"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

 

คนไทยชอบเอาอนิจจัง มาใช้ปลง เพื่อให้ใจผ่อนสบายคลายโศกหรือหายทุกข์ เรียกกันว่า “ปลงอนิจจัง”

อะไรแตกหัก สูญสลาย พลัดพรากจากไป ก็ว่า “อนิจจัง!” แล้วปล่อยวางได้ ผ่านไป การใช้อนิจจังอย่างนั้น เป็นเรื่องของการรู้เท่าทันความจริง ที่ทำให้สละละลดความยึดติดถือมั่นลงไปได้ จึงผ่อนคลายบรรเทาทุกข์โศก การรู้เท่าทันและความสบายใจหายทุกข์ได้นั้นดีแน่ แต่ก็ต้องระวังไว้อย่างยิ่งทีเดียวว่า ถ้าสบายใจแล้วก็ปล่อยอะไรๆ ไปเรื่อยๆ สิ่งที่ควรแก้ไขจัดทำ ก็ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ถ้าอย่างนี้ก็จะกลายเป็นการปฏิบัติผิดธรรมข้อใหญ่ ที่เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่ง

     ถ้าบอกว่าปฏิบัติธรรม ก็เป็นการปฏิบัติครึ่งๆ กลางๆ และไม่เกิดจากความเข้าใจจริงด้วย ได้แค่ถือหรือทำตามๆ กันมา น่าจะได้ไม่คุ้มเสีย บ้านเมืองจะล่มจมพังพินาศ ก็บอกว่า อนิจจัง! เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เจริญแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็เจริญ เป็นธรรมดา ว่าอย่างนี้ คือ “ปลง” แล้วไม่ยึดติดถือมั่น หายเครียด ก็ดีเหมือนกัน ใจสบาย แล้วก็ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไร เรียกว่า “ปล่อยวาง”

“ปลง” และ “ปล่อยวาง” อย่างนี้ ทำท่าว่ามีหลัก ก็คือหลักรู้เท่าทันธรรมดาแล้วไม่ยึดติดถือมั่นนั่นแหละ  แต่อีกด้านหนึ่ง ไม่ได้มองว่าผิดหลักใหญ่ที่ถือว่าสำคัญยิ่งคืออะไร

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

 

ลองดูพุทธพจน์ต่อไปนี้

สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา,

เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

ท่อนที่ ๑. ตรัสถึงความเป็นอนิจจัง คือบอกแจ้งความจริงของธรรมดาที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ในที่สุดก็ต้องดับสิ้น

ท่อนที่ ๒. ทรงเตือนให้ไม่ประมาท คือทรงสอนแนะนำการปฏิบัติของเราว่า ให้บำเพ็ญความไม่ประมาท

 

ที่ตรัสว่า “จบยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” ก็คือให้มีความไม่ประมาทอย่างพร้อมบริบูรณ์ หรือเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างเต็มที่

พุทธพจน์ทั้งสองท่อนนั้นโยงกัน คือ เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ เราจะมัวนิ่งนอนใจทำเฉยอยู่ไม่ได้ จึงต้องไม่ประมาท

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

พุทธพจน์นี้เป็นปัจฉิมวาจา คือพระดำรัสสุดท้าย เหมือนเป็นคำฝากฝังสั่งเสีย ชาวพุทธจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ต้องปฏิบัติให้ได้และให้เข้มข้นแข็งขันจริงจัง

เพราะฉะนั้น เห็นอนิจจัง ปลงได้ แต่ต้องไม่ประมาทด้วย

"อนิจจัง! ปลงได้ แต่ระวังจะกลายเป็นประมาท"  ธรรมล้ำลึก จากท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต)

จากหนังสือ มองธรรมถูกทาง มีสุขทุกที่

โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ข่าวโดย : กิตติทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์