รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

 

23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถือเป็นวันปิยมหาราช ซึ่งถือเป็นวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย  หน่วยงานและองค์กรต่างๆ จะมาวางพวงมาลา และนำดอกไม้มาสักการะ ถวายบังคมตามบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า พระลานหน้าพระราชวังดุสิต พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันปิยมหาราชของทุกๆปี

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากจะทรงมีพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"  แล้วท่านยังเป็นราชาผู้เป็น “มหาบพิตร” ทรงพระทัยในเรื่องศาสนา ทรงสร้าง บูรณะ และปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม หลายแห่ง  แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงวัดประจำรัชกาล  “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”

 

 “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เป็นวัดที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดแรก หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 1 ปี เพื่อให้เป็นวัดประจำรัชกาลตามโบราณราชประเพณี มีสิ่งปลูกสร้างหลักก็คือพระเจดีย์ทรงไทย ที่ล้อมรอบด้วยพระระเบียงวงกลมที่เชื่อมต่อพระวิหารและพระอุโบสถไว้ด้วยกัน ผนังระเบียงประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง กระจก ที่นับว่าวิจิตรบรรจงอย่างมาก

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

       ส่วนภายในพระอุโบสถเป็นงานศิลปกรรมแบบฝรั่งเศสคล้ายกับพระที่นั่งในพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศส มีพระพุทธอังคีรส เป็นพระประธาน สร้างขึ้นโดยการหล่อทำเป็นพิธีกระไหล่ทองทั้งองค์ สิ้นเนื้อทอง 180 บาท ซึ่งเป็นทองคำที่พระองค์ใช้แต่งเมื่อทรงพระเยา
     

                วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร หรือที่เรียกกันติดปากว่า วัดราชบพิธ นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณี ที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล 5 และยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 มิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ได้รับพระราชภาระในการทำนุบำรุง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดของพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 จึงเสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์เช่นกัน

โดยสร้างเลียนแบบ 2 วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์ กับ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 และภายในวัดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2413

 

                สำหรับ "สุสานหลวง" ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของวัด ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม แต่เดิมมีอาณาบริเวณกว้าง 4 ไร่กว่า ต่อมาในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางผู้สำเร็จราชการและทางกทม. ได้ตัดถนนอัษฎางค์ ซึ่งกินพื้นที่สุสานหลวงไปบางส่วน จนปัจจุบันสุสานหลวงเหลือพื้นที่เพียง 2 ไร่ครึ่งเท่านั้น 

                ความสำคัญอีกส่วนหนึ่งของวัดราชบพิธคือ ที่นี่เป็นสุสานหลวงส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ 5 ที่สร้างเจดีย์สถานอุทิศแด่พระมเหสี เจ้าจอมมารดา ตลอดจนเจ้าจอมทุกพระองค์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "สุสานหลวง" ขึ้นในวัดราชบพิธฯ ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด คือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชโอรส พระราชธิดา พระนัดดา และพระปนัดดา ได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงสร้างขึ้นในสมัยหลัง อนุสาวรีย์ที่สุสานหลวงนี้ทำเป็นรูปเจดีย์ ปรางค์ และอาคารศิลปะยุโรป

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

      รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5         

พระอุโบสถจะเปิดเป็นเวลา โดยในวันธรรมดาจะเปิดช่วงพระทำวัดเช้า-เย็น คือ 09.00-9.30 น. และ 17.30-18.00 น. วันพระและช่วงปีใหม่จะเปิดให้เข้าไปไหว้พระตั้งแต่ 08.00-13.30 น. ส่วนพระวิหารจะเปิดเฉพาะเวลามีพิธสำคัญเช่น อุปสมบท หรือการถวายสังฆทานสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น

 

ส่วนในเรื่องที่มีผู้สับสนว่า “วัดเบญจมบพิตรฯ” เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 หรือไม่นั้น ทางทีมข่าวได้หาข้อมูลมาให้ได้อ่านกันดังนี้  

รำลึกถึงพระปิยมหาราช ไขปริศนา วัดไหนกันแน่เป็นวัดประจำรัชกาล สุสานหลวงในวัด แทนความอาลัยในพระราชหฤทัย ร.5

วัดเบญจมบพิตร มีชื่อเต็มว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”  เป็นวัดที่สวยงามเป็นหนึ่งในสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งสยามประเทศนั้น หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 แต่อันที่จริงวัดนี้เป็นวัดเก่าที่ภายหลังรัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ก่อนที่รัชกาลที่ 5 จะทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ พร้อมกับพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5

 

ข่าว : ทิพย์วารี