สื่อสารกับเทพเจ้า ด้วยไม้เสี่ยงทาย “เซ้งปวย” ใช้กันมาแต่โบราณ แต่มั่นใจว่าหลายคนยังใช้ผิดๆ อยากมีไว้ใช้เสี่ยงทายที่บ้านให้ทำตามนี้เลย

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

การใช้ไม้เสี่ยงทาย......เซ้งปวย (聖筊) อย่างถูกวิธี

เครื่องเสี่ยงทายหรือไม้เสี่ยงทาย (ไป , โปย , ปวย , เช้งปวย ฯลฯ) ลักษณะเป็นไม้นูนโค้งหลังเต่า, ด้านหน้าเรียบซึ่งสามารถนำมาประกบเข้าหากันเป็นอันเดียว มีสองอันเป็นหนึ่งชุด

ไม้เสี่ยงทายที่ว่านี้นับเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสื่อสารระหว่างผู้ศรัทธากับอานุภาพขององค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใช้โยนเสี่ยงทายถามเรื่องราวต่างๆ และอ่านคำทำนายจากการหงายคว่ำของไม้สองซีกนี้ ซึ่งมีการใช้ไม้เสี่ยงทายลักษณะนี้มาช้านานนับแต่โบราณกาลถึงปัจจุบัน และไม้เสี่ยงทายถือเป็นอาญาสิทธิ์ของเทพองค์ประธาน ณ แท่นบูชานั้นๆ แต่ก็สามารถใช้ร่วมกับเทพองค์อื่นๆ ที่ประทับ ณ แท่นบูชาเดียวกันได้ หากเป็นแท่นบูชาพระในบ้าน หนึ่งกระถางธูปสามารถมีไม้เสี่ยงทายได้เพียงคู่เดียวเท่านั้น ไม่ควรมีมากกว่านั้น

สื่อสารกับเทพเจ้า ด้วยไม้เสี่ยงทาย “เซ้งปวย” ใช้กันมาแต่โบราณ แต่มั่นใจว่าหลายคนยังใช้ผิดๆ อยากมีไว้ใช้เสี่ยงทายที่บ้านให้ทำตามนี้เลย

เล่าว่าเดิมครั้งพุทธศาสนาลัทธิมันตระยานและศาสนาเต๋ารุ่งเรืองในจีน ราวพุทธศตวรรษที่ 11 “ปวย” หรือ “เซ้งปวย” ที่ใช้ในราชสำนักทำมาจากหยก มีอภินิหารถึงความขลัง โยนอย่างไรก็ไม่แตก แต่ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เมื่อความขลังเสื่อมลง “ปวย” หยกตกแตก ก็เป็นที่ถอนศรัทธา และเป็นเหตุให้เปลี่ยนมาทำจากไม้ไผ่ (ส่วนหัวของไม้ไผ่ตง) หรือไม้จันทร์

 

ตามตำราโบราณจารย์ ฝาไม้ทั้งสองที่นำมาประกบเสี่ยงทาย จะต้องเท่ากันทั้งรูปลักษณ์และน้ำหนักของไม้ทั้งสองอัน

ก่อนใช้ปวย เครื่องเสี่ยงทายครั้งแรก จะต้องให้เทพทำพิธีโดยผ่านร่างทรง เมื่อทำพิธีแล้ว เทพในร่างทรงจะลองเสี่ยงทาย โดยโยนไม้เสี่ยงทายให้มีลักษณะต่างกัน 3 แบบ คือ

คว่ำทั้งสองอัน

หงายทั้งสองอัน

คว่ำหนึ่งอัน หงายหนึ่งอัน

 

เทพจะโยนไม้เสี่ยงทายจนออกลักษณะ คว่ำอัน หงายอัน ถือว่าเสร็จพิธี

 

ในกรณีที่ซื้อไม้เสี่ยงทายมาใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน

 ผู้เป็นเจ้าของก็สามารถทำพิธีเปิดหน้าไม้นี้ด้วยตนเอง ณ แท่นบูชาภายในบ้าน โดยจะต้องนำไปรมควันธูปหรือควันของกำยานเหนือกระถางธูปที่แท่นบูชาในบ้านเพื่อให้สะอาดปราศจากมลทิน และทุกครั้งที่จะใช้งานไม้ปวย หรือไม้เสี่ยงทาย ควรนำไม้เสี่ยงทายประกบกัน แล้วรมควันกำยานหรือควันธูปหน้าแท่นบูชานั้นๆ เสียก่อน ต้องปฏิบัติดังนี้ทุกครั้ง

