"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th

“สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

รัฐบาลในอดีตได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" ด้วยคุณงามความดีของพระองค์ที่ทรงกอบกู้เอกราชของเมือง ไทยหลังเสียแก่พม่าครั้งที่2 จึงอยากให้คนไทยได้รำลึกถึงพระองค์ท่านดังนี้

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4  เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277ทรงปราบดาภิเษกขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาในทางพิธีการ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ขณะพระชนมายุได้ 34 พรรษา ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง (ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์) พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 15 ปี  และเนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก [ ประเทศไทย] และเกิดเจิ้งเจา ที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ...อย่างไรก็ตาม ต้วนลี่เซิงได้พบสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว (เฉาโจว) อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน รวมทั้งศาลประจำตระกูลซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 คงเป็นผู้สืบราชสกุลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่งไปฝังแทนพระบรมศพตามธรรมเนียมจีน สิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานว่า สายวงศ์พระราชบิดาอยู่ที่ตำบลนั้น ซึ่งเป็นถิ่นที่แห้งแล้ง ทำให้อพยพมาอยู่พระนครศรีอยุธยา

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" กษัตราธิราชมหาราชไทยที่แม้แต่พระราชพงศาวดารจีนยังยกย่องและบันทึกไว้

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์