เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

ที่ประเทศอินเดีย มีการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วยการลอยกระทง แต่ในประเทศไทย ถือว่าเป็นการลอยเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า  ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย (Narmada River - India)

 

ในประเทศไทย แม้จะมีการจัดงานลอยกระทงอย่างปกติ แต่ก็งดงานรื่นเริงต่างๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างการถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9  และได้มีพสกนิกรบางกลุ่ม ทำกระทงดำ เพื่อเป็นการถวายอาลัยอีกด้วย

 

และในวันลอยกระทงปี 2559 นี้ ยังตรงกับวันที่ 14 พย. ซึ่งเป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ซึ่งประเทศไทยเรา มีกษัตริย์นักพัฒนาที่ได้สมัญญาว่าเป็น “จอมปราชญ์แห่งน้ำ” โอกาสนี้ทางทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์ จึงได้นำเรื่องราวความผูกพันและอัจฉริยภาพของในหลวง ร.9 มาให้ผู้อ่านได้รับทราบกัน

 

หากจะกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็น “เทพเจ้าแห่งสายน้ำ” ก็ดูไม่เกินจริงเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะไม่มีผู้ใด เข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องการจัดการน้ำได้เท่าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 อีกแล้ว

 

  เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

สมเด็จฯ เคยเปรียบในหลวง ร.9 เป็นสายน้ำ

การเปรียบพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เป็นสายน้ำนั้น ดั่งพระราชปณิธานของสมเด็จฯ พระราชินี ที่ว่า

"...พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ ... พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า..."

 

นอกจากนี้ยังทรงนำข้าราชการ ทหาร ชาวบ้าน ร่วมกันปลูกต้นไม้หลายพันธุ์ หลายชนิด พระราชทานชื่อโครงการนี้ว่า

"โครงการป่ารักษ์น้ำ"!

เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

“คนที่ไร้ที่อยู่ที่ทำกินก็ต้องรู้สึกว่า พวกที่ต้องการรักษาป่าคือศัตรูขัดขวางความสุข ของเขา ฉะนั้น ป่าก็เป็นที่ต้องห้าม ขัดประโยชน์ของ พวกที่ไร้ที่ดิน ทางเลือกทางเดียว คือทำให้ป่าที่อยู่ เป็นทางหากินของพวกเขา โดยมีคนของทางราชการช่วยจัดและดูแลผลประโยชน์ ของพวกไร้ที่อยู่ และผลที่เลิศของส่วนรวมคือ ”น้ำ” ซึ่งจำเป็นต่อชีวิตที่สุด”

พระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 
๒๖ ธันวาคม ๒๕๒๕

 

เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

โปรดกีฬาทางน้ำ

กษัตริย์ผู้เดียวในโลก ที่มีพระปรีชาด้านเรือใบ ทรงโปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ ถึงขนาดทรงต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดปรานการช่างอยู่แต่เดิมแล้ว เรือใบของพระองค์จะทรงต่อด้วยพระองค์เอง และจะทรงทดลองแล่นในสระน้ำภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เองเป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า "ราชปะแตน" และต่อมาทรงต่อเรือใบประเภท โอ เค ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า "นวฤกษ์" ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เอง ทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงคิดค้น ออกแบบ และสร้างเรือใบขึ้นมาด้วยพระองค์เองอีก พระราชทานชื่อว่า "เรือใบแบบมด" ทรงมีรับสั่งว่า "ที่ชื่อมดนั้นเพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี" ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่โดยได้พระราชทานชื่อว่า เรือใบ "แบบซูเปอร์มด" และเรือใบในตระกูลมดนี้ลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบคือเรือใบ "แบบไมโครมด" ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักแล่นเรือใบทั้งหลาย

 

เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

พระราชนิพนธ์ ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับความวิริยะ ว่ายน้ำด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์ ... “พระมหาชนก”

 

พระมหาชนก เป็นบทพระราชนิพนธ์อีกเรื่องหนึ่งที่ทรงคุณค่าอย่างหาที่เปรียบมิได้

บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539

แนวคิดสำคัญของเรื่องคือ มุ่งสอนให้ผู้อ่านตระหนักถึงความเพียรเพื่อที่จะฝ่าฝันทุกอุปสรรคให้ผ่านพ้น

ซึ่งข้อคิดนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทรงสนพระราชหฤทัย  ในการนำเรื่องนี้มาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้ทรงสดับ พระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมมสาโรมหาเถร) วัดราชผาติการาม เมื่อ พ.ศ. 2520 โดยทรงแปลจากต้นฉบับในพระไตรปิกฏ (พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ชาดกเล่มที่ 4 ภาคที่ 2 ) ทรงดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น และเสร็จสมบรูณ์ เมื่อ พ.ศ. 2531

 

โครงการในพระราชดำริ อันแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางเรื่องน้ำ ทรงคิดแก้ปัญหาน้ำอย่างรอบด้าน