สื่อสารกับเทพเจ้า ด้วยไม้เสี่ยงทาย “เซ้งปวย” ใช้กันมาแต่โบราณ แต่มั่นใจว่าหลายคนยังใช้ผิดๆ อยากมีไว้ใช้เสี่ยงทายที่บ้านให้ทำตามนี้เลย

โดยประกบหน้าเรียบของไม้เสี่ยงทายเข้าหากัน แล้ววนรอบ เป็นวงกลม (เหนือปลายธูปที่จุดบูชาหรือเหนือโถกำยาน) โดยหมุนวน "ตามเข็มนาฬิกา" ให้ได้ 3 รอบ(จากซ้ายไปขวา) ต่อจากนั้นก็ให้อธิษฐานขอพรต่อองค์เทพ ขอให้ไม้เสี่ยงทายมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นให้โยนไม้เสี่ยงทายให้ขึ้นทั้งสามหน้าคือ คว่ำทั้งคู่ , หงายทั้งคู่ , และ คว่ำอันหนึ่งหงายอันหนึ่ง ถือว่าไม้เสี่ยงทายนั้นมีความขลังชงัดนัก

 

ทุกครั้งที่ต้องการสื่อความหรือทูลถามในเรื่องสำคัญๆต่อองค์เทพด้วยไม้เสี่ยงทายนี้ ให้จุดธูปบูชาตามปกติ และนำไม้เสี่ยงทายประกบวนรอบปลายธูป หรือกลุ่มควันของโถกำยาน กระทำเช่นที่เปิดไม้เสี่ยงทายครั้งแรก

ต้องทำอย่างนี้ทุกครั้งที่จะใช้งานไม้เสี่ยงทาย ก่อนที่จะนำมาประกบอธิษฐานในสิ่งที่ตนเองประสงค์
การโยนไม้เสี่ยงทาย(ในขณะที่นั่งกราบพระหรือไหว้เทพ) จะต้องโยนไม้เสี่ยงทายให้สูงพ้นศีรษะของผู้อธิษฐานเสมอ ( ห้ามยืนในขณะที่โยนไม้เสี่ยงทาย)

ในกรณีไหว้พระตามศาลเจ้าหรือวัดทั่วไป จะต้องโยนไม้เสี่ยงทายให้สูงพ้น(ความสูงของ)โต๊ะหรือแท่นบูชา กรณีที่ไม้เสี่ยงทายหล่นลงมากระทบอะไรก็ตาม แล้วแสดงคำทำนายออกมา ให้ถือว่าคำทำนายนั้นมีผล ใช้ได้ ไม่ต้องเสี่ยงทายใหม่

การอธิษฐานทูลถามหรือขอพรต่อองค์เทพ ต้องอธิษฐานเพียงครั้งละหนึ่งประเด็น หรือหนึ่งเรื่อง หรือหนึ่งคำถามเท่านั้น โดยให้เจาะจงทูลฯเป็นคำถามเพียงประโยคเดียว และเมื่อได้คำตอบจากไม้เสี่ยงทายแล้ว ห้ามถามซ้ำในคำถามเดิมอีก ไม่ว่าผลที่ได้จากไม้เสี่ยงทายจะเป็นที่พอใจของตนหรือไม่ก็ตาม

กรณีใช้ไม้เสี่ยงทายคู่กับเซียมซี เมื่ออธิษฐานและเสี่ยงเซียมซีได้หมายเลขใดก็ตาม ให้วางไม้เซียมซีที่ได้ไว้กับพื้น แล้วใช้ไม้เสี่ยงทายอธิษฐานทูลถามว่า

"เซียมซีอันนี้เป็นของข้าพเจ้าหรือไม่" แล้วให้โยนไม้เสี่ยงทายขึ้น …

ถ้าไม้เสี่ยงทายออกหน้าเป็นคว่ำทั้งคู่ ก็แปลว่าไม่ใช่ , ให้ทำการเสี่ยงเซียมซีใหม่ ถ้าออกหน้าหงายทั้งคู่ ก็แปลว่า ให้เราตัดสินใจได้เองว่าจะรับเซียมซีหมายเลขนั้นหรือไม่ ถ้ารับก็ยุติ ถ้าไม่รับก็ให้เอาไม้เซียมซีใส่ลงในกระบอกและเสี่ยงเซียมซีใหม่ ถ้าไม้เสี่ยงทายออกหน้าคว่ำหนึ่งอัน หงายหนึ่งอัน แปลว่า "ใช่" ไม่ต้องเซียมซีใหม่

