ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th

"ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โรงพยาบาล เอกชนต่าง ๆ เดือนร้อนหมดและสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปรามยาเสพติด มัวแต่ต้องมาเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียเงิน และเสียชื่อเสียง..."

(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดาวันพุธที่ 4 ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ )

ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

 

หากมองย้อนไปประมาณ 40 ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจหนึ่งที่พระองค์ทรงลงมือปฏิบัติด้วยพระองค์เอง โดยการพระราชทานแนวคิดในการขจัดต้นตอปัญหายาเสพติด นั่นก็คือ การสร้างโครงการหลวง เพื่อให้ประชาชนชาวเขาหันมาประกอบอาชีพใหม่ทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเสพติดที่ก่อให้เกิดโทษชนิดหนึ่ง

ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จไปถึงหมู่บ้านชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นหมูที่ชาวเขา ทรงทราบว่าชาวเขามีรายได้จากการจำหน่ายท้อพันธุ์พื้นเมืองส่วนหนึ่ง กับรายได้จากการปลูกฝิ่นและเมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นท้อพันธุ์พื้นเมืองมีผลขนาดเล็กก็ทรงมีพระราชดำริให้หาวิธีการติดตาต่อกิ่งกับท้อต่างประเทศพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะให้ได้ผลขนาดใหญ่ รสชาติหวานฉ่ำเพื่อจะได้มีรายได้ที่สูงไม่แพ้ฝิ่น

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้ทรงบันทึกเรื่องลูกท้อไว้ในหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง” ตอนหนึ่งว่า

ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

(ในหลวง ร.9 และหม่อมเจ้าภีศเดช)

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ (peach) ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับต้นตอพื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อนและมีรับสั่งถามเจ้าของว่าปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไร และเก็บท้อพื้นเมือง (ลูกเล็ก) ขายได้กี่บาท ก็ทรงทราบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำเงินให้เกษตรกรเท่าๆ กัน... แต่คนอื่นเขาคิดกันอย่างไร…

เขาคิดว่า ฝิ่นทำให้ผู้ปลูกรวยอย่างมหาศาล จึงเอาอย่างชาวต่างประเทศ เรียกบริเวณที่ปลูกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดและหาพืชอื่นปลูกแทนฝิ่นก็ยังใช้ชื่อนี้อยู่ ทำให้ผู้ที่ใช้ความคิดเพียงนิดหน่อยแน่ใจว่าไม่มีอะไรจะแทนฝิ่นได้

ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคิดว่า ถ้าท้อลูกนิดๆ ยังทำเงินให้เกษตรกรได้ดีเท่าฝิ่นแล้วเราก็ควรจะเปลี่ยนยอดให้ออกลูกมาเป็นท้อใหญ่ๆ หวานฉ่ำ สีชมพูเรื่อดังกับแก้มสาวในนิทานจีน เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่นก็จะสาบสูญไปเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้กำลังผลักดันแต่อย่างใด”

จากที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงสภาพความเป็นจริงและทรงเข้าพระราชหฤทัยในปัญหาความทุกข์ยากของราษฎร จึงทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์เมื่อปี 2512 โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากราษฎร รัฐบาลไทย และรัฐบาลต่างประเทศร่วมกัน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชาวเขาไทยภูเขาขององค์การสหประชาชาติ โดยในระยะเริ่มแรกนั้นมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการหลวง

ทั้งนี้ “มูลนิธิโครงการหลวง” ได้ดำเนินการสนองตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะ “ช่วยชาวเขาให้ช่วยตนเองในการปลูกพืชที่มีประโยชน์และมีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น”

ทรงมีทั้งพระเมตตาและอัจฉริยภาพ ในการจัดการปัญหายาเสพติด ตรัส...ช่วยชาวเขาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น จุดประสงค์เพื่อมนุษยธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเล็งเห็นถึงต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าชาวเขาที่ปลูกฝิ่นกันเป็นจำนวนมากก็เพราะต้องการประกอบอาชีพเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายดำรงชีวิต โดยที่เค้าไม่รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ผิดที่ไม่ควร พระองค์จึงได้ประทานแนวคิดใหม่ให้แก่ชาวเข้าเหล่านั้น ว่ามีการเกษตรอย่างอื่นๆอีกมากมาย อาทิเช่น การปลูกไม้ผลเมืองหนาวที่สามารถทำเงินได้ดีมากกว่าฝิ่นเสียอีก และก็ไม่ผิดกฎหมาย เมื่อมีแนวทางที่ดีกว่าให้ยึดถือปฏิบัติ ชาวเขาจึงได้เลิกการปลูกฝิ่นอย่างเด็ดขาด จนทำให้สังคมและชุมชนชาวเขาเข้มแข็งและมีคุณภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆจนปัจจุบัน

 

“…เรื่องที่ช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้นมีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่จะเป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือมนุษยธรรม อยากที่จะให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 10 มกราคม 2517

 

อ้างอิงภาพประกอบ : ประพาสบนดอย

อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/

เรียบเรียงเนื้อหา : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)