"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ  

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถทรงกังวลพระทัยเสมอว่าราฎรที่ทรงพบนั้นมีความลำบาก เพราะอาชีพหลักคือการทำ นา ทำ ไร่หรือเกษตรกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาสภาพของดิน ฟ้า อากาศที่ไม่แน่นอนอยู่เสมอ

            และด้วยเหตุที่ราษฎรท้องถิ่นนั้นส่วนมาก ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้า ไหมใช้กันเองในครัวเรือน หญิงใช้ซิ่นไหมมัดหมี่ส่วนชายใช้ผ้าขาวม้าไหม จึง มีการทอผ้าไหมเหล่านี้ไว้ใช้เป็นประจำ ซึ่งต้องใช้ความประณีตและใช้เวลามาก ด้วยพระราชปณิธานอันสูงส่งและแน่วแน่ในการที่จะทรงบำบัด ทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่ผู้ยากไร้ พระองค์จึงมี พระราชดำ ริว่าน่าจะหาอะไรให้เขาทำ เพื่อเป็นอาชีพเสริม และจะได้มีรายได้ สม่ำ เสมอตลอดไป จึงทรงนำ หัตถกรรมพื้นบ้านหลากหลายชนิด ซึ่งชาว บ้านทำ เป็นอยู่แล้วในครัวเรือนมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริม ภายใต้การ สนับสนุนของ มูลนิธิส่งเสริม ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จนชาวบ้านมีราย เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

           แต่พระองค์ก็ยังทรงอดห่วงไม่ได้ว่า การสนับสนุนให้ประชาชนเลี้ยงหม่อนไหมนั้น จะเป็นบาปแก่ตัวท่านเองและประชาชน....

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

        ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพระราชปุจฉาแก่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

ดิฉันสนับสนุนให้ประชาชนปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้เจ้าค่ะ  เคยมีลูกศิษย์ของท่านอาจารย์แบนเรียนด้วยความหวังดีว่า  “อย่าทำเลย...หม่อนไหม  วันๆ หนึ่ง ชาวบ้านต้มไหมเป็นล้านๆ ตัว”  เพราะเหตุว่าเห็นสภาพที่เขาอดอยาก พิการ อดอยาก ตาบอด ก็เลยคิดว่า การสนับสนุนให้เขาปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้จะทำให้เขาอยู่ดีกินดีขึ้น  แม้ว่าเขาผลิตแล้วไม่นำออกมาขายก็ไม่ได้เงินมาเลี้ยงชีพ  ดิฉันอยากจะช่วยเด็กๆ ที่ยากจน แต่ลูกศิษย์พระอาจารย์ก็เตือนมาเรื่อยๆ ก็เลยคิดว่า  เราได้ช่วยคนมามากๆ ดีกว่าคนที่เขาไม่ได้เข้าวัด ไม่ทำอะไรเลย  เราหากินสุจริต ทำบุญได้ หากินได้ ทำอะไรได้ เลี้ยงลูกได้  พระคุณเจ้ามีความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ?

หลวงพ่อพุธ :

ตามที่แนะนำให้ราษฎรเขาทำอย่างนั้น  เพียงแต่ว่าได้แนะนำให้เขาเลี้ยง แต่ไม่ได้แนะนำให้เขาต้มตัวไหม  ในเมื่อเขาทำขึ้นมาแล้ว เขาจะทำอย่างไรเป็นเรื่องของเขา  ส่วนจะขัดข้องกังวลใจ เพื่อความเบาใจก็ถือเสียว่า เพียงแต่ได้แนะนำวิธีทางดำเนินชีวิตเท่านั้น ซึ่งมีหลายวิธีการที่เขาจะทำ  ในเมื่อเขาทำลงไปแล้ว เขาจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  แม้ว่าจะไม่สั่งให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้ เขาทำไปเอง  ถ้าหากสมมติว่าทำใจได้อย่างนี้ก็เป็นที่เบาใจมากขึ้น  และข้อเปรียบเทียบเวลานี้เป็นการแนะนำวิชาอาชีพ แต่มิได้สั่งให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นฆ่าสัตว์ เพราะไม่ได้สั่งว่าให้เขาทำอย่างนั้นอย่างนี้  เป็นแต่เพียงว่า ปลูกหม่อนนะ เลี้ยงไหมนะ ทำอะไรเพียงแค่นี้  ในเมื่อมีผลิตผลแล้ว เขาจะทำอะไรเป็นหน้าที่ของเขา  เช่น  อาจจะแต่งตั้งใครสักคนหนึ่งที่มีความชำนิชำนาญในเรื่องนี้ให้คำแนะนำ

ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับว่า  หมอทั้งหลายเขารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนมากหมอจะไม่มีคำพูดหรือความตั้งใจเจาะจงลงไปว่า ฉันจะฆ่าเชื้อโรคอย่างนั้นอย่างนี้  เป็นแต่เพียงว่า คนนี้ป่วยเป็นโรคอย่างนั้น จะให้ยาอย่างนี้ เพื่อให้เขาหายจากโรคภัยไข้เจ็บ

ที่ได้มีเมตตาแก่ประชาชนที่แนะนำให้เขาทำอยู่ในปัจจุบัน พยายามทำใจว่า ได้แนะนำให้เขาทำอย่างนี้  เมื่อเขาปลูกหม่อนแล้วจะต้องมีสัตว์สำหรับกินหม่อน  เขาจะหาอะไรมาทำนอกจากตัวไหมใบหม่อน  เมื่อเขามาเลี้ยงเติบโตขึ้นมาแล้ว เขาจะไปทำรวงทำรังที่ไหน รวงรังของเขาจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา  คนที่เขาเลี้ยงเขาย่อมรู้จักหน้าที่ของเขาว่า เขาควรทำอย่างไร

เพื่อไม่ให้เป็นการกังวลใจมากนัก อาตมาขอแนะนำวิธีที่ทำให้เบาใจ  เมื่อแนะนำให้เขารู้จักประกอบอาชีพ พยายามนึกในใจว่า เราไม่ได้แนะนำให้เขาฆ่าสัตว์ เขาจะทำอะไรเป็นหน้าที่ของเขา  ให้พยายามทำใจอย่างนี้ อาตมาเห็นว่าความกังวลใจอาจจะลดน้อยลงไป

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

บาปกรรมทั้งหลายนี่อยู่ที่ใจจริงๆ ใช่ไหมเจ้าคะ ?

หลวงพ่อพุธ :

อยู่ที่ใจ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

ทีนี้ ถ้าเผื่อว่า จิตใจของดิฉันมิได้ใส่ใจในเรื่องตัวไหมเลย แต่ใส่ใจในเรื่องที่ช่วยชีวิตเด็กไม่ให้ตาย ไม่ให้พิการ  อันนี้สำคัญกว่าใช่ไหมเจ้าคะ ?

หลวงพ่อพุธ :

สำคัญกว่า

            

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

          เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมายังที่พักสงฆ์ในพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานเพื่อกราบนมัสการหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ และสอบถามถึงเรื่องการปลูกหม่อนไหมอีกครั้ง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

มีความเห็นของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ไม่ตรงกัน คือ  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวเอาเส้นของมันมาทอเป็นผ้าไหมขาย จะเป็นโทษหรือไม่  และการไปแนะนำให้ประชาชนชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจะเป็นบาปหรือไม่  บางอาจารย์ว่าเป็นโทษ แต่บางอาจารย์ว่าไม่เป็นโทษ  พระคุณเจ้าจะเห็นว่าอย่างไร ?

หลวงปู่เหรียญ :

เจริญพร  คนมีหลายระดับ ไม่ใช่มีระดับเดียว  ผู้ใดมีบุญ มีวาสนา มีปัญญา ผู้นั้นพิจารณาเห็นว่า การทำอย่างนั้นเป็นการเบียดเบียนสัตว์ มันเป็นโทษ ผู้นั้นเขาก็จะละเว้นไปเลย เขาก็ไม่ทำ เขาก็ไปทำอาชีพอื่น  อย่างผู้มีบุญ มีวาสนา มีบารมียังน้อย เมื่อจะไปทำอาชีพอื่นก็ไม่มีปัญญา  เขามองเห็นอาชีพไหนพอจะทำได้ก็จะทำอาชีพนั้นไป  นี้ก็ไม่รู้จะไปห้ามเขาได้อย่างไร เพราะเป็นอาชีพของเขา  พวกที่อินทรีย์บารมียังอ่อนอยู่ก็ต้องมีผิดบ้างไปอย่างนั้นล่ะ  เจริญพร

สมเด็จพระนางเจ้าฯ :

อย่างนี้ถูกต้อง ถูกต้องแล้ว

 

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

 

จินต์จุฑา สำนักข่าวทีนิวส์ เรียบเรียง

จากหนังสือ มหาบพิตร ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ

"การเลี้ยงหม่อนไหม ไปทำผ้าไหม เป็นโทษหรือไม่?"  คำถามจากพระทัยสมเด็จพระราชินี พระราชปุจฉาต่อหลวงพ่อพุธ-หลวงปู่เหรียญ

สั่งซื้อหนังสือได้ที่ Line ID : @gppbook หรือ FB : Gppbook

สอบถามเพิ่มเติมโทร 02 525 4242 ต่อ 201-202