การทุ่มเทพระวรกาย เสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร เพราะทรงใส่พระราชหฤทัย และทรงตระหนักดีว่าน้ำเป็นทรัพยากรอันสำคัญที่สุดที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้เป็นอย่างดี โครงการการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเกิดขึ้นมากมายบนผืนแผ่นดินไทย

อาทิ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภค ได้แก่เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำขนาดต่างๆ อันเนื่องจากพระราชดำริ มีจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ
 

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร

โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม

โครงการบรรเทาอุทกภัย

การจัดการทรัพยากรน้ำในลักษณะ เขื่อนระบายน้ำ งานขุดลอกหนองและบึง และงานสระเก็บน้ำ

 

 การทำฝนเทียม หรือ "ฝนหลวง"  และ "เครื่องดักหมอก" (ไอน้ำที่อยู่ในรูปของหมอกเมื่อสามารถนำมาใช้ได้จึงก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า เป็นต้น)

  เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระราชหฤทัยเกี่ยวกับการจัดการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริว่าน้ำคือปัจจัยสำคัญต่อมนุษย์และบรรดาสิ่งมีชีวิตอย่างถ่องแท้ ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

 

"...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้..."

  เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

การจัดการทรัพยากรน้ำตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริดังได้กล่าวมา ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่ก็มีการพัฒนาแหล่งน้ำ หลาย ๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลาย ๆ อย่างพร้อมกันแบบอเนกประสงค์ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติเป็นส่วนรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้

๑. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้น และสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น

๒. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่นบริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของชาติไว้ได้

๓. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ไว้ ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง สามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น

๔. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปีทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย

๕. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาลเป็นอันมาก

๖. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็นชั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธาร ทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ต่อไป

เทวดาแห่งสายน้ำมีอยู่จริง! ทรงผูกพันกับสายน้ำในทุกแง่มุม กีฬา พระราชนิพนธ์ และการพัฒนาประเทศ คือจอมปราชญ์แห่งน้ำ1เดียวในโลก

 

 

 

กล่าวได้ว่าการจัดการทรัพยากรน้ำและงานพัฒนาแหล่งน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำทุกอย่างทุกขั้นตอน ดังที่นายปราโมทย์ ไม้กลัด เล่าให้ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๕-๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังนี้

"...งานของพระองค์ท่านมีตั้งแต่ ถ้าน้ำขาดแคลนก็จัดหาน้ำ และเมื่อน้ำท่วม น้ำมากก็จัดการบรรเทาให้น้อยลง เมื่อมีน้ำเน่าเสีย ก็ต้องมีการจัดการทำงานด้านน้ำทั้งหมด ท่านจะทรงทราบปัญหาอย่างละเอียด...."

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงหน้าแล้งปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องลดปริมาณน้ำเพื่อการทำนาปรังลงกว่าร้อยละ ๕๐ เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลักๆ มีไม่เพียงพอ และได้มีการเรียกร้องให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครประหยัดการใช้น้ำประปา

ทำให้ระลึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่ว่า

"…เคยพูดมาหลายปีแล้ว ในวิธีที่จะปฏิบัติเพื่อที่จะให้มีทรัพยากรน้ำพอเพียงและเหมาะสม คำว่าพอเพียง ก็หมายความว่าให้มีพอในการบริโภคในการใช้ ทั้งในด้านการใช้ในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต้องมีพอ ถ้าไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักไม่มีทางที่จะมีความเจริญถ้าไม่มีน้ำ….

 แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ก็ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้ อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้า เราสบาย และถ้าไม่ทำ อีก ๕-๖ ปี ข้างหน้า ราคาก่อสร้างค่าดำเนินการก็จะขึ้นสูงไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย…"

ปัญหาเรื่องภัยแล้งนี้ ดูจะเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมู่นี้ก็พูดกันอย่างขวัญเสียว่า อีกหน่อยจะต้องปันส่วนน้ำ… ถ้าหากว่าได้ปฏิบัติตามแผนนั้นๆ แล้ว วันนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงการขาดแคลนน้ำ…

 

 นอกจากนี้ บ่อยครั้ง ในหลวงยังทรงเคยวาดภาพแผนที่ประเทศไทย แสดงเส้นทางน้ำ ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง

และตรัสถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ได้อย่างละเอียดอย่างน่าทึ่ง แสดงให้เห็นว่า ทรงรู้จักเส้นทางน้ำในเมืองไทย รู้จักผืนแผ่นดินไทยอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง ยิ่งกว่าผู้ใดในโลก

ชมคลิป

 

 

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่  พระโพธิสัตว์มีจริง! เรื่องอัศจรรย์ในพระบารมี ฝูงโลมาว่ายน้ำตามถวายอารักขา

ขอบคุณข้อมูลจาก                : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , วิกิพีเดีย

ข่าว : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)