ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด ๒๐ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป คือ  ตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๗ อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๙ อสงไขย รวมเป็น ๑๖ อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็นพระนิยตโพธิสัตว์เมื่อเหลือเวลาอีก ๔ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป  ซึ่งเป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

๒. สัทธาธิกโพธิสัตว์  คือ  พระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ  ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด ๔๐ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป คือ  ตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๑๔ อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๑๘ อสงไขย รวมเป็น ๓๒ อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็นพระนิยตโพธิสัตว์เมื่อเหลือเวลาอีก ๘ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป  ซึ่งเป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

๓. วิริยาธิกโพธิสัตว์  คือ  พระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ  ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด ๘๐ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป คือ  ตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา ๒๘ อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๓๖ อสงไขย รวมเป็น ๖๔ อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็นพระนิยตโพธิสัตว์เมื่อเหลือเวลาอีก ๑๖ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป  ซึ่งเป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน

 

หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

สุเมธดาบสได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าทีปังกรว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (องค์ปัจจุบัน) ในอนาคตกาล

ตั้งแต่ยังเป็นเด็กและเริ่มจำความได้ ทุกคนคงจะรับรู้เรื่องราวของพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงงานเพื่อปวงชนชาวไทยมาตลอด ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของพระราชจริยาวัตรที่เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้ว

แต่นอกเหนือจากนี้ เรายังสามารถสัมผัสกับมิติทางธรรมของพระองค์ท่านได้จากหนังสือธรรมะและคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ท่านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มิติที่สอดคล้องกับการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการของพระโพธิสัตว์ อันเป็นคุณธรรมที่จะทำให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ดังเช่นคำกล่าวของครูบาอาจารย์ต่อไปนี้

พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (เจ้าคุณนรรัตนฯ) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส กล่าวว่า

"ในหลวงพระองค์นี้ท่านเป็นพระโพธิสัตว์นะ!"

หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

 

นอกจากนี้ยังมีครูบาอาจารย์อีกหลายท่านที่กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์  เช่น  หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า

"ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม เคยเป็นช้างนาฬาคิริง ... ส่วนในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นช้างป่าเลไลยก์นะ!" (ช้างป่าเลไลยก์คือพระโพธิสัตว์ผู้สร้างบารมีมาเป็นอันมากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล)

หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

 

เช่นเดียวกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวถึงน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

"พระองค์มัวแต่เป็นห่วงคนอื่น แต่ไม่ทรงห่วงพระองค์เองบ้างเลย!"

หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

 

ครูบาอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่กล่าวถึงเรื่องนี้ก็คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้กล่าวว่า

"วันหนึ่งข้างหน้า ในหลวงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งของโลก ... ในหลวงเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงปรารถนาพุทธภูมิ!"

หน่อเนื้อพระพุทธเจ้า!! ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมตาม "คติแห่งพระโพธิสัตว์" เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า!!

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

 

อย่างไรก็ตาม  คำกล่าวทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านได้รู้ด้วย “ญาณวิถี” ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตนของครูบาอาจารย์  แต่ถึงกระนั้น หากเราทราบว่าพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระเจ้าอยู่หัวมีความสอดคล้องกับการบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ประการ อันเป็นคุณธรรมที่ทำให้พระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็อาจตัดสินใจเองได้ว่า...พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์จริงหรือไม่!!

ที่มา : หนังสือ "พุทธภูมิพล : ทศบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", ผศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ และ คณิตา หอมทรัพย์