 

การใช้ไม้เสี่ยงทายที่ถูกวิธี

ห้ามกำหนดวิธีการใช้ด้วยตนเองต่อองค์เทพอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น

"ถ้าสิ่งที่ลูกถามเป็นความจริง ขอให้ไม้นี้หงายทั้งคู่"

กรณีเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นการยื่นเงื่อนไขต่อองค์เทพ เท่ากับบังคับให้ไม้เสี่ยงทายทำหน้าที่ตามที่ตนเองต้องการ โดยที่ตัวเองไม่มีสิทธิ์เช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งมิบังควรอย่างยิ่ง

เพราะการใช้ไม้เสี่ยงทายมีรูปแบบที่เรียกได้ว่าเป็นสากล(กับเทพทุกองค์) นั่นคือมีคำทำนายเพียง 3 หน้าเท่านั้นคือ

คว่ำทั้งคู่ เข่าปวย (哭筊) หรือ อิมปวย (陰筊) หรือ บ่อปวย(無筊)แปลว่า ไม่ใช่ , ไม่ได้ , ไม่รับ ,ใช้ไม่ได้, ห้ามใช้ ฯลฯ

หงายทั้งคู่ เฉี่ยปวย (笑筊) แปลว่า ไม่มีความเห็น , ให้ตัดสินใจได้เอง ,แล้วแต่ผู้เสี่ยงทายจะเลือก ,ขึ้นกับคนเสี่ยงทายนะ

คว่ำหนึ่งอัน-หงายหนึ่งอัน เซ้งปวย (聖筊) หรือ อิ้นปวย (允筊) แปลว่า ใช่ , ใช้ได้ , รับได้ , ถูกต้องแล้ว ฯลฯ

 

การใช้ไม้เสี่ยงทายต่อหนึ่งคำถาม สามารถอนุโลมให้โยนใหม่ได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อ 1 คำอธิษฐาน (ถ้าผู้ที่มีศรัทธาและเคร่งครัดในการเคารพบูชาองค์เทพอย่างจริงจัง จะกำหนดไว้เพียง 1 ครั้งโยนเท่านั้น)

หากไม่ได้คำตอบที่ตนต้องการใน 3 ครั้งที่โยน ภายในหนึ่งชั่วธูปที่ตนเองจุดถวาย ไม่สามารถโยนไม้เสี่ยงทายได้อีก ต้องรอธูปให้หมดและจุดใหม่ หรือถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต้องให้ถัดไปวันที่ 3 จึงจะสามารถทูลฯคำถามเดิมได้อีกครั้ง

สื่อสารกับเทพเจ้า ด้วยไม้เสี่ยงทาย “เซ้งปวย” ใช้กันมาแต่โบราณ แต่มั่นใจว่าหลายคนยังใช้ผิดๆ อยากมีไว้ใช้เสี่ยงทายที่บ้านให้ทำตามนี้เลย

ในกรณีที่ทูลขอพรเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่ออธิษฐานขอแล้วโยนไม้เสี่ยงทายตามเกณฑ์ ปรากฏผลคำทำนายว่าไม่ได้ตามที่ขอ(คว่ำทั้งสองอัน) ผู้ศรัทธาสามารถบนบานท่านได้ ซึ่งการบนก็ต้องพิเคราะห์ว่าเรื่องที่ขอนั้นเล็กใหญ่มากน้อยแค่ไหนเพียงใด เครื่องเซ่นไหว้ที่บนนั้นก็ต้องเหมาะสมกับความสำคัญของสิ่งที่ขอ มากน้อยให้เป็นไปตามความเหมาะสม (การบนบานสำหรับเทพ ถือเป็นการวัดใจผู้ศรัทธา เป็นเรื่องของสัจจะบูชา) จากนั้นก็ให้โยนไม้เสี่ยงทาย หากเทพท่านรับการบนบานศาลกล่าวข้างต้น ไม้เสี่ยงทายจะออกผลเป็น คว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่ง

กรณีที่มีแท่นบูชาเทพและมีไม้เสี่ยงทาย ให้วางไม้เสี่ยงทายขนาบสองข้างโถกำยานหรือกระถางธูป โดยวางอันด้านซ้ายมือของเรา ให้วางคว่ำ ส่วนอีกอันด้านขวามือของเรา ให้วางหงาย จำง่ายๆคือ "ขวามือหงาย ซ้ายมือคว่ำ"

 

cr : ธนกฤต เสรีรักษ์

ข่าวโดย : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)